ลูกชอบกรี๊ด พร้อมวิธีรับมือ

การเลี้ยงลูกวัย 1-3 ขวบ

เห็นลูกนั่งเล่นอยู่ดี ๆ ซักพักก็กรี๊ดขึ้นมา อิแม่ก็ตกใจคิดว่าเป็นอะไร พอมาดูดี ๆ อ้าวก็ไม่มีอะไรนี่ เล่นของเล่นปกติ มีหลายครอบครัวค่ะที่เจอกับเหตุการณ์นี้โดยเฉพาะกับลูกน้อยวัย 2 – 3 ขวบ คุณพ่อคุณแม่เริ่มกังวลว่าลูกชอบกรี๊ดแบบนี้ผิดปกติไหม ถ้าไม่ผิดปกติ จะมีวิธีรับมือหรือแก้ไขหรือเปล่า ไปค่ะ ทุกคำถามเรามีคำตอบ

สาเหตุที่ลูกชอบกรี๊ด พร้อมวิธีรับมือ

คราวนี้แม่โน้ตอยากชวนคุณพ่อคุณแม่มาทำความเข้าใจถึงสาเหตุกันก่อนว่าเพราะอะไรลูกน้อยถึงชอบกรี๊ด แล้วค่อยไปดูวิธีรับมือและแก้ไขกัน

คลังศัพท์ในหัวน้อย ไม่รู้จะสื่อสารอยางไรดี

คุณพ่อคุณแม่หลาย ๆ คนอาจจะงงกับลูกน้อย เพราะบางทีดีใจก็ร้องกรี๊ด ไม่พอใจก็ร้องกรี๊ด กำลังคุย ๆ อยู่กับคุณพ่อคุณแม่อยู่ดี ๆ ก็ร้องไห้กรี๊ดขึ้นมา ที่ลูกน้อยเป็นอย่างนี้เนื่องจากเขาเพิ่งรู้จักการสื่อสารด้วยคำพูด ด้วยประโยคได้ไม่นาน ดังนั้น คลังศัพท์ในหัวเขาจึงยังมีน้อย และเขาต้องการจะสื่อสารให้คุณพ่อคุณแม่เข้าใจ แต่ไม่รู้จะใช้คำไหน เมื่อเขาไม่รู้วิธีว่าจะบอกอย่างไร เขาอึดอัด และจึงกรี๊ดออกมานั่นเอง

วิธีรับมือ

อย่างแรกคุณพ่อคุณแม่ต้องใจเย็นค่ะ ตั้งใจฟังในสิ่งที่ลูกพูด ถ้าเริ่มเห็นว่าลูกเริ่มรู้สึกอึดอัด เริ่มที่จะไม่รู้คำศัพท์แล้ว ให้คุณพ่อคุณแม่เติมคำในช่องว่างนั้นทันที เพื่อช่วยให้ลูกได้พูดต่อได้ แต่ถ้าเติมคำในช่องว่างไม่ทันแล้ว ลูกกรี๊ดออกมาซะก่อน หน้าที่คุณพ่อคุณแม่ก็คือ ใจเย็นเช่นเดิมค่ะ เพิ่มเติมคือ ค่อย ๆ พูดกับลูก เช่น “หนูอยากได้อะไร หรืออยากให้พ่อแม่ทำอะไรคะ ค่อย ๆ พูดด้วยเหตุผลนะคะ” หรือ “หนูไม่พอใจที่หนูตื่นมาไม่เจอตุ๊กตาตัวโปรดใช่ไหมคะ ลองหาดูดี ๆ ซิ ตกอยู่ข้างเตียงหรือเปล่า” คือ สิ่งสำคัญ คุณพ่อคุณแม่ต้องใจเย็นและบอกลูกว่า “พ่อแม่เข้าใจอารมณ์ของเขา” เมื่อลูกน้อยเห็นว่าคุณพ่อคุณแม่ใจเย็นได้ ลูกจะเลียนแบบพฤติกรรมของคุณพ่อคุณแม่โดยอัตโนมัติเลยทีเดียว

ปรับตัวไม่ทันกับวัยและสังคมรอบตัว

วัย 2 – 3 ขวบ เป็นวัยที่เพิ่งเริ่มได้เรียนรู้อะไรใหม่ ๆ มากมาย เริ่มได้เข้าสังคม ออกไปเที่ยวต้องเจอกับผู้คนมากมาย ร่างกายเจริญเติบโต ฮอร์โมนก็เริ่มปรับตัวไปตามเพศ เหล่านี้เป็นสาเหตุที่ทำให้ลูกรู้สึกกระสับกระส่าย หงุดหงิด และกรี๊ดออกมาได้

วิธีรับมือ

ด้วยความที่เราเลี้ยงลูก อยู่กับลูกทุกวัน คุณพ่อคุณแม่อาจะละเลยในเรื่องพัฒนาการของลูกไป ซึ่งเรื่องนี้เป็นผลมาจากพัฒนาการของลูกที่ควรทำความเข้าใจก่อนที่จะตัดสินไปว่าลูกก้าวร้าว ในขั้นนี้หากพบว่าลูกกรี๊ด ให้คุณพ่อคุณแม่หากิจกรรมเพื่อเบี่ยงเบนความสนใจลูก เมื่ออารมณ์ลูกสงบลง ค่อยถามไถ่ว่าถึงสิ่งที่ลูกต้องการ

อยากให้ทุกคนให้ความสำคัญ

ใคร ๆ ก็ต้องการความรัก ต้องการเป็นคำสำคัญ ลูกน้อยก็เช่นกันค่ะ โดยเฉพาะความรักจากคุณพ่อคุณแม่ ยิ่งถ้าต้องมารู้ว่าคุณพ่อคุณแม่กำลังจะมีน้อง เขาก็จะกลัวว่าน้องจะแย่งความรักนี้ไป

วิธีรับมือ

การให้ความรักกับลูกด้วยการพูดคุยว่าความรักที่คุณพ่อคุณแม่มีให้เขานั้นไม่เคยเปลี่ยนแปลงเลย นอกจากนี้ การให้เวลาคุณภาพ และการกอด เป็นอะไรที่จะทำให้ลูกรู้สึกอุ่นใจมากขึ้น และมั่นใจมากขึ้นว่าความรักที่คุณพ่อคุณแม่มีให้เขานั้นไม่เคยเปลี่ยนแปลงเลย

เลียนแบบจากผู้ใหญ่

พฤติกรรมบางอย่างของเด็กก็มาจากการที่เด็กได้เห็นคุณพ่อคุณแม่ทะเลาะกัน เห็นจากในละคร หรืออาจมาจากคนรอบตัว เด็กจึงเกิดพฤติกรรมเลียนแบบ เพราะเด็กยังไม่สามารถแยกแยะได้ว่าพฤติกรรมไหนควรทำหรือไม่ควรทำ

วิธีรับมือ

เริ่มจากคุณพ่อคุณแม่หรือผู้ใหญ่รอบตัวก่อนที่ควรปรับพฤติกรรมการแสดงออก หรือถ้าหากคุณพ่อคุณแม่เริ่มเห็นว่าตัวเองคุมอารมณ์ไม่อยู่ให้เดินออกจากตรงนั้นมาก่อน หรือถ้าเริ่มเห็นผู้ใหญ่คนอื่น ๆ เริ่มจะแสดงอาการฉุนเฉียว ให้พาอเขาออกมาจากจุดนั้นเช่นกัน เพื่อไม่ให้ลูกเห็นและเอาเป็นเยี่ยงอย่าง

เป็นวัยที่เต็มไปด้วยอารมณ์

ที่ต้องบอกแบบนี้ก็เพราะว่าเด็กยังไม่สามารถแยกแยะหรือเข้าใจเหตุผลที่ถูกต้องได้ เขายังสับสนระหว่างการทำที่ถูกใจตัวเองกับการทำอะไรแบบถูกต้อง ดังนั้น เมื่อลูกไม่ได้ในสิ่งที่ต้องการจึงร้องไห้ เสียใจ โวยวาย และกรี๊ด

วิธีการรับมือ

ตั้งกฎเกณฑ์ให้ชัดเจน อาทิ “ถ้ากินข้าวไม่หมด บ่ายนี้ไม่ต้องกินขนม” หรือ “ถ้าหนูไม่ชอบตุ๊กตาแบบไหน ให้บอกพ่อกับแม่นะคะ เราจะได้ไม่ซื้อมา

การปรับพฤติกรรมลูกชอบกรี๊ด ไม่ใช่เรื่องยากค่ะ เพียงแค่คุณพ่อคุณแม่ต้องเข้าใจพัฒนาการของเด็กก่อน เพราะเมื่อเรารู้ถึงสาเหตุแล้ว การแก้ไขก็จะทำได้อย่างตรงจุดค่ะ

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP