ลูกเอาแต่ใจ (Spoiled Child Problem) พ่อแม่ทำอย่างไรดี

การเลี้ยงลูกวัย 1-3 ขวบ
JESSIE MUM

หลายครอบครัวที่มีลูกเล็กโดยเฉพาะลูกที่อายุ 2-5 ขวบ อาจได้เห็นพฤติกรรมลูกที่เปลี่ยนไป เริ่มเอาแต่ใจ คุณพ่อคุณแม่จะบอกจะสอนเท่าไหร่ก็ไม่ยอมเลิกพฤติกรรมนี้เสียที วันนี้โน้ตจะชวนคุณพ่อคุณแม่มาจับเข่าคุย มาทำความเข้าใจในเรื่องลักษณะของเด็กที่เอาแต่ใจ สาเหตุว่าทำไมเด็กถึงมีพฤติกรรมแบบนี้ รวมไปถึงวิธีรับมือกันค่ะ

ลูกเอาแต่ใจ (Spoiled Child Problem)

เด็กเอาแต่ใจ (Spoiled Child Problem) หมายถึง เด็กที่มีอารมณ์โกรธรุนแรงเมื่อไม่ได้ในสิ่งที่ตัวเองต้องการ นอกจากนี้ยังมีพฤติกรรมที่ไม่ยอมทำตาม จนส่งผลให้คนรอบข้างเกิดความเครียดไม่ว่าจะเป็นคุณพ่อคุณแม่ พี่ น้อง หรือครู

บ่อยครั้งเราพบว่าเด็กที่เอาแต่ใจตัวเองได้รับการวิเคราะห์หาสาเหตุที่เกินจริงไป โดยบอกว่าเด็กเป็นโรคสมาธิสั้น (Attention Deficit Hyperactivity Disorder – ADHD) เหตุเพราะเด็กมีอารมณ์วู่วาม ยังไม่สามารถควบคุมอารมณ์ของตัวเองได้ และในเด็กบางรายที่มีอารมณ์โกรธที่รุนแรงก็มักจะถูกวินิจฉัยว่าเป็น โรคอารมณ์สองขั้ว (Bipolar Disorder) ซึ่งต้องบอกว่าการเลี้ยงดูของคุณพ่อคุณแม่มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อพฤติกรรมของเด็ก หากเด็กได้รับการตอบสนองอย่างถูกต้อง ปัญหาเรื่องที่เด็กเอาแต่ใจนี้จะไม่เกิดขึ้น

ลักษณะของเด็กที่เอาแต่ใจ

  • ยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง เชื่อว่าความต้องการของตัวเองสำคัญที่สุด
  • พึงพอใจในสิ่งต่าง ๆ ได้ยาก
  • มักแสดงพฤติกรรมอาละวาด (Temper Tantrums) แม้ว่าจะเข้าวัยเรียนแล้วก็ตาม
  • บ่นว่าเบื่ออยู่เสมอ
  • ไม่มีความเคารพต่อกฎเกณฑ์ หรือกติกา
  • ก้าวร้าว หยาบคาบ
  • ปฏิบัติกับคนอื่นเหมือนเขาเป็นสิ่งของ ไม่ใช่คน
  • ไม่รู้จักประนีประนอม มักโต้เถียงอย่างไม่เลิกรา

ระดับความรุนแรงของพฤติกรรมเด็กเอาแต่ใจ

แบ่งได้ออกเป็น 3 ระดับ ดังนี้

ระดับร้ายแรง (Grandiose/malignant type)

เด็กจะมีอารมณ์โกรธและโมโหอย่างรุนแรงไม่สามารถระงับได้ พยายามบังคับผู้อื่นให้ทำตามในสิ่งที่ตนเองต้องการ เข้าใจว่าตนเองเป็นคนสำคัญมาก มีอภิสิทธิ์เหนือคนอื่น ไม่มีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น และมีความเป็นไปได้ที่จะโทษแต่คนอื่น

ระดับเปราะบาง (Fragile type)

เด็กยังมีความพยายามที่จะระงับความรู้สึกไม่พอใจและความรู้สึกที่เจ็บปวดอยู่ แต่ก็จะยังมีความกังวล และรู้สึกโดดเดี่ยว เขาจะพยายามไขว่คว้าถึงความรู้สึกของการได้เป็นคนสำคัญหรือคนพิเศษ นอกจากนี้ เด็กจะมีทัศนคติลบแฝงอยู่ภายในใจอันเนื่องมาจากความไม่พอใจที่เกิดขึ้น

ระดับเรียกร้องความสนใจ (Exhibitionistic) หรือมีความสามารถในการทำงานสูง (High Functioning)

เด็กจะมีความรู้สึกว่าตัวเองสำคัญมาก จนหลงตัวเอง แต่การหลงตัวเองนี้จะเป็นพลังบวก ทำให้เด็กมีพัฒนาการที่ดีมีความสามารถที่หลากหลาย อาทิ การพูด การเขียน และการเข้าสังคม เด็กจะมีการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ได้ดี และมีความกระตือรือร้นอีกด้วยค่ะ

วิธีแก้ไขปัญหาและปรับพฤติกรรมเด็กเอาแต่ใจ

เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับลูก

เพราะลูกจะเลียนแบบพฤติกรรมของคุณพ่อคุณแม่ เพราะฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรจะแสดงออกถึงความอดทน ความเสียสละ รวมถึงเรื่องของการควบคุมอารมณ์ของตนเอง

ไม่ปกป้องลูกมากไป

ไม่ต้องช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกกับลูกมากเกินไป หากไม่จำเป็น ควรให้ลูกเรียนรู้และรับมือกับสถานการณ์ต่าง ๆ เอง เพื่อเขาจะได้มีทักษะในการใช้ชีวิตมากขึ้น

ชมลูกแต่พอควร

เมื่อลูกสามารถทำสิ่งใหม่ หรือสิ่งที่ยากได้สำเร็จเท่านั้น

ฝึกให้ลูกมีความอดทน

เพราะไม่มีใครได้ทุกอย่างอย่างที่ต้องการ ไม่ใช่ว่าขอปุ๊บจะได้ปั๊บ ควรฝึกให้ลูกรู้จักการอดทนและการรอคอย เพื่อป้องกันตัวเองจากอารมณ์โกรธ

อย่าใจอ่อนเด็ดขาด

โดยเฉพาะเรื่องที่ลูกอาละวาด (Temper Tantrums) (ซึ่งวิธีการรับมือกับลูกอาละวาด โน้ตมีเขียนไว้ในบทความ ถูกขัดใจทีไร ลูกร้องอาละวาด (Temper tantrums) ทุกที พ่อแม่รับมืออย่างไรดี นี้แล้วค่ะ)

การรักลูก” ต่างจาก “การตามใจลูก” อย่างสิ้นเชิง (คัดลายมือมาค่ะ 1 หน้ากระดาษ A4^^)

แม้ว่าพฤติกรรมของเด็กในวัย 2-5 ขวบ จะมีพฤติกรรมที่หลายคนเรียกกันว่า “วัยทอง สองขวบ” (Terrible Two) จะเป็นพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการ และอาจหายไปได้เองเมื่อโตขึ้น แต่หากคุณพ่อคุณแม่ละเลย พฤติกรรมที่เอาแต่ใจนี้ไม่ได้รับการแก้ไข อาจทำให้เป็นนิสัยติดตัวไปจนโต เป็นนิสัยที่คนในสังคมไม่ยอมรับ เมื่อนั้นเราคงนั่งเครียดกันอีกครั้ง จดจำไว้นะคะว่า “การรักลูก” ต่างจาก “การตามใจลูก” อย่างสิ้นเชิง

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP