ความรุนแรงในครอบครัว ส่งผลต่อลูกน้อย ส่งต่อสู่สังคม

การเลี้ยงลูกวัย 3-5 ขวบ
JESSIE MUM

การจะเลี้ยงเด็กคนหนึ่งให้เติบโตมาในสังคมปัจจุบันได้อย่างมีความสุข ต้องอาศัยปัจจัยในการเลี้ยงดูหลายอย่างค่ะ โดยเฉพาะในเรื่องของความพร้อมของครอบครัว ความพร้อมที่ไม่ได้หมายถึงแค่ ความพร้อมในการมีลูก แต่ยังหมายรวมถึงความพร้อมทางด้านวุฒิภาวะของคุณพ่อคุณแม่อีกด้วย ซึ่งหากทั้งคู่ไม่มีความพร้อมในเรื่องนี้ อาจเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดความรุนแรงในครอบครัวได้

ความรุนแรงในครอบครัว คืออะไร?

ความรุนแรงในครอบครัว คือ การทำร้ายกันทั้งทางร่างกาย และจิตใจ อันเกิดจากคนในครอบครัว ซึ่งเกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น สภาพเศรษฐกิจ สังคม ติดการพนัน ติดสุรา หรือติดยาเสพติด เหล่านี้ล้วนเป็นการสร้างบาดแผลให้กับทั้งร่างกายและจิตใจของผู้ที่ถูกกระทำ

ทั้งนี้ความรุนแรงที่เกิดขึ้น หากเป็นร่างกายก็ยังพอที่จะรักษาให้หายได้ แต่บาดแผลทางจิตใจที่เกิดขึ้น ต้องใช้เวลาในการเยียวยาที่นาน บางรายไม่สามารถลบเลือนได้ และที่สำคัญคือ เขาจะฝังหัวติดตัวไปจนโต

ผลกระทบจาก ความรุนแรงในครอบครัว

เด็ก ๆ ที่มักถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัวนั้น จะส่งผลต่อเด็ก ๆ หรือลูก ๆ ดังนี้

เกิดความเครียดสะสม

โดยเฉพาะกับลูกที่เป็นเหยื่อเอง ทุกครั้งที่เขาถูกกระทำ เด็กจะเกิดความเครียดและความเครียดสะสม ซึ่งมีผลกระทบต่อจิตใจ เช่น การเห็นคุณพ่อคุณแม่ทะเลาะกัน หรือใช้กำลังทำร้ายกัน เหล่านี้จะกลายเป็นภาพจำของคำว่า “ครอบครัว” และส่งผลต่อมุมมองในระยะยาวของลูกได้

เกิดความหวาดกลัว

เด็กที่ถูกกระทำบ่อย ๆ จะเกิดความหวาดกลัว ความสับสน และการไม่มีความสุขที่จะใช้ชีวิตในครอบครัว ไม่รู้ว่าจะหาทางป้องกันตัวเองได้อย่างไร

โทษตัวเอง

หากเป็นเด็ก ๆ ที่อาศัยอยู่กับครอบครัวซึ่งไม่มีความพร้อม และมักจะเห็นคุณพ่อคุณแม่ทะเลาะ หรือทำร้ายร่างกายกันทุกวัน ก็จะกลายเป็นโทษตัวเอง ว่าตัวเองเป็นต้นเหตุ ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้อง

ร่างกายแปรปรวน

หากเด็กหรือผู้ที่ถูกกระทำเกิดความเครียดมาก ๆ อาจส่งผลต่อร่างกายได้ โดยจะเริ่มจากการเกิดความหดหู่ คลื่นไส้ ปวดหัว ปวดท้อง ร้องไห้อย่างหนัก เบื่ออาหาร ไม่อยากอาหาร นอนไม่หลับ บางร้ายถึงกับฝันร้ายเลยทีเดียว

ปลีกตัวออกจากสังคม

เป็นอาการที่เริ่มหนักขึ้น เนื่องจากเขาจะรู้สึกว่าเขาไม่เป็นที่ต้องการ เพราะต้องเห็นความรุนแรงหรือได้รับความรุนแรงของคุณพ่อคุณแม่ในทุก ๆ วัน เบื่อที่จะเจอกับปัญหาเหล่านี้ จึงรู้สึกว่าการปลีกตัวเอง การอยู่คนเดียวน่าจะดีที่สุด ไม่ต้องการพบใคร หรือเข้าสังคมกับใคร

ส่งต่อความรุนแรงให้สังคม

เมื่อเด็กเกิดความเครียดสะสมมาก ๆ เข้า เขาจะซึมซับเอาความรุนแรง และแนวความคิดเหล่านี้เข้ามาในหัว ซึ่งส่วนใหญ่การแสดงออกต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ ของกลุ่มเด็กเหล่านี้จะออกไปทางความรุนแรงเดียวกันกับที่เขาประสบมา ซึ่งมีทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว

สิ่งที่ควรทำเพื่อหยุดความรุนแรงในครอบครัว

ความรุนแรงในครอบครัว สามารถหยุดมันได้เสียตั้งแต่วันนี้ ดังนี้

เตรียมความพร้อม

ความพร้อมในที่นี้ ไม่ได้หมายถึง เรื่องการเงินอย่างเดียว แต่หมายถึงความพร้อมทางร่างกายและจิตใจ เนื่องการมีลูกในช่วงเวลาที่ไม่เหมาะสม ไม่มีการวางแผนมาก่อน จะก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ มากมายตามมา

รักลูก ควรแสดงออก

ความรักของคุณพ่อคุณแม่ที่มีต่อลูก ไม่ใช่การให้เพียงแต่เงินทอง รักลูก ควรแสดงออกให้ลูกรู้ว่ารัก ไม่ต้องเขินอายกันค่ะ การบอกรักลูก หรือการกอดลูก ไม่ใช่เรื่องน่าอาย แต่เป็นเรื่องที่น่าทำ ลองจินตนาการตามนะคะ หากวันหนึ่งเราต้องขาดใครสักคนไป ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม เราจะไปบอกรักเขาตอนนั้น เขาคงไม่รับรู้แล้ว เพราะฉะนั้น วันนี้ เรายังมีลูก มีคนที่เรารัก และรักเราอยู่ ให้บอกรักกันบ่อย ๆ ดีกว่าค่ะ

ไม่ควรใช้อารมณ์นำหน้า

เริ่มจากการสูดลดหายใจเข้าลึก ๆ หลาย ๆ รอบก่อน เพราะ “พฤติกรรม” จะก่อให้เป็น” นิสัย” ดังนั้น หากเราใช้อารมณ์นำบ่อย ๆ เราก็จะติดการใช้อารมณ์นำทาง แต่ถ้าหากเราตั้งสติ และใช้เหตุผลนำทาง เราก็จะกลายเป็นคนที่เลี้ยงลูกด้วยเหตุผลค่ะ

ไม่แปลกที่เราจะเห็นเด็กที่ใช้อารมณ์นำหน้า หรือชอบใช้กำลังในการตัดสินปัญหา สันนิษฐานเบื้องต้นได้เลยว่า เด็กซึมซับและเลียนแบบพฤติกรรมของผู้ใหญ่มา ซึ่งหากเด็กไม่ได้รับการแก้ไขด้วยความเข้าใจ และชี้นำได้ถูกทาง เขาก็จะส่งต่อพฤติกรรมเหล่านี้สู่คนอื่นและสังคมต่อไป ดังนั้น หากคุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องการเห็นภาพลูกในแบบนั้น วันนี้เราควรสำรวจตัวเอง และปรับพฤติกรรมที่ไม่ดีก่อนที่มันจะกลายเป็นนิสัยนะคะ

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP