ลูกติดหวาน ตัวการโรคร้าย แก้ไขอย่างไรดี

การเลี้ยงลูกวัย 1-3 ขวบ

อีกหนึ่งปัญหาคลาสสิกที่หลายครอบครัวกำลังเผชิญก็คือ เรื่องของ “ลูกติดหวาน” เพราะความหวานกับเด็กเป็นของคู่กัน เด็กบางคนพอได้กินหวานแล้วติด กู่กลับยาก (ยังไม่ถึงกับกู่ไม่กลับนะ) ซึ่งยังแสดงว่ายังพอมีทางแก้ไขได้ วันนี้โน้ตมีเทคนิคในการปลูกฝังการกินที่ถูกต้อง พร้อมทั้งวิธีแก้ไขสำหรับเด็กที่ติดหวานไปแล้วมาฝากค่ะ

Youtube : ลูกติดหวาน ตัวการโรคร้าย แก้ไขอย่างไรดี

อาหารที่ถูกหลักโภชนาการของลูกน้อย

อายุแรกเกิด – 6 เดือน

เด็กในวัยแรกเกิด – 6 เดือนควรทานแต่นมแม่อย่างเดียว

เด็กในวัยนี้ควรทานแต่นมแม่อย่างเดียว แต่หากเด็กที่ไม่สามารถทานนมแม่ได้ก็ให้ทานนมผงสำหรับเด็กแรกเกิดแทน เพราะในนมแม่มีสารอาหารที่ครบถ้วนดีอยู่แล้ว อีกทั้งย่อยง่าย เป็นมิตรกับระบบย่อยอาหารของทารก

อายุ 6 – 9 เดือน

อายุ 6 – 9 เดือนทานอาหารเสริมวันละ 1 มื้อ

ทานอาหารเสริมวันละ 1 มื้อ ควบคู่ไปกับนม เน้นให้ครบ 5 หมู่ เน้นรสธรรมชาติ ไม่ต้องปรุงรสอะไรนะคะ

อายุ 9 – 12 เดือน

อายุ 9 – 12 เดือนเพิ่มอาหารเสริมเป็น 2 มื้อ

เพิ่มอาหารเสริมเป็น 2 มื้อ ควบคู่ไปกับนมอยู่ สามารถเสริมผลไม้เป็นของว่างได้ เน้นผลไม้ที่นิ่ม ทานง่าย ย่อยง่าย

อายุครบ 1 ขวบ

อายุครบ 1 ขวบสามารถทานอาหารให้ครบ 3 มื้อได้
สามารถทานอาหารให้ครบ 3 มื้อได้แล้วค่ะ ส่วนนมให้เป็นเพียงของว่างแทน แต่ยังคงเน้นรสธรรมชาติอยู่ ไม่ปรุงรสมากหรือถ้าไม่ปรุงเลยยิ่งดี

ลูกติดหวานแล้วแก้อย่างไร?

ลูกจะติดหวานหรือไม่ขึ้นอยู่กับการเลี้ยงดูจากทางครอบครัวเป็นหลัก แต่…ถ้าลูกติดหวานไปแล้ว คุณพ่อคุณแม่ต้องการจะแก้ไข ก็ยังสามารถทำได้ค่ะ

ลด ละ เลิก ของหวาน

ลด ละ เลิก ของหวาน

การจะให้เด็กลด ละ เลิกอะไรซักอย่างต้องใช้เวลาค่ะ ให้คุณพ่อคุณแม่ค่อยๆ ลดปริมาณของหวานลง อาทิ ของหวาน น้ำหวาน และขนมกรุบกรอบ โดยเสริมของว่าเป็นพวกผลไม้แทน

เปลี่ยนขนมที่วางบนโต๊ะกินข้าวเป็นผลไม้

เปลี่ยนขนมที่วางบนโต๊ะกินข้าวเป็นผลไม้

เป็นการปรับเปลี่ยนบรรยากาศจากเดิมที่มีถุงขนมวางบนโต๊ะกินข้าวมาเป็นวางผลไม้แทน

เป็นตัวอย่างที่ดีให้ลูก

เป็นตัวอย่างที่ดีให้ลูก

คุณพ่อคุณแม่คือ ต้นแบบที่ดีของลูก เพราะลูกจะเลียนแบบพฤติกรรมของผู้ใหญ่ ถ้าคุณพ่อคุณแม่กินผลไม้ กินผัก ให้ลูกดูเป็นประจำ เรียกว่าทำให้ลูกเห็นเลยค่ะว่า การที่คุณพ่อคุณแม่กินผักผลไม้นั้น มันเป็นชีวิตประจำวันของคุณพ่อคุณแม่ แล้วลูกก็จะเลียนแบบเอง

ทำกับข้าวกินเอง รสอ่อนๆ

ทำกับข้าวกินเอง รสอ่อนๆ

สำหรับครอบครัวไหนที่เคยชินรสจัดมาก่อนจะมีลูก หลังจากนี้ไปต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวเองด้วยแล้วล่ะค่ะ หันมาทำอาหารทานเอง ปรุงรสอ่อนๆ ซึ่งก็เป็นการบังคับให้คุณพ่อคุณแม่กินรสอ่อนไปด้วยในตัว เป็นการรักษาสุขภาพตัวเองได้อีกทางหนึ่งเลยทีเดียว

ชมเชยตามสมควร เมื่อลูกทำได้

ชมเชยตามสมควร เมื่อลูกทำได้

ในระหว่างการฝึกลูกน้อยให้ลดหวาน แล้วเปลี่ยนมาทานผักหรือผลไม้แทน หากลูกทำได้ คุณพ่อคุณแม่ควรชมเชยลูกตามสมควร เพื่อเป็นกำลังใจให้กับเค้า ให้เค้าได้รู้ว่าลูกมาถูกทางแล้ว ลูกจะดีใจและจะให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี

อย่าบังคับ

อย่าบังคับ

ในช่วงแรกหากลูกยังไม่เข้าใจ ไม่ให้ความร่วมมือก็อย่างเพิ่งไปบังคับนะคะ เพราะเค้าจะเกิดการต่อต้าน แล้วอาจจะกลายเป็นกินหวานหนักขึ้นก็ได้

ตั้งกฎระเบียบ กติกาชัดเจน

ตั้งกฎระเบียบ กติกาชัดเจน

เช่น ของว่างในหนึ่งวันสมมติว่ามี 2 มื้อ จากเดิมเป็นพวกขนมหวานหรือขนมกรุบกรอบทั้งหมด ก็ค่อยๆ ปรับมาเป็นผลไม้ 1 มื้อ และขนม 1 มื้อแทน หลังจากนั้นค่อยๆ ปรับเปลี่ยนเป็นผลไม้ทั้ง 2 มื้อแทน

อธิบายผลเสียจากการทานหวาน

อธิบายผลเสียจากการทานหวาน

ข้อนี้โน้ตใช้วิธีคุยกับลูกแบบผู้ใหญ่เลยค่ะ เช่น ถ้าหนูกินหวานมากอาจเป็นเบาหวานได้นะคะ ลูกก็ถามต่อว่า “แล้วรักษาอย่างไร?” โน้ตก็อธิบายต่อ อธิบายในเรื่องจริง เค้าจะเข้าใจหรือไม่ ไม่เป็นไรนะคะ เพราะวัตถุประสงค์ของเราคือ ต้องการให้ลูกรู้ว่าผลเสียของการหวานจะเป็นอย่างไร รวมถึงผลเสียของการไม่กินผักผลไม้จะเป็นอย่างไร ซึ่งได้ผลดีทีเดียว

มาถึงตรงนี้แล้ว โน้ตอยากบอกว่าทุกอย่างต้อง “ใช้เวลา” ค่ะ โดยเฉพาะเวลาที่เราต้องการแก้ไขหรือปรับพฤติกรรมอะไรซักอย่างของลูก แต่สิ่งหนึ่งเวลาที่โน้ตสอนลูก โน้ตจะอธิบายความจริง สอนในเรื่องจริง อย่าเพิ่งคิดว่าลูกไม่เข้าใจ อย่าเพิ่งคิดแทนลูก อธิบายไปเรื่อยๆ ค่ะ วันหนึ่งเค้าจะเข้าใจได้เอง เป็นกำลังใจให้ทุกครอบครัวนะคะ

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP