วันนี้เราจะมาพูดถึงพฤติกรรมผิดปกติของลูกกันโดยจะมุ่งเน้นไปที่การแสดงออกของอารมณ์และพฤติกรรมต่างๆ ของเขาและก่อนอื่นเราก็ต้องมารู้กันก่อนว่าแล้วพฤติกรรมที่เรียกว่าผิดปกติที่ว่านั้นมันคืออาการแบบไหนบ้างเพื่อที่จะได้รู้ทันและหาแนวทางแก้ไขได้หากลูกของคุณกำลังเข้าข่าย
พฤติกรรมของลูกที่เข้าข่ายผิดปกติ
พฤติกรรมหลอกลวง
นี่คือสิ่งที่น่ากลัวพอสมควรถ้าเกิดขึ้นกับเด็กๆ ของคุณเพราะเขามักที่จะชอบโกหกซ้ำๆ และดูไม่มีทีท่าจะปรับปรุงหรือในบางครั้งยังชอบแอบขโมยของจากที่ต่างๆ อีกด้วย
พฤติกรรมรุนแรง
ความรุนแรงจากเขาสามารถเห็นได้อย่างชัดเจนว่าเกิดขึ้นด้วยความจงใจ ไม่ว่าจะเป็นการทำลายข้าวของด้วยวิธีการต่างๆ ไปจนถึงการชอบใช้ความรุนแรงกับผู้อื่นและตัวเอง
พฤติกรรมฝ่าฝืนกฎ
อะไรที่เรียกว่ากฎนั่นก็คือสิ่งที่เขาจะไม่ยอมทำไม่ว่าจะเป็นที่บ้าน ที่โรงเรียน หรือแต่ตามกฎหมายหรือกฎของสังคมเขาก็มักจะแหกกฎเหล่านั้นอยู่เสมอ
พฤติกรรมก้าวร้าว
ชอบลงไม้ลงมือเมื่อมีปัญหาไปจนถึงการใช้ถอยคำที่รุนแรงและไม่เหมาะสมกับทุกคนโดยไม่สนใจและไม่เกรงกลัวแต่อย่าใด
อารมณ์มักจะขึ้นๆ ลงๆ ง่ายมาก
หงุดหงิด โวยวายเมื่อสิ่งเหล่านั้นไม่เป็นดังใจ สามารถทำได้ทุกอย่างเพื่อให้ได้มาในสิ่งที่ต้องการ โทษคนอื่น และไม่เคยยอมทำตามคำขอของใคร
แล้วจะแก้ไขอย่างไรถ้าลูกดูเริ่มจะเข้าข่าย
การสิ่งอื่นสิ่งใดการที่พ่อแม่ยื่นมือเข้ามาช่วยลูกให้จัดการกับปัญหานี้คือสิ่งที่ดีที่สุดและเติมเต็มในสิ่งที่ขาดหายหรืออาจจะเป็นสาเหตุในการเกิดพฤติกรรมนี้กับเขาได้มากที่สุดจะสามารถทำอย่างไรได้บ้างมาดูกันเลย
ให้เวลาเขามากขึ้นเพิ่มความสนใจให้เขามากขึ้น
ในบางครั้งพฤติกรรมผิดปกติของเขาเหล่านั้นอาจจะเกิดมาจากการเรียกร้องความสนใจ อยากให้คุณมีเวลาให้เขาใส่ใจเขาให้มากขึ้น แต่ยังไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรดีจึงเลือกสิ่งเหล่านี้มาแสดงออกเพราะเชื่อว่าเป็นวิธีที่ทำให้คุณสนใจเขาอย่างรวดเร็วและแน่นอนว่าเขาไม่รู้ว่าถ้าทำมันไปเรื่อยๆ แล้วนั้นสุดท้ายมันจะกลายเป็นนิสัยติดตัวของเขาไปได้นั่นเอง
เป็นตัวอย่างพร้อมทั้งส่งเสริมนิสัยที่ดี
ไม่แน่ใจว่าก่อนหน้านี้คุณทั้งสองพลาดทำอะไรไม่ดีให้เขาเห็นหรือเปล่าแต่ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตามแก้ไขตอนนี้ยังทันเขายังเด็กยังสามารถซึมซับอะไรได้อีกเยอะเริ่มเป็นตัวอย่างที่ดีกันดีกว่าและถ้าเกิดเขามีนิสัยจุดไหนที่ดีหรือดีขึ้นก็อย่าลืมที่จะชื่นชมและส่งเสริมให้กำลังใจเขาเพื่อให้เขาทำสิ่งเหล่านั้นอย่างต่อเนื่อง
อ่อนโยนกับเขา
ทุกคนไม่ว่าวัยไหนก็ชอบความอ่อนโยนด้วยกันทั้งนั้นและที่สำคัญคุณควรจะอ่อนโยนกับเขาแม้แต่ในเวลาที่ต้องลงโทษเขา พยายามตัดความรุนแรงออกไปจากการลงโทษ นำเหตุผลและการคิดวิเคราะห์มากรอกให้ลูกแทนเพื่อให้เขาได้ฝึกตั้งแต่ยังเล็กจนสามารถนำไปปรับใช้และติดเป็นความคิดที่ดีไปจนโต
ช่วยลูกตั้งเป้าหมาย
การมีเป้าหมายในชีวิตและการทำสิ่งต่างๆ นั้นเป็นสิ่งที่สำคัญมากมันจะช่วยทั้งปลุกความคิดสร้างสรรค์และพลังด้านบวกของลูกออกมาได้เป็นอย่างดี หากเขามีพฤติกรรมผิดปกติคุณก็พยายามช่วยเขาตั้งเป้าหมายเอาไว้หากเขาเลิกพฤติกรรมเหล่านั้นได้ตามที่ตั้งไว้เขาจะได้รางวัลหรืออะรที่ดีต่อใจของเขาและทำให้เขารักการตั้งเป้าหมายและทำให้สำเร็จไปในตัวได้ด้วยนั่นเอง
ให้เขามีส่วนร่วมในการสื่อสาร
อยากสั่งสอนโดยที่ไม่รับฟังเขาเพราะนั่นคือการปิดกั้นและทำให้ลูกรู้สึกไม่ดี เวลาสอนคุณควรสอบถามความคิดเห็นเขาไปด้วย ให้เขามีโอกาสสอบถามและพูดในมุมมองของเขาออกมาบ้าง และหากมันยังไม่ถูกต้องคุณก็จะได้รู้ทันและช่วยเขาปรับแก้ไขได้ทัน และยังให้เขาได้ปลดปล่อยความคิดความเครียดไปพร้อมๆ กันอีกด้วย
มุ่งเน้นไปที่การรักษาและการบำบัด
แม้จะให้มุ่งเน้นไปที่การรักษาและการบำบัดก็จริงแต่อย่าทำให้ลูกรู้สึกป่วยให้การไปพบแพทย์เหมือนเป็นการไปพูดคุยให้เขาสบายใจและปลอดปล่อยตัวตนออกมาให้แพทย์ได้วิเคราะห์และช่วยรักษาและไม่เป็นการสร้างปมทำให้ลูกต้องรู้สึกว่าเขาคือเด็กผิดปกติ
สร้างความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว
สิ่งเหล่านี้ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกคนทุกฝ่ายเพื่อให้ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะแสดงความคิดเห็นและถูกรับฟังอย่างเท่าเทียม การสานความสัมพันธ์ถ้ามันเป็นไปอย่างถูกทางคุณจะสามารถเห็นได้ถึงพัฒนาการในการสื่อสารและการแสดงความคิดเห็นของลูกว่ามันเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ทั้งในเรื่องของความกล้าพูด กล้ายอมรับ รวมทั้งมีความมั่นใจเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย
ยิ้มเอาไว้เดี๋ยวอะไรก็ดี
นี่คือการสร้างสุขภาพจิตที่ดีให้กับตัวคุณพ่อคุณแม่เองและส่งผลไปถึงลูกด้วย มันคือการแสดงออกให้เขาเห็นได้ว่าคุณรักและพร้อมที่จะอยู่เคียงข้างเขาเสมอไม่ว่าเขาจะเป็นแบบไหนและอยู่ในสถานการณ์ใด มันมีส่วนช่วยทำให้พฤติกรรมที่ผิดปกติต่างๆ ของเขาค่อยๆ จางหายไปได้อย่างช้าๆ
การที่ลูกมีพฤติกรรมผิดปกติคุณพ่อคุณแม่อย่าเครียดและโทษแต่ตัวเองเพราะนั่นไม่ใช่แนวทางที่ดีที่จะสามารถช่วยอะไรลูกได้เลยแถมยังมีแต่ทำให้แย่ลงเพราะคนที่จะยื่นมือเข้าไปช่วยกลับมีแต่ความเครียดเอง มันสามารถส่งไปถึงลูกได้กลายเป็นมวลความอึดอัดในครอบครัวและยังเป็นเหมือนการส่งเสริมให้พฤติกรรมผิดๆ เข้ามาครอบงำลูกง่ายขึ้นอีกด้วย