รถหัดเดินช่วยได้จริงหรือ?

การเลี้ยงลูกวัย 1-3 ขวบ

เมื่อไม่นานมานี้ มีข่าวคราวเกี่ยวกับเด็กอายุเพียง 8 เดือนที่นั่งอยู่ในรถหัดเดินซึ่งรถหัดเดินไหลไปชนกับรั้วบ้าน แต่รั้วบ้านแต่รั้วบ้านไม่ได้ล็อคแล้วรถก็ไหลลงมาที่ถนน พอดีกับที่มีรถบรรทุกขับมาพอดี คนขับหักหลบแล้วแต่ไม่พ้น เนื่องจากเป็นซอยแคบ ทำให้ทับเด็กเสียชีวิตคุณแม่คว้าเอาไว้ไม่ทัน เหตุเพราะ…กำลังเล่นไลน์อยู่

แต่วันนี้โน้ตจะมาพูดในเรื่องของ “รถหัดเดิน” ค่ะ ซึ่งก็มีประเด็นกันมาเรื่อยๆ และเป็นพักๆ กับคำถามที่ว่า “รถหัดเดินช่วยให้เดินได้เร็วขึ้น…จริงหรือ?” พร้อมกันนี้ยังมีข้อมูลการช่วยลูกหัดเดินทิ้งท้ายไว้ให้อีกด้วยนะคะ เราไปไล่เรียงกันเลยดีกว่าค่ะ

สถิติงานวิจัยต่างประเทศ

จากเพจเฟสบุ๊กเลี้ยงลูกนอกบ้าน ของพญ. จิราภรณ์อรุณากูร หรือ หมอโอ๋ได้ระบุว่า นับตั้งแต่ปี 1990-2014 มีเด็กอเมริกันกว่า 230,000 ราย ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล และมีบางส่วนที่เสียชีวิตเนื่องจากการใช้รถหัดเดิน

ในขณะที่ประเทศแคนาดา ได้ออกกฎหมายยกเลิกการผลิตและห้ามโฆษณารถหัดเดินแล้ว

ความจริงเกี่ยวกับรถหัดเดิน

ด้วยความเข้าใจเกี่ยวกับรถหัดเดินที่มีมานาน ว่าจะสามารถช่วยให้ลูกเดินได้เร็ว แต่ความจริงแล้วผลที่ได้กลับตรงกันข้ามเลยค่ะ เพราะ “เด็กจะเดินอย่างผิดวิธี” คือ

ไม่ลงน้ำหนักเต็มเท้า

เพราะด้วยความเร็วของรถเวลาที่ลูกนั่งอยู่ในรถเค้าจะใช้เพียงปลายเท้าเท่านั้นที่แตะพื้น เท่านี้รถก็วิ่งแล้ว และทำให้ลูกไม่ได้เรียนรู้วิธีการรักษาสมดุลของร่างกาย เวลาที่ลูกต้องการให้รถเคลื่อนที่ ลูกจะพุ่งหัวไปก่อน ซึ่งถ้าเมื่อเวลาเดินจริง หากหัวพุ่งไปก่อน จะทำให้ลูกทรงตัวไม่ได้

ติดการเขย่งด้วยปลายเท้าแม้ไม่ได้อยู่ในรถ

ทำให้ลูกหัดเดินได้ช้ากว่าปกติข้อนี้ยืนยันได้ด้วยตัวเอง เพราะเมื่อก่อนก็ให้ลูกใช้เหมือนกันค่ะ แต่แค่ช่วงเวลาสั้นๆ เพราะเราสังเกตเห็นแล้วว่าเค้าชอบเดินเขย่งปลายเท้า ก็เลิกใช้เลย (ปล. ให้ลูกเดินเฉพาะในบ้านนะคะ ไม่เคยเอาไปใช้ข้างนอก)

อันตรายที่อาจเกิดจากรถหัดเดิน

ยกตัวอย่างอันตรายอันเกิดจากรถหัดเดิน สามารถเป็นไปได้ในหลายเหตุการณ์เลยค่ะ อาทิ หากลูกต้องการสิ่งของซักอย่างหนึ่งที่อยู่สูง แล้วเค้าต้องลุกขึ้นเพื่อเอื้อมไปหยิบ อาจทำให้รถพลิกคว่ำได้ หรือลูกชอบใจไถรถไปเร็ว แต่ไปเจอพื้นต่างระดับหรือสะดุด ก็อาจทำให้พลิกคว่ำได้เช่นกัน

หากหนักหน่อย ก็อาจจะเป็นอย่างเหตุการณ์ข้างต้นที่ได้กล่าวมา ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว “มีผู้ใหญ่อยู่…แต่คว้าไว้ไม่ทัน

ทางออกหากจำเป็นต้องใช้

สำหรับครอบครัวไหนที่ยังไม่ได้ซื้อ แนะนำว่าอย่าซื้อเลยค่ะ ยกเว้นซะแต่ว่าต้องการให้คุณแม่ได้พักการอุ้มหรือบางครอบครัวที่มีอยู่แล้ว หากจำเป็นต้องใช้จริงๆ ลองปรับการใช้มาเป็นแบบนี้ดูไหมค่ะ…

  1. ถอดล้อออก
    แล้วใช้เป็นเฉพาะที่นั่งพักแทน พักของลูก พัก (การอุ้ม) ของคุณแม่ด้วย บางครอบครัวมีคุณแม่คนเดียวที่ต้องอยู่บ้านเลี้ยงลูก จะให้อุ้มกันตลอดก็คงไม่ไหว
  2. จัด Playpen หรือ คอกกั้น ให้ลูกได้มีพื้นที่กว้าง และเคลื่อนไหวด้วยตัวเองได้อย่างอิสระซึ่งดูน่าจะปลอดภัยกว่า แต่ทั้งนี้ ก็ต้องจัดสถานที่ให้ปลอดภัย ไม่ให้รก ไม่มีสิ่งกีดขวาง หรือทางต่างระดับ
  3. ทำที่กั้นบันได หรือที่กั้นทางต่างระดับ เพื่อเป็นการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุค่ะ

การหัดเดินอย่างถูกต้อง

เด็กในวัย 9-15 เดือน จะเริ่มปล่อยมือและจะค่อยๆ ก้าวเดินอย่างจริงจัง ส่วนใหญ่แล้วลูกจะเดินได้อย่างมั่นคงก็อายุประมาณ 1 ขวบ 4 เดือน หรือมากกว่านั้น

เด็กๆ จะค่อยๆ เรียนรู้วิธีที่จะประคองตัวเองยืน ก้าวขา และเดิน เด็กอาจจะเดินช้าไปบ้าง คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องกังวลนะคะ ให้เค้าฝึกไปเรื่อยๆ โดยมีคุณพ่อคุณแม่คอยให้ความช่วยเหลืออยู่ข้างๆ ก็พอค่ะ การฝึกให้ลูกเดินคุณพ่อคุณแม่ควรจะ…

  1. ไม่เร่งรัด ควรให้ลูกได้หัดเดินอย่างค่อยเป็นค่อยไป
  2. ให้ลูกเดินเท้าเปล่าเพราะจะทำให้ลูกทรงตัวได้ง่ายกว่า และยังเป็นการบริหารกล้ามเนื้อเท้าและขา ที่สำคัญ การได้สัมผัสผิวที่แตกต่างจะเป็นการช่วยกระตุ้นให้ลูกอยากเดินมากขึ้น
  3. ของล่อใจ อาทิ ของเล่นชิ้นโปรด อาจถือของเล่นให้ห่างจากลูกซัก 2-3 ฟุต เพื่อช่วยกระตุ้นให้เค้าเดินมาหา

การฝึกให้ลูกเดินนั้น คุณพ่อคุณแม่มีส่วนสำคัญในการช่วยเค้าทั้งทางร่างกาย (ช่วยพยุง) และจิตใจ (ให้กำลังใจ) เพียงเท่านี้ก็เพียงพอแล้วค่ะ ที่สำคัญ ไม่ต้องไปเสียเงินซื้อรถหัดเดิน ก็เป็นการประหยัดได้อีกทางหนึ่งเลยนะคะ

อ้างอิง
เฟสบุ๊กคุณหมอ สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ
เฟสบุ๊ก เลี้ยงลูกนอกบ้าน

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP