SQ คือ เลี้ยงลูกให้เป็นเด็กอ่อนโยน ไม่ก้าวร้าว และรู้จักการปรับตัวต้องทำอย่างไร

การเลี้ยงลูกวัย 1-3 ขวบ

คุณพ่อคุณแม่ทุกคนต่างปรารถนาให้ลูกเติบโตประสบความสำเร็จในชีวิต มีความพร้อมในทุกด้านไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการเป็นคนเก่ง ฉลาด มีไหวพริบ จิตใจดี เป็นคนดี และสามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ต่างๆได้
สมัยก่อนเรามองว่า หากลูกเป็นเด็กที่ฉลาดจะสามารถอยู่รอดได้ในสังคม ดังนั้น การส่งเสริมหรือสนับสนุนเด็กในด้านการพัฒนา “ความฉลาดด้านสติปัญญา (Intelligence Quotient = IQ )” จึงเกิดขึ้นมากมาย ต่อมาความฉลาดอย่างเดียวไม่พอที่จะเด็กประสบความสำเร็จในชีวิตได้ เราจึงหันมาให้ความสำคัญกับ “ความฉลาดทางด้านอารมณ์ (Emotional Quotient = EQ)” ซึ่งก็คือ การที่เด็กรับรู้ เข้าใจและรับมือกับอารมณ์ของตนเองได้ รู้จักที่จะเอาใจเขามาใส่ใจเรา ซึ่งทั้ง IQ และ EQ เชื่อว่าคุณแม่คงเคยได้ยินมาแล้ว
ณ ปัจจุบันหากคุณพ่อคุณแม่ต้องการให้ลูกประสบความสำเร็จในชีวิต IQ กับ EQ ไม่เพียงพอสำหรับลูกน้อยแล้วล่ะค่ะ เพราะเราจะมี “Q” เพิ่มเข้าเป็นสมาชิกอีกหนึ่งตัว นั่นก็คือ “SQ” นั่นเอง เรามาดูกันค่ะว่า “SQ” คืออะไร? ลักษณะของคนที่มี SQ ที่ดีเป็นอย่างไร? ที่สำคัญ…จะสอนลูกอย่างไรให้เป็นเด็กที่มี SQ?

SQ คืออะไร?

SQ ย่อมาจาก Social Quotient คือ “ความฉลาดในการเข้าสังคม” การมีทักษะที่ดีในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น และสามารถปรับตัวได้ดีกับสถานการณ์ต่าง ๆ ในสังคม หรือจะขยายความอีกนิดก็คือ มีความคิดวิเคราะห์รู้ว่าอะไรควรทำหรือไม่ควรทำ อะไรควรทำเวลาไหน เป็นต้นค่ะ

ลักษณะของคนที่มี SQ ดีเป็นอย่างไร?

  • มีทัศนคติบวก มองโลกในแง่ดี
  • สามารถเข้าใจตนเองและผู้อื่นได้ ทั้งทางด้านความคิด อารมณ์ และความรู้สึก
  • มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีต่อผู้อื่น สามารถสร้างสัมพันธ์กับผู้อื่นได้อย่างเหมาะสม
  • รู้กฎระเบียบของสังคม และสามารถนำออกมาใช้ได้อย่างเหมาะสม
  • รู้บทบาทหน้าที่ของตนเอง เช่น มีวินัย ตรงต่อเวลา มีความรับผิดชอบ
  • มีความเป็นห่วงเป็นใยและคำนึงถึงผู้อื่น
  • เปิดใจ เปิดตัวเอง ยินดีและพร้อมรับสิ่งใหม่ๆ ที่จะเข้ามา มีความคิดสร้างสรรค์
  • ยิ้มแย้มแจ่มใสอยู่เสมอ
  • สามารถทำงานเป็นทีมได้
แม่โน้ต

ทั้งหมดทั้งมวลนี้ ลูกต้องมีต้นแบบที่ดีด้วยนะคะ ซึ่งก็ไม่ใช่ใครเป็นคุณพ่อคุณแม่ และผู้ที่เลี้ยงดูนั่นเองค่ะ

ดังนั้น คนที่มี SQ ที่ดีจะเป็นคนที่ใครๆ ก็อยากเข้าหา เข้าใกล้ อยากอยู่ และอยากร่วมงานด้วย เป็นที่รักของทุกคน

เลี้ยงลูกให้มี Social Quotient แบ่งตามช่วงวัย

  • วัยแรกเกิด – 6 เดือน : วัยนี้เป็นวัยที่คุณพ่อคุณแม่ต้องใส่ใจ ตอบสนองลูกน้อยทันที และต้องถูกจุด เช่น หากปล่อยให้ลูกน้อยนอนร้องไห้นานเกินไป จะทำให้ลูกน้อยรู้สึกไม่ปลอดภัย เกิดความไม่มั่นคงทางอารมณ์เมื่อโตขึ้น
  • วัย 6 – 12 เดือน : วัยนี้จะเริ่มแสดงความเป็นตัวของตัวเอง คุณพ่อคุณแม่สามารถฝึกลูกน้อยในช่วงนี้ให้รู้จักการรอคอยได้ค่ะ เช่น ถ้าอยากได้อะไรต้องรอซักพักหนึ่ง เพราะคนอื่น ๆ อาจจะยุ่งอยู่ เป็นต้นค่ะ
  • วัย 1 – 3 ปี : วัยนี้เด็กจะเริ่มเรียนรู้เรื่องการปรับตัวได้มากขึ้น การพาลูกออกไปเดินเล่น หรือทำกิจกรรมกันในวันหยุด ได้พบปะผู้คน รู้จักกับคนรอบข้าง รู้จักการเล่นกับเพื่อน แบ่งปันกัน แบบนี้ก็จะทำให้ลูกได้เรียนรู้ในเรื่องของการเข้าสังคมมากขึ้น
  • วัย 3 – 5 ปี : เป็นวัยอนุบาล ช่วงนี้เด็กจะได้เรียนรู้เรื่องกฎ ระเบียบของความเป็นสังคมจากโรงเรียนมากขึ้น เป็นโอกาสในการพัฒนาเรื่อง Social Quotient ได้เป็นอย่างดี

5 วิธีสอนลูกให้มี SQ

ให้ลูกได้มีโอกาสเล่นกับเพื่อน

ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนจากโรงเรียนหรือในหมู่บ้าน จริงๆ ข้อนี้ก็หมายรวมถึง พี่ๆ หรือ น้องๆ ด้วยนะคะ เพราะการที่ให้ลูกได้เข้าไปเล่นกับเพื่อน พี่หรือน้องนั้น จะฝึกให้ลูกน้อยได้คุ้นเคยที่จะอยู่กับคน ทำให้น้องกล้าแสดงออกทั้งการกระทำและความคิด ที่สำคัญอีกอย่างคือ สอนให้ลูกน้อยเรียนรู้การเอาตัวรอดเวลาที่เขาต้องอยู่กับคนหมู่มาก
สำหรับคุณแม่ที่มีลูกอายุไม่ถึง 4 ขวบ ลูกน้อยอาจจะยังเล่นกับเพื่อนไม่เก่ง แต่ไม่ต้องตกใจไปนะคะ ใจเย็นๆ ค่อยฝึกไปค่ะ

ชวนให้ลูกทำกิจกรรมเล็กๆ น้อยๆ ภายในบ้าน

คุณพ่อคุณแม่ลองชวนลูกมาทำกิจกรรมเล็กๆ น้อยๆ ด้วยกัน เช่น ช่วยคุณแม่ตากผ้า ล้างผัก ช่วยคุณพ่อเอาดินมาลงเพื่อจะปลูกต้นไม้ หรือช่วยลดน้ำต้นไม้ก็ได้นะคะ
หรือหากเป็นกิจกรรมนอกบ้านที่มีคนอื่นร่วมด้วยก็ได้ค่ะ เพราะถือเป็นการฝึกให้ลูกน้อยรู้จักการทำงานเป็นทีมและเรียนรู้ที่จะช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

สอนให้ใช้คำว่า “สวัสดี” “ขอบคุณ” และ “ขอโทษ” ให้เป็น

เพราะ 3 สิ่งนี้เป็นการแสดงมารยาทและเป็นการเข้าสังคมอย่างอ่อนน้อม ผู้ใหญ่ก็มักจะให้การเอ็นดู หรือหากนำไปใช้กับเพื่อน ก็จะแสดงออกถึงความจริงใจและกาลเทศะค่ะ

สอนให้เห็นถึงคุณค่าของการแบ่งปัน

คุณพ่อคุณแม่อาจทำให้ดูเป็นตัวอย่างอย่างสม่ำเสมอนะคะ และสอนให้ลูกน้อยเห็นว่าถ้าเราแบ่งปันสิ่งที่เรามีให้คนอื่นบ้าง วันหนึ่งเขาอาจจะแบ่งปันเราคืนเช่นกัน หรือถ้าลูกน้อยโตขึ้นอีกหน่อยสามารถสอนลูกได้อีกขึ้นหนึ่งค่ะว่า “การแบ่งปันโดยไม่หวังผลตอบแทนก็เป็นสิ่งที่ดี” ให้ลูกน้อยได้เห็นว่า “การแบ่งปันหรือการช่วยเหลือผู้อื่นไม่ใช่เรื่องแปลก

แม่โน้ต

การแบ่งปัน ไม่จำเป็นต้องให้ลูกแบ่งในทุกเรื่องนะคะ เช่น ถ้าเขามีของเล่นที่เป็นของรักของหวง เขามีสิทธิที่จะไม่แบ่งได้ค่ะ เพราะหากยังบังคับให้ลูกแบ่งในสิ่งที่เขารัก เป็นไปได้ว่าเขาจะเกลียดเรื่องการแบ่งปัน เพราะเขารู้สึกว่า “การแบ่งปัน คือ การพรากสิ่งที่เขารักไป

ชื่นชมลูกเมื่อเห็นว่าลูกสามารถทำงานเข้ากับผู้อื่นได้ดี

กำลังใจ” จากคุณพ่อคุณแม่เป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ลูกน้อยได้มีแรงมีกำลังใจในการเรียนรู้สิ่งดีๆ ในชีวิตนะคะ เช่น หากลูกสามารถเล่นกับเพื่อนๆ ได้ดี โดยไม่แกล้งกัน หรือลูกทำงานกลุ่มกับเพื่อน แล้วผลงานออกมาดี เป็นต้น ไม่ต้องกลัวลูกเหลิงค่ะ กลับกันจะทำให้ลูกรู้สึกภูมิใจและพร้อมที่จะเดินไปในแนวทางนี้ค่ะ

การสร้างหอไอเฟลไม่สามารถสร้างเสร็จได้ในวันเดียวฉันใด การสร้าง SQ ให้ลูกน้อยก็ต้องใช้เวลาฉันนั้น” ค่ะ

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP