สิ่งแปลกปลอมเข้าหูลูก รับมืออย่างไรดี?

การเลี้ยงลูกวัย 3-5 ขวบ
JESSIE MUM

เชื่อว่าคุณพ่อคุณแม่คงเคยได้เห็นข่าวกันมาบ้าง เกี่ยวกับเด็กที่มักเอาวัตถุหรือสิ่งของต่าง ๆ ใส่หูตัวเอง แล้วเกิดติดอยู่ในช่องหูเอาไม่ออก บางคนก็สามารถบอกคุณพ่อคุณแม่ได้เลย แต่ในเด็กบางคนอาจจะเล็กเกินกว่าที่จะสื่อสารกับคุณพ่อคุณแม่ให้รู้ได้ แล้วถ้าหากวันหนึ่งเรื่องนี้เกิดกับลูกของเราล่ะ จะทำอย่างไรดี? บางครั้งเรื่องบางเรื่อง อาจใกล้ตัวเรามากกว่าที่คิด เรื่องการปฐมพยาบาลในกรณีที่มีสิ่งแปลกปลอมเข้าหูลูกเป็นสิ่งจำเป็น และมีอะไรบ้างที่ต้องระวัง ไปติดตามกันค่ะ

สิ่งแปลกปลอมที่มักพบในหูเด็ก

สิ่งแปลกปลอมที่สามารถเข้าไปติดในหูของลูกมีหลายอย่างด้วยกัน ดังนี้

  • คอตตอนบัด
  • ก้อนกรวด
  • แบตเตอรี่แบบกระดุม
  • แมลง
  • เมล็ดพืช
  • ลูกปัด
  • เม็ดกระดุมเล็ก

อาการที่สังเกตได้ หากมีสิ่งแปลกปลอมเข้าหูลูก

เพราะเด็ก ๆ มักมีความอยากรู้ อยากลอง ซึ่งต้องบอกว่าบางครั้งอาจมีบ้างที่เล็ดลอดสายตาไป คุณพ่อคุณแม่หรือผู้เลี้ยงดูอาจไม่ได้อยู่กับเด็กตลอดแต่เด็กอาจเอาสิ่งแปลกปลอมเข้าหูแล้ว สามารถสังเกตอาการได้ดังนี้ค่ะ

  • ลูกบอกว่าปวดหู หรือเจ็บในหู โดยเฉพาะเวลาเคี้ยวข้าว บางรายอาจไม่สามารถเคี้ยวข้าวได้เลย
  • ลูกไม่ได้ยินในสิ่งที่คนรอบข้างพูด เรียกแล้วไม่มีการตอบสนอง
  • มีอาการหูน้ำหนวก
  • มีหนองหรือเลือดไหลออกจากหู
  • ในช่องหูมีอาการบวม หรือบวมแดง

วิธีการปฐมพยาบาล เมื่อมีสิ่งแปลกปลอมเข้าหู

เมื่อคุณพ่อคุณแม่มั่นใจว่ามีสิ่งแปลกปลอมเข้าหูลูกแล้ว ควรปฐมพยาบาลลูกดังนี้ค่ะ

  • อย่าใช้นิ้วหรือไม้แคะหูเด็ดขาด เพราะจะทำให้สิ่งแปลกปลอมยิ่งเข้าไปลึก
  • เอียงหูข้างที่มีสิ่งแปลกปลอมให้ต่ำลง แล้วกระตุกที่ใบหู สิ่งแปลกปลอมนั้นอาจเคลื่อนออกมาเอง และถ้าหากคุณพ่อคุณแม่เห็นวัตถุนั้นอย่างชัดเจน และมั่นใจได้ว่าพอจะเอาออกได้ ให้ใช้คีมถอนขนปลายแคบค่อย ๆ คีบออก ยกเว้นว่าวัตถุดังกล่าวมีลักษณะกลม ไม่ควรคีบออกค่ะ เพราะมันอาจจะทำให้วัตถุเคลื่อนกลับเข้าไปลึกกว่าเดิม
  • ห้ามใช้น้ำมันหรือน้ำหยอดหู เพราะบางวัตถุอาจมีการซับน้ำหรือน้ำมัน ก็จะส่งผลให้วัตถุมีการขยายขนาดที่ใหญ่ขึ้นได้
  • หากยังไม่สามารถนำเอาวัตถุออกมาจากหูได้ แนะนำปรึกษาแพทย์ค่ะ

การป้องกันสิ่งแปลกปลอมเข้าหูลูก

เพราะสิ่งแปลกปลอมมีทั้งสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต ซึ่งเราสามารถป้องกันไม่ให้สิ่งแปลกปลอมเข้าหูได้ดังนี้ค่ะ

  • ต้องใส่ใจในเรื่องการดูแลลูก พยายามอย่าให้ลูกคนเดียวนานเกินไป
  • ควรเก็บของเล่นชิ้นเล็ก ๆ ลูกปัด หรือกระดุมเล็กให้พ้นมือเด็ก
  • หากเป็นกรณีของสิ่งมีชีวิต ควรดูแลทำความสะอาดที่นอน รวมถึงเครื่องนอนต่าง ๆ ให้สะอาดอยู่เสมอ เพื่อป้องกันกันไรฝุ่น และแมลงต่าง ๆ
  • หากบ้านไหนเลี้ยงสัตว์ เช่น สุนัข ไม่ควรอุ้มพาดบ่า เพื่อป้องกันหมัดหรือเห็บเข้าหู
  • กรณีที่ไปกางเต็นท์ต่างจังหวัด ควรมีสำลีที่ใช้อุดหูอุดที่ช่องหูไว้ แต่ไม่ต้องแน่นมากนะคะ เพื่อป้องกันแมลงเข้าหู แต่เราก็ยังสามารถได้ยินเสียงอื่น ๆ ได้อยู่

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นหลังจากนำสิ่งแปลกปลอมออกแล้ว

ภาวะแทรกซ้อนนี้อาจเกิดได้หากสิ่งแปลกปลอมค้างอยู่ในหูเป็นระยะเวลานาน ซึ่งภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นมีดังนี้

  • หูหนวก หรือมีการได้ยินเสียงแบบอู้อี้
  • ช่องหูเกิดการอักเสบ หรือบวมแดง
  • หูติดเชื้อ เนื่องจากวัตถุที่เข้าไปมีขนาดเล็ก และอยู่มาแล้วเป็นเวลานาน
  • เกิดการฉีกขาดภายในหู เนื่องจากมีการเสียดสีกันระหว่างหูกับวัตถุ
  • เยื่อแก้วหูทะลุ
  • หูชั้นกลางเสียหาย หากร้ายแรงอาจส่งผลให้สูญเสียการได้ยินถาวร
  • ปวดตามข้อ หรืออาจะเป็นอัมพาตที่ใบหน้า

แม้ว่าคุณพ่อคุณแม่จะดูแลลูกเองก็ตาม แต่ก็มีงานบ้านที่ต้องทำจึงต้องให้ลูกเล่นของเล่นเองลำพัง แต่ถึงกระนั้นก็ตาม พยายามอย่าให้ลูกเล่นเองคนเดียวเป็นระยะเวลานานนะคะ โดยเฉพาะเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 3 ขวบ เพราะหากคุณพ่อคุณแม่ให้การปฐมพยาบาลไม่ทันหรือรู้ช้าเกินไป อาจส่งผลกระทบด้านลบกับลูกหลายด้านเลยทีเดียว หากรุนแรงอาจถึงขึ้นสูญเสียการได้ยินแบบถาวรเลยทีเดียว

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP