ในการเลี้ยงเด็กก็อาจจะมีสิ่งที่อยากให้เด็กมีความรู้ติดตัวตั้งแต่ยังเล็กๆ เพราะเด็กยังเล็กอยู่จะไม่ค่อยเข้าใจได้ง่าย ไม่เอาความรู้มาใส่ตัว เลยอาจทำให้คุณหงุดหงิดได้ ดังนั้น จึงอยากจะแนะนำเทคนิคในการอบรมเด็กไม่ให้ตัวเองรู้สึกหงุดหงิด และจบด้วยการไม่ตวาดใส่เสียงดัง
สารบัญ
ไม่ใช่ “ต้องทำ” แต่เป็น “ทำเถอะนะ”
สำหรับเด็กยังไม่รู้จักกฎของสังคม ก็จะเลียนแบบจากคนรอบข้างเข้าตัวเองที่ละเล็กทีละน้อย แต่เราจะมีวิธีจัดการกับเด็กที่มีสภาพสมองกลวงอย่างไร
ก่อนอื่นที่ต้องจดจำคือ ลองเปลี่ยนหางท้ายคำจาก “ต้องทำ” เป็น “ทำเถอะนะ” ไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ตอนไหน หรือไม่ว่าจะเป็นผู้ใหญ่พอถูกสั่งว่า “ต้องทำ” เด็กก็จะเกิดความสับสนได้ ซึ่งในนั้นอาจจะมีเด็กเกิดปฏิกิริยาต่อต้านขึ้นมาได้ ถึงจะเป็นผู้ใหญ่แต่ถ้าอยู่ก็ถูกพูดมาว่า “ต้องทำ” ก็อาจจะไม่ชอบได้ไม่ใช่หรือคะ
เวลาที่อบรมลูก ก็ควรให้คำอธิบายให้เค้าเข้าใจ และสิ่งที่แนะนำให้ใช้คำว่า “ทำเถอะนะ” ก็เป็นสิ่งสำคัญ ถ้าเป็นอย่างนั้น เด็กก็อาจจะมีความรู้สึกว่ามีความเป็นอิสระ “ที่พยายามด้วยตัวเอง” แล้ว
ไม่ใช่ “อย่าทำนะ” แต่เป็น “ทำซะนะ”
พอยท์สำคัญในการอบรมเด็กก็คือการ “ไม่ปฏิเสธ” บางครั้งคุณก็อาจจะเผลอหงุดหงิดไปกับสิ่งที่เด็กทำ แล้วพูดไปว่า “อย่าทำนะ” สินะคะ แต่ เด็กจะเกิดอาการไม่ชอบแล้วเกิดการปฏิเสธได้ แล้วอาจจะไม่เชื่อฟังผู้ใหญ่อย่างง่ายดายก็ได้
ดังนั้น สิ่งสำคัญก็คือ ไม่ควรพูดว่า “ห้ามทำ” แต่หันมาพูดคำว่า “อยากให้ทำ” แล้วก็ บ่งบอกเรื่องที่อยากให้ทำ บางครั้งอาจจะยากเกินไปสำหรับเด็กเด็กก็อาจจะไม่คล่องและนึกภาพไม่ค่อยออก อย่างเช่น ถึงผู้ใหญ่จะพูดว่า “อย่าทานของด้วยมือสกปรกนะ” แต่เด็กก็อาจจะไม่เข้าใจว่าทำไมถึงทำไม่ได้ เราควรพูดให้เค้าเห็นภาพชัดเจนได้ง่ายขึ้นอย่าง “เพราะถ้าทานของด้วยมือสกปรกเข้าไป เชื้อโรคก็อาจจะเข้าไปด้วยกันได้ เพื่อไม่ให้ปวดท้องก็ทานด้วยมือที่สะอาดกันเถอะนะ”
ไม่ใช่ “ตำหนิในสิ่งที่เค้าไม่ทำ” แต่เป็น “ชมในเรื่องที่ทำ”
เวลาอบรมเด็กที่ทำบ่อยก็จะเป็น ตำหนิในสิ่งที่เค้าไม่ทำ แต่เป็นเพราะการตำหนิสิ่งนี้แหละที่ทำให้เด็กไม่ชอบขึ้นได้ ผลลัพท์
เพราะจะเกิดความรู้สึก “ถ้าไม่ถูกจับได้ก็ช่างเถอะ” ได้ง่ายและต่อไปจะผูกสัมพันธ์เข้าได้ยากด้วย
นอกจากนั้น การชม ก็อาจจะทำให้เด็กรู้สึกชอบ และก็ทำด้วยตัวเอง พอยท์สำคัญในการชมไม่ใช่แค่คำพูดว่า “เก่งจังเลยนะ” “สุดยอดเลยนะ” ควรบอกว่า “เป็นเพราะลูกช่วยแม่ได้เยอะเลย” “เก็บของได้สะอาดรู้สึกดีเยอะเลยนะ” ก็เป็นสิ่งสำคัญ ผลลัพท์จากการกระทำของเด็ก ถ้าได้สื่อต่อเด็กไปว่าจะเกิดผลดีอะไรบ้างก็จะเข้าถึงเด็กได้ง่ายขึ้นสินะคะ
ไม่ส่งเสียงดัง ใช้เสียงที่สงบที่สุดเท่าที่ทำได้
เวลาที่เด็กทำอะไรที่ไม่ค่อยราบรื่น คนส่วนใหญ่จะเผลอไปตำหนิเสียงดังสินะคะ ช่วงเวลานั้น พอยท์สำคัญก็คือการพูดด้วยเสียงที่สงบที่สุด
ถ้าพูดด้วยเสียงที่ต่ำเล็กน้อย และสนทนาไปพร้อมกับมองตาไปด้วย ก็จะทำให้เข้าถึงอารมณ์ได้ง่ายขึ้น นอกจากนั้น อย่างเช่นในสถานที่ช็อปปิ้งมอลล์ ควรหลีกเลี่ยงการตำหนิด้วยเสียงดังต่อเด็ก จะทำเกิดบาดแผลต่อศักดิ์ศรีในตัวเด็กเอง พวกเด็ก
จะคอยสังเกตุการกระทำของคนรอบข้าง ฉะนั้นเราซึ่งเป็นผุ้ใหญ่ก็ควรทำตัวให้มีมารยาทที่ดีให้เป็นตัวอย่างให้กับเด็ก ซึ่งก็เป็นพอยท์สำคัญในการอบรมเด็ก ในเวลาแบบนี้การตำหนิก็โอเครอยู่ แต่จะว่าไป การอบรมก็คือการสอนกฏ ในกรณีที่เป็นการกระทำที่อาจให้ก่อเกิดแก่อันตราย ก็คงจำเป็นต้องมีการตำหนิสินะครับ แล้วในกรณีใดบ้างที่สามารถที่จะตำหนิได้หล่ะคะ
อย่างในกรณีที่เล่นอันตราย อย่างเช่น การเล่นเป็นนินจา
ในกรณีที่เล่นอันตรายที่อาจถึงชีวิตได้ เราก็จำเป็นต้องมีการตำหนิ แต่ในกรณีแบบนี้ก็ต้องมีการอธิบายว่าทำไมถึงทำไม่ได้ด้วยก็สำคัญ อย่างเช่น ในตอนที่เด็กเอาแต่เล่นแล้วกระโดดไปตรงถนน แล้วสนแต่สิ่งที่ตนเองสนใจ ก็อาจจะไม่ทันสังเกตุเห็นถึงความอันตรายได้ ในกรณีแบบนี้ เราก็ควรตำหนิตรงนั้นเลยนะคะ
ตอนที่ตำหนิ ก็ต้องอธิบายไปด้วยว่าทำไมถึงทำไม่ได้ และจำเป็นต้องตำหนิณ “ที่นั้น” เลย ถึงเวลาจะผ่านไปแล้วค่อยมาตำหนิก็จะทำให้เด็กเข้าใจได้ยาก ว่ามันอันตรายขนาดไหน แล้วทำไมถึงทำไม่ได้ แล้วเด็กก็จะเหลืออิมเมจเพียงแต่ว่าโดนตำหนิเท่านั้น
ในกรณีที่ไม่รักษาสัญญาที่สำคัญ
การรักษาสัญญาเป็นสิ่งสำคัญก็จริงแต่ ในกรณีที่เด็กไม่เข้าใจถึงความสำคัญในเรื่องการรักษาสัญญา ถึงจะตำหนิในเรื่องการไม่รักษาสัญญาที่ไม่มีอะไรเป็นพิเศษ เด็กก็อาจจะไม่เข้าใจยอมรับได้ แล้วการรักษาสัญญาแบบไหนที่ผู้ปกครองสามารถตำหนิได้หล่ะ อย่างเช่น ในกรณีเวลาที่เล่นอันตรายที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บได้ แล้วก็ทำการสัญญาแล้วว่าจะไม่เล่นแบบนั้นอีก เพราะมันอันตรายหล่ะเป็นอย่างไร เด็กก็จะเข้าใจว่าเพราะมันอันตรายเป็นเหตุผลที่สำคัญ ก็จะทำการสัญญา แต่เพราะยังเป็นเด็กก็อาจจะมีบ้างที่แหกกฏ ดังนั้นผุ้ปกครองก็ควรตำหนิได้ว่า “ก็ไหนสัญญาไว้แล้วว่าเพราะมันอันตราย” แล้วเด็กจะคิดอย่างไรหรือคะ ก็คงคิดว่าถึงจะโดนด่าก็คงช่วยไม่ได้ ดังน้ันเวลาที่เค้าไม่รักษาสัญญาที่จำเป็นต้องรักษา ก็ควรจะตำหนิดีกว่า
แต่เพราะเป็นการอบรม ก็ไม่ควรที่จะตำหนิตลอดเวลาในกรณีที่ไม่รักษาสัญญาไม่ว่าเรื่องใดๆก็ตาม ผู้ปกครองก็ควรตัดสินเองว่าตอนไหนที่ควรตำหนิในเรื่องของกาสัญญา แน่นอนว่าการรักษาสัญญาก็สำคัญ แต่ในการกรณีที่เป็นการสัญญาที่ถึงจะต้องตำหนิ ก็ไม่ควรที่จะตำหนิ ควรพุดคุยกัน เอนกันจะดีกว่าหรือเปล่าคะ
การอบรมต้องมีความอดทนและเต็มไปด้วยความรัก
การอบรมก็ต้องมีทั้งความอดทนและพลัง ก็มีวิธีการที่เหมาะสมกับเด็กในแต่ละคนเช่นการชมเชยเยอะๆ การแก้เกมส์แบบนี้ก็อาจจะติดตัวไปกับเด็บโดยธรรมชาติ กับเด็กบางคนอย่างเช่นเด็กบางคนที่จะทำการฝึกฝนไปซะเท่าไหร่ ความเชื่อใจระหว่างผุ้ปกครองและเด็กไม่มี ก็จะไม่ราบรื่นก็เป็นไปได้ โดยปรกติ การยกยอความเป็นตัวเองของเด็ก และการสร้างความไว้วางใจอย่างเช่น “ให้เด็กทำสิ่งที่อยากทำ” “ชมสิ่งที่เด็กทำได้” นั่นก็อาจจะเป็นอบรมง่ายที่สุดก็เป็นได้