ลูกแค่ซนปกติหรือจะสมาธิสั้นแยกได้อย่างไร?

การเลี้ยงลูกวัย 3-5 ขวบ
JESSIE MUM

คุณพ่อคุณแม่เคยตั้งข้อสังเกตกันไหมคะว่า

ลูกเรามีพฤติกรรมที่ซนแบบเด็กปกติหรือจะเป็นโรคสมาธิสั้น?” และ
จะแยกได้อย่างไรว่าลูกเราจะเป็นแบบไหน?

คือเคยมีกรณีค่ะ ที่คุณพ่อคุณแม่ไม่มั่นใจว่าลูกตัวเองซนปกติหรือสมาธิสั้น จึงพาลูกไปพบคุณหมอ ผลคือ ลูกซนปกติ ไม่ได้มีลักษณะที่เข้าข่ายว่าจะเป็นเด็กสมาธิสั้นแต่อย่างใด

วันนี้โน้ตมีข้อมูลเบื้องต้นดีๆ จะมาแชร์ให้คุณพ่อคุณแม่ได้ทราบกันค่ะว่าเด็กที่ซนปกติและเด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้นนั้น เค้าจะมีลักษณะหรือพฤติกรรมอย่างไร

เด็กที่ซนปกติ

โดยปกติแล้วเด็กในแต่ละวัยจะมีสมาธิที่ไม่เท่ากัน ตามนี้ค่ะ

  • เด็กเล็กในช่วงอายุไม่เกิน 1 ขวบ จะมีสมาธิได้ไม่เกิน 2-3 นาที
  • ช่วงอายุ 1-2 ขวบ จะมีสมาธิได้ประมาณ 3-5 นาที
  • ช่วงวัยอนุบาล จะมีสมาธิได้ประมาณ 5-15 นาที
  • ช่วงประถมตอนต้น จะเริ่มนานขึ้นเป็น 15-30 นาทีขึ้นไป

จากข้อมูลข้างต้น จะสังเกตได้อย่างหนึ่งค่ะว่า เด็กโตจะมีสมาธิมากกว่าเด็กเล็ก ดังนั้น จะเอาเด็กโตมาเปรียบเทียบกับเด็กเล็กไม่ได้ นอกจากจะไม่ได้ประโยชน์แล้ว ยิ่งเป็นการทำให้ตัวคุณพ่อคุณแม่กังวลไปด้วยนะคะ

มารู้จักกับโรคสมาธิสั้นกัน

โรคสมาธิสั้น หรือ attention-deficithyperactivitydisorder (ADHD) เรียกได้ว่าเป็นภาวะบกพร่องในการทำงานของสมอง ที่จะสามารถสังเกตได้จากพฤติกรรมที่แสดงออก 2 รูปแบบ ได้แก่

ขาดสมาธิที่จดจ่อ (Inattention)

เพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้น โน้ตจะยกตัวอย่างดังนี้ค่ะ

  • ไม่ตั้งใจฟังในสิ่งที่คู่สนทนาพูดด้วย หรืออาจจะฟังเป็นช่วงๆ แต่ก็จับใจความที่คู่สนทนาพูดไม่ได้
  • ไม่ชอบทำอะไรตามขั้นตอน มักจะทำแบบรวบรัด
  • ไม่ชอบจดจ่ออยู่กับกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งนานๆ
  • ไม่ชอบการเรียนรู้ที่ต้องใช้เวลานาน เช่น การอ่านนิทานยาวๆ หรือ อ่านหนังสือเรื่องยาว
  • ไม่ใส่ใจรายละเอียด ทำให้มองข้ามเรื่องสำคัญ ทำให้เกิดความผิดพลาดแบบซ้ำๆ
  • มักลืมอุปกรณ์เครื่องใช้หรือของจำเป็น เช่น ลืมดินสอ ยางลบ หรือหนังสือ เมื่อถึงโรงเรียนแล้ว
  • บริหารเวลาไม่เป็น เรียงลำดับความสำคัญก่อนและหลังไม่ได้
  • พยายามเลี่ยงและไม่ชอบงานที่ต้องใช้เวลาทำนานๆ เช่น การบ้านหรือการเขียนรายงาน
  • ไม่ชอบที่จะอยู่ในกฎระเบียบหรือคำสั่ง

อาการที่ไม่อยู่นิ่ง (Hyperactivity) และมีอาการหุนหันพลันแล่น (Impulsivity)

  • พูดไม่หยุด เห็นอะไรก็เอามาพูดได้ทุกเรื่อง
  • นั่งนิ่งๆ หรืออยู่กับที่นานๆ ไม่ได้ โดยเฉพาะเมื่อต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เงียบสงบ
  • เคลื่อนไหวเร็ว ตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา
  • ไม่ชอบการรอคอย เมื่อไหร่ที่ต้องให้รอ จะรู้สึกขัดใจและอึดอัด
  • มักจะลุกออกจากที่นั่งบ่อยๆ เช่น ออกนอกห้องเรียน เป็นต้น
  • กระสับกระส่าย จนสังเกตได้ว่ามีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมต่อสถานการณ์
  • ไม่สามารถทำงานอดิเรกหรือทำกิจกรรมแบบเงียบๆ คนเดียวได้
  • พูดสวนขึ้นมาในขณะที่คนอื่นยังพูดไม่จบ
  • พูดแทรกหรือมีพฤติกรรมที่รบกวนผู้อื่นในขณะที่กำลังทำกิจกรรมอยู่

อาการสมาธิสั้น…รักษาอย่างไร?

หากคุณพ่อคุณแม่พาลูกไปปรึกษาคุณหมอแล้ว พบว่าลูกมีอาการของโรคสมาธิสั้น ซึ่งคุณหมอก็จะมีคำแนะนำที่คุณพ่อคุณแม่ควรปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ดังนี้ค่ะ

  1. จัดตารางกิจกรรมประจำวันของลูกอย่างมีแบบแผน
  2. จัดบริเวณบ้านให้สงบ พยายามไม่ให้มีเสียงรบกวนในเวลาที่ลูกต้องทำการบ้าน
  3. แบ่งงานให้ลูกทำทีละน้อย อาจเป็นงานบ้านง่ายก็ได้ค่ะ แล้วคอยให้กำลังใจลูก
  4. การสั่งงานลูก ควรดูจังหวะที่เหมาะสม ดูว่าลูกพร้อมที่จะฟังหรือไม่
  5. ชื่นชมลูกทุกครั้งที่เค้าทำงานได้สำเร็จ แต่หากลูกนิ่งๆ เมินเฉยต่องาน ให้คุณพ่อคุณแม่ใจเย็นๆ ช่วยเค้าทำในบางช่วงสลับกับให้เค้าได้ลองเอง จนงานสำเร็จ
  6. เมื่อลูกเริ่มจะมีอาการอยู่ไม่นิ่ง ให้คุณพ่อคุณแม่เบี่ยงเบนความสนใจด้วยการหากิจกรรมอื่นทำแทน
  7. ใช้พลังการไม่อยู่นิ่งให้เป็นประโยชน์ เช่น ทำงานบ้าน เริ่มจากง่ายๆ ก่อน
  8. พ่อแม่เป็นตัวอย่างที่ดีให้ลูกก่อน เช่น มีวินัย รู้จักการรอคอย และการทำกิจกรรมที่ต้องอาศัยเวลานานๆ ลูกจะเห็นและทำตามค่ะ
  9. พูดคุยกับครูอยู่เสมอ เพื่อช่วยกันปรับพฤติกรรมลูกเมื่อลูกอยู่ที่โรงเรียนค่ะ

แต่ไม่ว่าลูกจะเป็นเด็กที่ซนปกติหรือจะเป็นโรคสมาธิสั้นก็ตาม สิ่งที่ลูกต้องการคือ “การมีคุณพ่อคุณแม่ที่เข้าใจ ให้กำลังใจ และคอยอยู่เคียงข้างเค้าไม่ว่าจะสุขหรือทุกข์” สิ่งนี้จะทำให้เค้าเติบโตมาเป็นเด็กดีและมีคุณภาพนะคะ

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP