ลูกความจำสั้น ทำไงดี

การเลี้ยงลูกวัย 3-5 ขวบ
JESSIE MUM

ด้วยความที่คุณพ่อคุณแม่ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นผู้ที่คลุกคลีกับลูกและเข้าใจลูกมากที่สุด ดังนั้น ไม่แปลกหากคุณพ่อคุณแม่จะรู้สึกได้ว่าลูกตัวเองนั้น “ความจำสั้น หรือ ขี้ลืม” ความจริงแล้วจะใช่อย่างที่คุณพ่อคุณแม่เข้าใจหรือไม่ แต่ถึงแม้จะไม่ใช่ จะมีวิธีไหนบ้างที่จะช่วยกระตุ้นความจำของลูกให้ดีขึ้น

พัฒนาการของเด็กวัย 3 – 6 ปี

ด้วยธรรมชาติและพัฒนาการของเด็กวัย 3 – 5 ปี เด็กจะเริ่มมีความคิดริเริ่มเป็นของตัวเอง อยากทำอะไรด้วยตัวเอง ต้องการให้คุณพ่อคุณแม่ยอมรับ ต้องการเป็นที่รัก เรียกได้ว่า เด็กวัยนี้จะยึดเอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง เขาจะสามารถจำได้แต่เฉพาะคำพูดที่กระชับ คำสั่งที่สั้น ๆ เนื่องจากสมองของเด็กวัยนี้ยังพัฒนาได้ไม่เต็มที่จึงไม่สามารถรับคำสั่งหรือเข้าใจอะไรที่ซับซ้อนได้ และจะจำได้ก็ช่วงเวลาสั้น ๆ (อาจไม่ใช่ทุกเรื่อง แต่ก็ส่วนใหญ่)

วิธีกระตุ้นความจำลูกให้ดีขึ้น

แม้ว่าข้อมูลข้างต้นที่ได้กล่าวมา จะเป็นในเรื่องของพัฒนาการลูก แต่เพื่อให้คุณพ่อคุณแม่ได้มั่นใจว่าลูกตัวเองไม่ได้ความจำสั้นจริง หรือต้องการกระตุ้นความจำลูก เรามีวิธีดังนี้ค่ะ

ใช้วิธีการจดบันทึก

สอนให้ลูกได้ฝึกเขียนบันทึกประจำวันแบบสั้น ๆ ง่าย ๆ ค่ะ เช่น วันนี้ลูกได้ไปทำกิจกรรมอะไรมาบ้าง และได้เรียนรู้อะไรจากสิ่งนั้น ๆ หรือจะเป็นเรื่องของการจดบันทึก วางแผนก็ได้ค่ะว่าในวันหยุดนี้ ลูกมีแผนจะทำกิจกรรมอะไรบ้าง อาจไม่ต้องเป็นกิจกรรมนอกบ้างอย่างเดียวก็ได้ค่ะ แต่สามารถทำได้ในเรื่องของการอ่านหนังสือนิทานอะไรดี หรือจะเล่นแป้งโดว์กับคุณพ่อคุณแม่ อย่างนี้ เป็นต้น

เพราะการให้ลูกได้เขียนบันทึกลูกจะได้ในเรื่องของความจำว่าที่ผ่านมาในหนึ่งวัน เขาได้ทำอะไรไปบ้าง เป็นการฝึกให้ลูกได้เรียงลำดับเหตุการณ์ได้อย่างถูกต้อง ส่วนกิจกรรมล่วงหน้าลูกก็จะได้ในเรื่องของการวางแผนว่าอะไรควรทำก่อน-หลัง

ทำกิจกรรมที่ฝึกความจำ

อาจเป็นการเล่นบอร์ดเกม เช่น เกมหาคำศัพท์ จิ๊กซอว์ บิงโก จับภาพคู่ เป็นต้น นอกจากลูกจะได้ในเรื่องของความจำที่ดีขึ้นแล้ว ยังช่วยให้ลูกมีสมาธิมากขึ้นอีกด้วยค่ะ

ฝึกสมาธิ

สำหรับเด็กเล็ก ให้คุณพ่อคุณแม่ชวนลูกมานั่งตักสัก 10 – 15 นาที ก็ได้ค่ะ ให้เขาได้อยู่นิ่ง ๆ กับคุณพ่อคุณแม่ เท่านี้ก็เป็นการฝึกให้ลูกได้มีสมาธิมากขึ้น พร้อมเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ แล้วล่ะค่ะ

แม่โน้ต

โน้ตเองชวนลูกนั่งสมาธิค่ะ 5 นาที เขาอยู่นิ่งตลอด? ไม่ค่ะ โน้ตไม่ได้เน้นว่าต้องให้เขาหลับตา ท่องพุทโธได้ตลอดที่นั่ง เพียงแค่ต้องการฝึกให้เขาอยู่นิ่ง ๆ ไม่เคลื่อนที่ไปไหนสักพัก ให้เขาได้รู้จักกับความนิ่งบ้าง ซึ่งสมาธิก็จะตามมาเอง

เล่นดนตรี

มีผลงานการวิจัยชิ้นหนึ่งค่ะ เคยอ่านเจอว่าการให้ลูกได้เล่นดนตรีจะเป็นการฝึกสมาธิให้ลูกได้ดีทีเดียว เพราะลูกจะต้องใช้สมอง ใช้ความจำในการจดจำตัวโน้ต และเครื่องหมายทางดนตรีทุกตัว เขาจะมีความจำที่ดีขึ้นได้อย่างเห็นได้ชัดทีเดียว

ดูแลโภชนาการที่ดีให้ลูก

เน้นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ และช่วยกระตุ้นความจำ ได้แก่ ผัก ผลไม้ ที่มีวิตามินบี 2 กรดโฟลิค ที่ช่วยป้องกันโรคสมองเสื่อม เนื้อสัตว์ และอาหารทะเล ที่อุดมไปด้วยธาตุเหล็ก ซึ่งจะช่วยกระตุ้นการทำงานของสมองซีกซ้ายที่เน้นในเรื่องความจำ

ชวนลูกออกกำลังกาย
ให้ลูกได้ออกกำลังกายค่ะ จะเป็นกิจกรรมอะไรก็ได้ เช่น การวิ่งเล่น การกระโดด การเต้นตามจังหวะ ฯลฯ เพราะหลังจากที่ออกกำลังกายแล้ว หัวใจจะสูบฉีดเลือดขึ้นไปเลี้ยงสมองได้มากขึ้น ส่งผลให้สมองเปิดโล่ง พร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ พร้อมที่จะจดจำสิ่งต่าง ๆ ได้มากขึ้น

นอนหลับให้เป็นเวลา

ถ้าคุณพ่อคุณแม่ต้องการให้ลูกมีความจำที่ดีขึ้น ควรให้ลูกได้นอนหลับวันละ 7 – 8 ชั่วโมง เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพด้านความจำ แต่ไม่ควรเกินวันละ 9 ชั่วโมงนะคะ เพราะการนอนมากเกินไปจะส่งผลให้ลูกมีอาการเซื่องซึม ความตื่นตัวในการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ น้อยลง กลายเป็นยิ่งทำให้ประสิทธิภาพความจำลดลงอีกด้วยค่ะ

แม่โน้ต

การให้ลูกได้เข้านอนแต่หัวค่ำ และนอนหลับได้อย่างเพียงพอ ยังส่งผลให้ลูกสูงขึ้นอีกด้วยจาก Growth Hormone (โกรธ ฮอร์โมน) ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว Growth Hormone จะหลั่งในช่วง เที่ยงคืน – ตี 1 แต่มีข้อแม้ว่า ต้องหลับลึกไปแล้ว 1 ชั่วโมงค่ะ

เรื่องของความจำไม่ใช่เรื่องของพัฒนาการหรือพันธุกรรมอย่างเดียว แม้จะดูเป็นเรื่องที่ควบคุมไม่ได้ แต่คุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยกระตุ้นให้ลูกมีความจำดีขึ้นได้ค่ะ อย่างไรแล้วลองนำวิธีที่กล่าวมาไปปรับใช้กันดูนะคะ

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP