ถูกขัดใจทีไร ลูกร้องอาละวาด (Temper tantrums) ทุกที พ่อแม่รับมืออย่างไรดี

การเลี้ยงลูกวัย 1-3 ขวบ
JESSIE MUM

การที่ลูกร้องอาละวาด สาเหตุมักเกิดมาจากความโกรธ ความไม่พอใจโดยเฉพาะในเด็กเล็ก เริ่มจากการถูกขัดใจ ส่วนใหญ่เวลาที่เด็กเล็กจะร้องอาละวาดนั้นจะใช้เวลาไม่น้อยกว่า 5 นาที หรือในบางรายอาจนานเป็นชั่วโมง เด็กจะเริ่มมีพฤติกรรมอาละวาดนี้ได้ตั้งแต่อายุ 12 เดือน จะพบได้บ่อยในอายุ 2-3 ปี และจะเริ่มหายไปเมื่ออายุเข้า 4 ปี ขึ้นไป พฤติกรรมนี้อาจทำให้คุณพ่อคุณแม่ปวดหัวได้ วันนี้โน้ตจะชวนคุณพ่อคุณแม่มาทำความเข้าใจกับพฤติกรรมนี้ก่อน เพื่อการแก้ไขให้ตรงจุดและถูกต้อง หลังจากนั้นจะไปในเรื่องของการรับมือนะคะ

ลูกอาละวาด Temper tantrums

อาการที่ลูกร้องอาละวาด

อาการที่ลูกร้องอาละวาด

  • เริ่มจากอาการโกรธ
  • ไม่พอใจ
  • ร้องไห้อย่างรุนแรง
  • ลงไปดิ้นกับพื้น
  • ฟาดแขนฟาดขาไปมา
  • ทำร้ายตนเอง และ/หรือ คนอื่น
  • มีอาการร้องกลั้น (breath holding spell)

ลักษณะการอาละวาดของลูกที่เป็นปัญหา

  • เกิดเหตุการณ์เช่นนี้บ่อย โดยเฉพาะที่โรงเรียน
  • มีอาการอาละวาดมากกว่า 3 ครั้งขึ้นไปต่อวัน แต่ละครั้งจะกินเวลานานมากกว่า 15 นาที
  • มีปัญหาพฤติกรรมในด้านอื่น ๆ ร่วมด้วย อาทิ ปัญหาด้านการนอน ปัญหาด้านการเรียน รวมถึงปัญหาด้านความสัมพันธ์กับเพื่อน
  • ทำลาย และ/หรือ เขวี้ยงข้าวของ
  • ทำร้ายตนเองและทำร้ายผู้อื่นด้วย

สาเหตุที่เด็กอาละวาด

สาเหตุที่เด็กอาละวาด

คุณพ่อคุณแม่ลองมาดูสาเหตุกันก่อนนะคะ เพื่อทำความเข้าใจและเพื่อการแก้ไขพฤติกรรมลูกได้อย่างตรงจุดและถูกต้องค่ะ

พัฒนาการตามวัยปกติ

การอาละวาดเป็นอีกหนึ่งพฤติกรรมด้านการเรียนรู้ในการควบคุมอารมณ์ของเด็ก ซึ่งมักจะเกิดในช่วงอายุ 2-3 ปี เนื่องจากเด็กเล็กยังไม่สามารถที่จะจัดการกับอารมณ์กับตัวเองได้อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ พัฒนาการในเรื่องการสื่อสารของเขาก็ยังพัฒนาได้ไม่เต็มที่เช่นกัน จึงเกิดอาการหงุดหงิดจนแสดงอาการที่ไม่เหมาะสมออกมา

ไม่สบาย

เด็กบางคนมีอาการเจ็บป่วยบ่อย ๆ ซ้ำ ๆ ที่อวัยวะส่วนบน อาทิ หูอักเสบ ภูมิแพ้ ฟันผุ มีอาการบาดเจ็บทางสมอง หรือเป็นโรคในระบบทางเดินอาหาร จึงเป็นอีกเหตุหนึ่งที่ทำให้เด็กอาละวาดได้ เนื่องจากยาที่ใช้ในการรักษาอาการเจ็บป่วยเหล่านี้จะมีตัวยาที่ทำให้ง่วง อาทิ ยากันชัก หรือยาแก้แพ้ เป็นต้น

พื้นฐานอารมณ์ที่เป็นเด็กเลี้ยงยาก

เด็กบางคนเลี้ยงง่าย บางคนเลี้ยงยาก เพราะฉะนั้นเด็กที่มีพื้นฐานการเลี้ยงยาก เช่น นอนยาก กินยาก ขับถ่ายไม่เป็นเวลา ปรับตัวเข้ากับสิ่งต่าง ๆ ยาก เด็กกลุ่มนี้จะมีความเสี่ยงที่จะอาละวาดได้ง่าย

ตามใจหรือเข้มงวดมากไป

อะไรที่มากไปก็ไม่ดี น้อยไปก็ไม่ดี นอกจากนี้ยังรวมถึงการลงโทษที่คุณพ่อคุณแม่ใช้ความรุนแรง แสดงอารมณ์ทางด้านลบบ่อย ๆ เด็กก็จะอาละวาดได้เช่นกัน

ลูกอาละวาด พ่อแม่รับมืออย่างไรดี

ป้องกันก่อนอาละวาด

ป้องกันก่อนอาละวาด

  • กำหนดกิจวัตรประจำวันที่ทุกคนในบ้านทำเหมือนกัน
  • ใช้เวลากับลูก อยู่กับลูกจริง ๆ เช่น เล่นกัน พูดคุย อย่างน้อยวันละ 30 นาที
  • ให้การเสริมแรงด้านบวก เช่น เมื่อเด็กทำดีคุณพ่อคุณแม่ควรชื่นชมลูกตามสมควร
  • คุณพ่อคุณแม่ควรจัดการอารมณ์ตัวเองให้ได้ก่อน เป็นแบบอย่างที่ดีของลูก
  • หากมีการเปลี่ยนแปลงกติกาหรือกิจวัตรประจำวัน ควรบอกลูกก่อนล่วงหน้า
  • สอนให้ลูกใช้คำพูดแทนการใช้อารมณ์ แทนการแสดงออกที่ไม่เหมาะสม

ขณะอาละวาด

ขณะอาละวาด

  • เบี่ยงเบนความสนใจลูกหากเริ่มอาละวาด
  • คุณพ่อคุณแม่ควรสงบ เพิกเฉยต่อการอาละวาดของลูก เพราะหากผู้ใหญ่ไม่สนใจลูกก็จะเลิกเอง แต่ต้องพิจารณาเรื่องความปลอดภัยด้วยนะคะ
  • หากมีการทำลายข้าวของ ให้พาลูกออกมาจากตรงนั้น แล้ว “กอด” ลูกจนกว่าเขาจะสงบลง
  • หากเขาอาละวาดเพราะไม่ได้ของเล่น ก็ให้คุณพ่อคุณแม่ไม่ซื้อของเล่นเพื่อตามใจอีกนะคะ
  • เมื่อลูกสงบลง ให้เข้าไปพูดคุยกับลูกด้วยทีท่าที่อ่อนโยนและจริงใจ เพื่อให้ลูกเข้าใจอารมณ์ตัวเองมากขึ้น รวมถึงถามความคิดเห็นลูกว่าควรจะแก้ไขเรื่องนี้อย่างไรดี

เรื่องของลูกอาละวาดแม้ว่าบางส่วนจะมาจากพฤติกรรมตามวัยปกติ ซึ่งสามารถหายเองได้ แต่คุณพ่อคุณแม่ก็ไม่ควรละเลยนะคะ เพราะหากลูกมีพฤติกรรมแบบนี้บ่อย ๆ อาจกลายเป็นนิสัยได้ในที่สุดค่ะ

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP