7 เทคนิคปรับพฤติกรรมลูกกินยาก

การเลี้ยงลูกวัย 1-3 ขวบ
JESSIE MUM

ลูกกินยาก” เป็นอีกหนึ่งปัญหาคลาสสิก หรือจะเรียกให้เข้าใจกันง่าย ๆ ก็คือ ปัญหาโลกแตกนั่นเองค่ะ หลายครอบครัวจะต้องเจอ ทำเอาคุณพ่อคุณแม่หลายคนเหนื่อยใจกันมากเลยทีเดียวที่ต้องคิดสรรหาอะไรใหม่ ๆ อยู่เสมอ แต่…เรื่องนี้มีทางออกค่ะ จะออกทางไหน วันนี้โน้ตขออาสาพาไปค่ะ

Youtube : 7 เทคนิคปรับพฤติกรรมลูกกินยาก

สาเหตุที่ลูกกินยาก

ก่อนที่เราจะไปดูวิธีปรับพฤติกรรม โน้ตอยากชวนคุณพ่อคุณแม่มาดูถึงสาเหตุกันก่อนซักนิดนะคะ

ไม่ได้ฝึกลูกให้กินเป็นเวลา

ไม่ได้ฝึกลูกให้กินเป็นเวลา
เช่น เริ่มกินกี่โมง และให้เสร็จภายในกี่โมง เป็นต้น

ท้องผูก

ท้องผูก
เพราะกินอาหารที่มีกากใยน้อย หรือดื่มน้ำน้อยเกินไป

เคยมีอาการแพ้อาหาร

เคยมีอาการแพ้อาหาร
เช่น มีอาการปวดท้อง คลื่นไส้ และอาเจียน จึงทำให้ไม่กล้าทานอะไรใหม่ ๆ

เคยสำลักอาหารหรือเคยถูกดูดเสมหะ

เคยสำลักอาหารหรือเคยถูกดูดเสมหะ
จึงเกิดประสบการณ์ไม่ดีเกี่ยวกับการกินอาหาร แนะนำเวลาที่กินอาหารควรนั่งกิน ไม่กระโดด วิ่งไปวิ่งมา และไม่ควรกินคำใหญ่เกินไป

บรรยากาศในการกินข้าวไม่ดี

บรรยากาศในการกินข้าวไม่ดี
เช่น คุณแม่ชอบดุ หรือชอบบังคับให้เค้ากินนั่นกินนี่ บังคับให้เคี้ยวเร็ว ๆ เป็นต้น

กินขนมอื่น ๆ มาก่อนหน้าจนอิ่มแล้ว

กินขนมอื่น ๆ มาก่อนหน้าจนอิ่มแล้ว
โดยเฉพาะอาหารขยะ น้ำหวาน รวมถึงขนมขบเคี้ยวต่าง ๆ

ลูกต่อต้าน

ลูกต่อต้าน
ด้วยความหวังดีของคุณแม่จึงอาจกลายเป็นการบังคับลูกแทน เมื่อสะสมนาน ๆ เข้า กลายเป็นลูกต่อต้านทุกสิ่งที่คุณแม่อยากให้กิน

มีสิ่งเร้ารอบตัวเยอะ

มีสิ่งเร้ารอบตัวเยอะ
เช่น เปิดทีวี แทปเล็ต หรือมือถือทิ้งไว้ ทำให้สมาธิของลูกไปอยู่ที่หน้าจอหมด ส่งผลให้ไม่อยากกินข้าวแล้ว หรือถ้ากินก็จะกินแค่ไม่กี่คำ เพราะจะรีบไปที่หน้าจอต่อ

7 เทคนิคปรับพฤติกรรมลูกกินยาก

อ่ะ…จากสาเหตุด้านบน เรายังมีวิธีแก้อีกหลาย ๆ วิธี ด้วยกัน ดังนี้ค่ะ

วิธีที่ 1 จัดระเบียบของว่างให้ดี

วิธีที่ 1 จัดระเบียบของว่างให้ดี
ของว่าง หรือ ขนม” รับรองไม่ว่าเด็กคนไหนได้ยินคำนี้เข้า เป็นต้องตาลุกวาวกันทุกคน รู้สึกเหมือนได้ขึ้นสวรรค์อย่างไงอย่างงั้น และไม่ใช่ว่าเราจะไม่ให้ลูกกินขนมเลย เพียงแต่ต้องจัดการเรื่องเวลาให้ดี

  • ไม่ให้ลูกกินขนม หรือของหวาน ใกล้มื้ออาหาร แต่ควรให้ลูกทานก่อนมื้ออาหารอย่างน้อย 1-1 ½ ชั่วโมง
  • จะให้ดี ควรมีช่วงเวลาในการให้กินขนมที่แน่นอน เพื่อลูกจะได้เรียนรู้ได้ว่าเค้าจะได้ทานขนมก็ต่อเมื่อถึงเวลานี้เท่านั้น จะทำให้เค้าไม่กล้ารบเร้าขอกินนอกเวลา
  • ต้องใจแข็ง ไม่ใช่ฝึกลูกนะคะ แต่ฝึกคุณพ่อคุณแม่เองค่ะ ต้องทนต่อเสียงรบเร้า และแววตาที่อ้อนวอนของลูกที่น่ารักให้ได้ ไม่อย่างนั้นคุณพ่อคุณแม่เองก็จะปวดหัวไม่เลิกกับเรื่องของการกินขนมไม่เป็นเวลาเหมือนเคย

วิธีที่ 2 ฝึกลูกให้มีสมาธิในการกิน

วิธีที่ 2 ฝึกลูกให้มีสมาธิในการกิน

มีหลายครอบครัวที่เคยชินกับการเปิดทีวีไปกินข้าวไป บอกจะได้ไม่เหงา จริงค่ะ ไม่เหงา ลูกก็ไม่เหงาเลยเช่นกัน หันหาหน้าจอตลอด คุณพ่อคุณแม่ต้องคอยปากเปียกปากแฉะเรียกให้หันกลับมานั่งกินตลอด อย่างนี้คุณพ่อคุณแม่ก็ไม่เหงาปาก แต่…การเปิดทีวีไปกินข้าวไปนั้น จะทำให้ลูกไม่มีสมาธิในการกินข้าวเลย เด็กบางคนกินจริง แต่ก็เพียงไม่กี่คำ แค่พอให้ได้ชื่อว่ากินข้าวแล้วเท่านั้น ทำให้ลูกกินไม่อิ่ม ส่งผลต่อร่างกาย ตัวเล็ก ไม่เติบโตสมวัย เพราะได้รับสารอาหารไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย

วิธีที่ 3 หยุดป้อน และให้ลูกกินข้าวเอง

วิธีที่ 3 หยุดป้อน และให้ลูกกินข้าวเอง

  • ควรทำความตกลงกันภายในครอบครัว และญาติพี่น้องก่อนว่าจะไม่มีใครตามป้อน
  • ให้ลูกนั่งเก้าอี้ และป้อนข้าวเอง
  • กำหนดช่วงเวลากินข้าวที่แน่นอน หากยังกินไม่หมดภายในเวลาที่กำหนดให้เก็บจานนั้นออกมา ทันที เพื่อให้ลูกเรียนรู้ว่าเค้าควรกินให้เสร็จภายในกี่โมง
  • หากลูกกินเองแล้วหกเลอะเทอะ ไม่ต้องดุลูกนะคะ แต่ค่อย ๆ สอนวิธีการกินที่ถูกต้องให้ลูกแทน เมื่อลูกได้เรียนรู้การกินที่ถูกต้อง เค้าจะรู้สึกสนุกกับการได้กินเอง การได้เลือกอาหารเข้าปากเอง

วิธีที่ 4 กำหนดเวลาในการกินให้ชัดเจน

วิธีที่ 4 กำหนดเวลาในการกินให้ชัดเจน
เวลาที่เหมาะสมที่สุดคือ 30 นาที หากลูกกินไม่หมดตามเวลานี้ ให้คุณพ่อคุณแม่เก็บจานทันที และไม่มีขนมหรือนมสำรองไว้ให้นะคะ ไม่อย่างนั้นลูกจะย่ามใจว่าไม่เป็นไรเดี๋ยวคุณแม่ก็ให้ขนมอีก

วิธีที่ 5 ชวนลูกทำอาหาร

วิธีที่ 5 ชวนลูกทำอาหาร

เพราะอะไรต้องชวนลูกทำอาหาร?

ก็เพราะว่าเวลาที่ลูกได้มีส่วนร่วมในการทำอาหารลูกจะรู้สึกเพลิน และสนุก ซึ่งที่สำคัญคือจะเป็นการกระตุ้นให้ลูกอยากชิมฝีมือของเค้าเอง อาจเริ่มจากอะไรง่าย ๆ ก่อน เช่น การล้างผัก การเด็ดผัก เป็นต้น

วิธีที่ 6 สร้างบรรยากาศที่ดีระหว่างการกินอาหาร

วิธีที่ 6 สร้างบรรยากาศที่ดีระหว่างการกินอาหาร
ข้อนี้บทบาทอยู่ที่คุณพ่อคุณแม่และคนในครอบครัวล้วน ๆ ค่ะ ไม่มีคนอื่นปน^^ การสร้างบรรยากาศที่ดี เช่น ชมเชยลูกเมื่อลูกสามารถลองกินสิ่งใหม่ ๆ ได้ หรือสามารถกินผักอย่างที่เราอยากให้ลูกได้ลอง เป็นต้น เป็นการสร้างกำลังใจให้ลูกค่ะ

วิธีที่ 7 เป็นแบบอย่างที่ดีในการกิน

วิธีที่ 7 เป็นแบบอย่างที่ดีในการกิน
ลูกมักมีพฤติกรรมเลียนแบบคุณพ่อคุณแม่ แต่สิ่งสำคัญที่นอกเหนือจากการที่คุณพ่อคุณแม่ควรกินผักให้ลูกเห็นเป็นประจำแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ควรทำอย่างยิ่งคือ “กับข้าว” อ่อ…ใช่ค่ะ คงไม่มีใครกินข้าวเปล่าโนะ^^ แต่กับข้าวที่ว่านี้เป็นกับข้าวที่มีผักเป็นส่วนประกอบ หรือจะเป็นผัดผักเลยยิ่งดี ควรมีวางบนโต๊ะกินข้าวในทุกมื้อ เพราะสิ่งนี้จะทำให้ลูกเห็นว่าที่การกินผักของที่บ้านนี้เป็นเรื่องปกติ

เป็นอย่างไรกันบ้างคะกับ 7 เทคนิคในการปรับพฤติกรรมลูกกินยาก คือต้องบอกก่อนนะคะว่าการปรับพฤติกรรมนี้ (หรือจะปรับพฤติกรรมอะไรก็ตาม) ต้องใช้เวลา ใช้ความอดทนของคุณพ่อคุณแม่เป็นอย่างมาก แต่หากทำได้คุณพ่อคุณแม่หายเหนื่อยแน่นอนค่ะ

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP