Terrible Two (วัยทอง 2 ขวบ) คืออะไร? ข้อดีของ Terrible Two

การเลี้ยงลูกวัย 1-3 ขวบ
JESSIE MUM

Terrible Twos” บางคนแปลตรงๆ เลยว่า “2 ขวบสยอง” แต่ถ้าจะให้อธิบายให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ เด็กๆ ไม่ว่าหญิงหรือชายที่มีอายุเข้า 2-3 ขวบ เค้าจะเริ่มมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป จากเด็กที่ว่านอนสอนง่ายเริ่มกลายเป็นเด็กดื้อ บอกอะไรก็ไม่ทำ ขัดใจไม่ได้ ทำเอาคุณพ่อคุณแม่หงุดหงิด โมโหไปตามๆ กันTerrible Twos มีพฤติกรรมอะไรที่มากกว่านี้หรือไม่ พฤติกรรมนี้จะหายไปได้เองหรือเปล่า คุณพ่อคุณแม่ต้องรับมืออย่างไร

กลับกันนะ ผู้เขียนมองว่า Terrible Twos ไม่ได้สยองอย่างที่คิด แต่มีข้อดีมากกว่า เอ๊ะ…ยังไง? เราไปไล่เรียงกันทีละข้อเลยค่ะ

Terrible Two คืออะไร?

คือ เด็กน้อยในวัย 2 – 3 ขวบ ช่วงเวลาที่ลูกน้อยของคุณพ่อคุณแม่เริ่มเติบโตและแข็งแรงมากขึ้น โดยเฉพาะทางความคิด เค้าจะเริ่มมีความคิดเป็นของตนเอง อยากทำอะไรด้วยตัวเองทุกอย่าง อยากมีส่วนร่วมในการเลือกหรือการตัดสินใจ และด้วยความที่ลุกน้อยเติบโตขึ้นนี้เองจึงส่งผลให้พฤติกรรมของลูกน้อยเปลี่ยนไปตามวัยอีกด้วยค่ะ มีอารมณ์ขึ้น ๆ ลง ๆ เรามาดูกันเลยดีกว่าค่ะว่าพฤติกรรม Terrible Twos มีอะไรกันบ้าง

  • มีความเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น อยากทำนู่นเอง ทำนี่เอง
  • ไม่พอใจหากมีใครมาบังคับ เค้าต้องการอิสระ ถ้าหากคุณพ่อคุณแม่บอกให้เค้าทำอะไร แล้วไม่ทำ สิ่งนี้แหละค่ะ ที่เราเรียกเค้าว่า “เด็กดื้อ
  • แสดงอาการต่อต้านหรือมีพฤติกรรมขัดขืน เมื่อได้รับการปฏิเสธหรือการออกคำสั่ง
  • มีการต่อรอง และหวังให้คุณพ่อคุณแม่ Say Yes อย่างเดียว
  • ร้องกรี๊ด เมื่อไม่ได้ดั่งใจหรือถูกขัดใจ เด็กบางคนเป็นหนักมากจนถึงขั้นดึงผมตัวเอง เอาหัวโขกเสาหรือกำแพงเลยก็มี ในบางรายก็ทุบตี หรือกัดแขนคุณพ่อคุณแม่
  • เมื่อมีอารมณ์โกรธมากๆ จะชอบขว้างปาสิ่งของ
  • มีอาการหวงของอย่างมาก บางครั้งก็ไปแย่งของที่คนอื่นกำลังเล่น เพราะคิดว่าของอย่างต้องเป็นของตัวเอง ไม่รู้จักการแบ่งปันอย่างเหมาะสม

รัวิธีรับมือกับลูกน้อย Terrible Two

เคยมีงานวิจัยของรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยแบ่งเด็กเป็น 2 กลุ่ม

เด็กที่ถูกบังคับจากครอบครัว

จากงานวิจัยพบว่า คุณพ่อคุณแม่ที่ไม่เข้าใจพฤติกรรมลูก ไม่ได้มีการเตรียมรับมือกับภาวะ Terrible Twos นี้ เมื่อลูกมีอารมณ์ขึ้นๆ ลงๆ หงุดหงิด เอาแต่ใจ ดื้อรั้น คุณพ่อคุณแม่ก็อาศัยการดุด่าว่ากล่าว การใช้กำลัง ใช้การตี เพื่อหยุดพฤติกรรมเหล่านั้น หรือออกคำสั่งบังคับให้ทำสิ่งต่าง ๆ โดยไม่ได้อธิบายเหตุผลให้ลูกฟัง หรือไม่ยอมฟังเหตุผลลูก จะทำให้ลูกมีพฤติกรรมที่ก้าวร้าว ต่อต้าน และในที่สุดเค้าก็จะซึมซับพฤติกรรมเหล่านั้นจากคุณพ่อคุณแม่ และส่งต่อไปยังคนรอบข้างของเค้าในอนาคต

เด็กที่ไดรับความเข้าใจจากครอบครัว

สำหรับเด็กกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่คุณพ่อคุณแม่ให้ความเข้าใจ เข้าใจในภาวะ Terrible Twos ใช้เหตุผลในการพูดคุยกัน เวลาที่เด็กและคุณพ่อคุณแม่มีปัญหากัน เค้าจะเข้าหากันเองโดยอัตโนมัติ เพราะลูกรู้ว่าคุณพ่อคุณแม่มักมีเหตุผลให้เค้าเสมอ ซึ่งสิ่งนี้จะช่วยลดความขัดแย้งในครอบครัวได้

ภาวะ Terrible Two (วัยทอง 2 ขวบ)

ภาวะ Terrible Two ไม่ใช่โรคร้ายแรงมากนัก และความรุนแรงในการแสดงออกขึ้นอยู่กับพื้นฐานอารมณ์ของเด็กแต่ะละคนที่มีความแตกต่างกัน แต่พฤติกรรมที่เกิดขึ้นนี้เป็นพัฒนาการและเป็นธรรมชาติของเด็กค่ะ ที่เริ่มมีคำศัพท์ในหัวมากขึ้น เริ่มมีความคิดเป็นของตัวเอง อยากทดลอง และอยากทดสอบว่าความสามารถของเขานั้นมีขีดจำกัดแค่ไหน ซึ่งภาวะ Terrible Two นี้จะค่อย ๆ ลดลงเมื่อลูกโตขึ้น เริ่มมีสมาธิขึ้น

ข้อดีของ Terrible Two

Terrible Two หรือช่วงที่หลายๆ คนเรียกลูกน้อยกันว่า ตัวป่วน หรือเด็กดื้อนี้ ผู้เขียนชวนคุณพ่อคุณแม่มองอีกมุมค่ะ
การที่ลูกเรามีช่วงของ Terrible Twos นั่นคือ การที่เค้ามีความคิดเป็นของตัวเอง อยากตัดสินใจได้ด้วยตัวเอง อยากมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ อยากมีอิสระ หรือแม้กระทั่งคุณพ่อคุณแม่บอกหรือเตือนอะไรก็ไม่ค่อยยอมทำตาม สิ่งเหล่านี้ ถ้าหากลูกของคุณพ่อคุณแม่ไม่มีตามช่วงวัยที่เค้าควรจะเป็น แต่เป็นในลักษณะตรงกันข้ามแทน เช่น บอกอะไรก็เชื่อฟัง ทำตามไปซะทุกอย่าง บอกให้นั่งนิ่งๆ ก็นิ่งจริง ๆ บอกให้นั่งเงียบๆ ก็เงียบจริง ๆ เรียบร้อยเกินไป แบบนี้น่าห่วงกว่านะคะ เพราะเค้าจะขาดในเรื่องทักษะการใช้ชีวิตไปเยอะเลย

ถ้าคุณพ่อคุณแม่เข้าใจว่าลูกกำลังอยู่ในภาวะนี้ที่เป็นเพียงช่วงเดียว แล้วปล่อยให้ลูกได้ลองทำอะไรด้วยตัวเอง ตัดสินใจอะไรด้วยตัวเอง เพียงแต่คอยดูแลให้อยู่ในขอบเขตที่เหมาะที่ควร พูดคุยกันอย่างใจเย็น ไม่ออกคำสั่งมากเกินไป เรื่อง Terrible Two วัยทอง 2 ขวบก็ไม่ใช่เรื่องที่น่าปวดหัวอีกต่อไปค่ะ

สำหรับคุณพ่อคุณแม่ท่านไหนที่กำลังมีลูกอยู่ในวัยนี้ และเห็นว่าลูกมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป และไม่แน่ใจว่าลูกจะเข้าสู่ภาวะ Terrible Two หรือวัยทอง 2 ขวบ หรือเปล่า? ถ้าใช่…จะรับมืออย่างไรดี? สามารถติดตามเพิ่มเติมได้จากบทความนี้ค่ะ “ลูก 2 ขวบเอาแต่ใจ ใช่ “วัยทอง” หรือเปล่า?


วัยทอง 2 ขวบมีจริงมั้ย? มีพฤติกรรมร้ายแรงหรือไม่? ต้องไปพบคุณหมอหรือเปล่า? และจะมีวิธีรับมืออย่างไร? พบกับคำตอบได้ที่นี่เลยค่ะ

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP