ลูกไม่นอนกลางวัน เพราะอะไร? จะมีผลมีอะไรหรือเปล่า?

การเลี้ยงลูกวัย 1-3 ขวบ

เรื่องของการนอนน้อยของลูกก็เป็นอีกหนึ่งประเด็นที่คุณแม่หลาย ๆ คนกังวล กังวลว่าลูกนอนน้อยเกินไปหรือเปล่า หรือเป็นธรรมชาติของเด็ก มาระยะหลังเริ่มกังวลไปถึงผลกระทบที่อาจตามมา รวมถึงไม่แน่ใจเสียด้วยซ้ำว่าการที่ลูกนอนน้อยนั้นจะมีผลกระทบอะไรหรือไม่

ลูกน้อยควรนอนวันละกี่ชั่วโมง?

เอาจริง ๆ จะให้ระบุเลยว่าทารกควรนอนวันละเท่าไหร่แบบแป๊ะ ๆ นั้นก็ค่อนข้างยากอยู่ คือเท่าที่แม่โน้ตรู้มานั้น แต่ละคนก็เขียนต่างกันไป แต่ละสำนักก็เขียนไม่เหมือนกัน ผนวกกับเด็กแต่ละคนก็ต้องการเวลาในการนอนที่ไม่เท่ากัน
เด็กที่อายุ 1 ขวบ ขึ้นไปนั้น บางคนก็นอนแค่วันละ 30 นาที – 1 ชั่วโมงเท่านั้น และเพียงวันละ 1 – 2 ครั้งเท่านั้น ส่วนกลางคืนก็นอน 8 – 9 ชั่วโมง
ทั้งนี้ ถ้าคุณแม่มั่นใจว่าระหว่างที่ลูกน้อยนอนหลับนั้นไม่ได้มีปัจจัยอื่น ๆ รบกวน ตื่นมาก็ดูสดใส ร่าเริงดี ไม่งอแง สุขภาพแข็งแรงสมวัยดี แบบนี้คุณแม่สบายใจได้เลยค่ะ

แม่โน้ต

อย่างน้องมินเอง เค้านอนกลางวันเพียงแค่วันละ 15 – 30 นาทีเองค่ะ ซึ่งในช่วงที่น้องมินนอนนั้น เราจะปิดทีวี ปิดมือถือ สร้างบรรยากาศให้น่านอนมากที่สุด พอน้องมินตื่นมา เขาก็สดใส ร่าเริง กินได้ตามปกติ จนหลัง ๆ แม่โน้ตก็ไม่ได้กังวลอะไรแล้วค่ะ คิดเสียว่าน้องมินคงกลัวแม่โน้ตเหงา ก็เลยรีบตื่นมาอยู่เป็นเพื่อนกัน

วิธีสังเกตว่าลูกยังอยากนอนกลางวันอยู่หรือเปล่า?

หากคุณแม่ยังคงกังวลกลัวลูกน้อยนอนไม่พอ วันนี้เรามีวิธีสังเกตพฤติกรรมของลูกน้อยมาฝากค่ะ เพื่อที่จะดูว่าความจริงแล้วลูกน้อยยังง่วงอยู่หรือไม่

บอกไม่ง่วง แต่เอนหลังก็หลับ

ลูกบอกไม่ง่วง แต่พอได้ลมเย็น ๆ นั่งเอนหลังกับเบาะนิ่ม ๆ ก็หลับไป

มีสมาธิน้อยลง

ลูกมีสมาธิกับสิ่งที่ทำน้อยลง แม้กิจกรรมนั้นเป็นกิจกรรมที่ชอบก็ตาม

มีอาการงัวเงียตลอด

ลูกตื่นนอนตอนเช้ามีอาการหงุดหงิด และงัวเงียตลอดเวลา

งอแงมากผิดปกติ

โดยเฉพาะช่วงหัวค่ำหรือช่วงเวลาที่ใกล้เข้านอนปกติ

เริ่มหาว ขยี้ตาบ่อย

แม้ปากจะบอกว่าไม่ง่วง แต่ด้วยอาการมันฟ้อง หากลูกขยี้ตาตลอด หาว หรือบางครั้งมีการหงุดหงิด อาละวาด หรือเริ่มงอแงร้องไห้มากกว่าปกติ

ทั้งนี้ หากคุณแม่เห็นพฤติกรรมลูกเช่นนี้แล้ว มั่นใจว่าลูกง่วงชัวร์ แต่หากลูกไม่ยอมนอน คุณแม่ก็ไม่ต้องไปบังคับลูกนะคะ เพราะถ้าเขาไม่ไหว เขาจะหลับได้เองเลยค่ะ

สาเหตุที่ลูกนอนไม่พอ

การที่ลูกนอนไม่พอหรือตื่นก่อนเวลาที่เคยตื่น เป็นไปได้ว่าจะเกิดจากสาเหตุเหล่านี้

บรรยากาศการนอนไม่เหมาะสม

เช่น บริเวณบ้านอาจมีแสงจากรถยนต์ที่ขับผ่านไปมาอาจมีแสงไฟจากรถส่องเข้ามาตลอด สามารถแก้ไขได้โดยการติดม่านทึบแสง หรือหากต้องเผชิญกับเสียงที่ดังให้ปิดประตูหรือที่บุกันเสียง หรือหากเป็นเสียงดังจากเด็ก ๆ ข้างบ้าน ควรบอกให้เด็กเหล่านั้นเล่นที่อื่นสักพัก

ลูกไม่สบาย

อาการที่ลูกไม่สบายก็เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ลูกน้อยไม่สบายตัว และหลับได้ไม่นาน โดยเฉพาะโรคภูมิแพ้ ซึ่งจะมีการคัดจมูก หายใจได้ไม่สะดวก หรือมีอาการไอร่วมด้วย โดยเฉพาะเวลากลางคืน ทำให้ลูกตื่นบ่อย ซึ่งหากเป็นสาเหตุจากข้อนี้ คุณแม่คงต้องรอจนกว่าอาการลูกน้อยจะดีขึ้นค่ะ แต่ถ้าหากลูกน้อยมีน้ำมูกมาก ให้คุณแม่ล้างจมูกลูกด้วยน้ำเกลือนะคะ ก็จะทำให้ลูกน้อยหายใจได้สะดวกขึ้นค่ะ

กังวลการแยกจาก

การแยกจากในทีนี้คือ บางครอบครัวที่คุณพ่อคุณแม่ต้องทำงานนอกบ้านทั้งคู่ อาจมีเวลาให้ลูกในช่วงเย็นและกลางคืนเท่านั้น ลูกจะรู้สึกว่าเขาอยากอยู่กับคุณพ่อคุณแม่นาน ๆ เขากลัวว่าถ้าลืมตาตื่นขึ้นมา คุณพ่อคุณแม่จะไปทำงานกันแล้ว เขาก็จะไม่ได้เจอ ซึ่งจะได้เจอกันอีกทีก็ช่วงเย็น เขาจึงไม่ยอมนอนนั่งเอง

จินตนาการ

จินตนาการเกิดจากเรื่องราวที่เขาได้รับมาในช่วงกลางวัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับความมืด เรื่องผี หรือการอยู่คนเดียว เหล่านี้จะทำให้เขาไปจินตนาการต่อ และเขาก็จะเกิดความกลัว คุณแม่สามารถแก้ไขได้โดยเปิดไฟสลัวในห้องนอน หรือสอนให้ลูกสวดมนต์ไปด้วยกันค่ะ

เล่นกลางวันมากไป

เด็กบางคนถ้าเล่นจนเหนื่อยเขาจะหลับดี แต่ในขณะที่บางคนถ้าเล่นจนเหนื่อยเกินไปเขาไม่สามารถหลับได้ หรือเด็กบางคนแม้หลับได้จริงแต่ก็ฝันร้าย หรือละเมอ ทำให้คุณภาพการนอนไม่ดีเท่าที่ควร ดังนั้น การเล่นควรเล่นแต่พอดี ๆ และก่อนนอน ให้คุณแม่อ่านนิทานให้ลูกฟัง ควรเป็นนิทานที่มีเรื่องราวที่ไม่ตื่นเต้นเร้าใจ

การที่ลูกไม่ยอมนอนกลางวันหรือนอนน้อย หากคุณแม่พยายามปรับแก้ในทุกทางแล้ว ลูกก็ยังนอนน้อยอยู่ก็ไม่เป็นไรนะคะ เพียงแค่ให้สังเกตระหว่างวันก็พอค่ะว่าลูกมีอาการง่วงซึมหรือไม่ ถ้าลูกสดใส ร่าเริงปกติ กินได้ปกติ แบบนี้คุณแม่ก็ไม่ต้องกังวลแล้วนะคะ เพราะนั่นอาจเป็นธรรมชาติของเด็กเองค่ะ

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP