ทำไมเด็กถึงติดเกม? ประเด็นที่พ่อแม่ไม่เคยรู้มาก่อน

การเลี้ยงลูกวัย 3-5 ขวบ

ทุกคนคงปฏิเสธไม่ได้ว่าเรากำลังก้าวเข้าสู่ “ยุคดิจิทัล” เต็มตัว หลายสิ่งหลายอย่างเปลี่ยนไป อาทิ เรื่องของการการจับจ่ายใช้สอย จากที่เคยเป็น “สังคมเงินสด” กลับกลายเป็น “สังคมไร้เงินสด” ถึงแม้จะยังไม่ 100% แต่ก็ใกล้เข้ามาทุกที

“แล้วนับภาษาอะไรกับเด็กที่เกิดในยุคนี้ล่ะ?”

เราในฐานะคนที่เป็นพ่อแม่ผู้ปกครองจะวางแนวทางการสอนลูกอย่างไร? จะห้ามไม่ให้ลูกรู้จักเทคโนโลยีเหล่านี้ดีหรือจะให้รู้จักดี ใจหนึ่งก็ไม่กล้าเพราะกลัวลูกติด โดยเฉพาะเรื่องของเกม

จะว่าไปเรื่องที่เด็กติดเกม มีหลายๆ สำนักได้ออกมาพูดถึงเรื่องนี้กันเยอะมาก ถึงสาเหตุ แนวทางแก้ไข ตลอดจนวิธีการป้องกัน แต่วันนี้ สิ่งที่โน้ตจะนำมาแชร์ให้ฟัง มันเป็น…

“อีกหนึ่งสาเหตุที่ว่าทำไมเด็กถึงติดเกม ที่เชื่อว่าพ่อแม่หลายท่านคิดไม่ถึง”

จากอาจารย์ท่านหนึ่งที่ไม่ประสงค์จะออกนาม ท่านเป็นอาจารย์สอนอยู่คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น ท่านได้ให้มุมมองไว้ดังนี้ค่ะ

Youtube : ทำไมเด็กถึงติดเกม? ประเด็นที่พ่อแม่ไม่เคยรู้มาก่อน

ทำไมเด็กถึงติดเกม

สาเหตุโดยทั่วไป มี 3 ด้วยกัน

ครอบครัว

ครอบครัว

  • พ่อ แม่ หรือผู้ปกครอง ขาดระเบียบวินัยในการเลี้ยงดู ขาดกฎ กติกา และขาดการควบคุมอย่างเคร่งครัด
    ตามใจลูกมากเกินไป
  • มีปัญหาเรื่องความสัมพันธ์ในครอบครัวระหว่างลูกกับพ่อแม่ บางครั้งพ่อแม่ใช้อารมณ์กับลูก ไม่มีเวลาให้ลูก
  • ไม่เล่นหรือหากิจกรรมที่น่าสนใจให้ลูกทำ ลูกจะรู้สึกเหงา เบื่อ เด็กก็จะพยายามหากิจกรรมต่างๆ เพื่อให้ตัวเองสนุก

สิ่งแวดล้อม

สิ่งแวดล้อม

  • บางครั้งหากพ่อแม่ต้องการให้เด็กอยู่นิ่ง เพื่อที่ตัวเองจะได้สามารถทำงานอื่นๆ ได้ ก็จะเป็นผู้ที่หยิบยื่นเกมให้ลูกเสียเอง
  • มีการพูดคุยกันเรื่องเกมในกลุ่มเพื่อนที่โรงเรียน จึงทำให้เด็กเกิดความอยากรู้อยากลอง

ตัวเด็กเอง

ตัวเด็กเอง

เด็กประเภทไหนบ้างที่มีโอกาสติดเกม?

  • เด็กที่อยู่ในภาวะสมาธิสั้น
  • มีความอดทนน้อย หรือขาดความอดทนในบางราย อยากได้อะไรต้องเอาได้ดั่งใจ เดี๋ยวนั้น วินาทีนั้น
  • ขาดการควบคุมตนเอง ไม่รู้จักกับวิธีการจัดการอารมณ์ของตนเอง
  • มีปัญหาอาการซึมเศร้า หรือเครียด
  • เด็กที่ขาดการเคารพในตนเอง (Low Self Esteem)
  • เด็กเหล่านี้จะใช้เกมเข้ามาช่วยแก้ปัญหา เพราะเกมมีความสนุก มีสีสัน มีความท้าทาย

ซึ่งจุดนี้เองยังมีอีกมุมหนึ่งที่โน้ตจะพูดถึงนั่นก็คือ…เรื่องของความพยายาม
จุดหมายปลายทางในการเกมมันจะมีอยู่ 2 อย่างเท่านั้น คือ

เราชนะ กับ เราแพ้ (Game Over)

เราชนะ กับ เราแพ้

เมื่อเด็กเล่นชนะ เค้าก็จะดีใจ เพราะนั่นหมายถึงว่า เค้าจะผ่านไปด่านต่อไป ซึ่งในเกมจะมีการบอกเป้าหมายอย่างชัดเจนว่า Level นี้ต้องทำคะแนนให้ได้เท่าไหร่ เด็กก็จะรู้ได้ว่าเค้าต้อง “ใช้ความพยายาม” มากน้อยแค่ไหนถึงจะผ่านด่านนี้ได้
กลับกันหากเค้าแพ้หรือ Game Over เค้าก็จะต้องใช้ “ความพยายาม” มากขึ้น เพื่อให้ไปถึงเป้าหมายที่เกมกำหนด

ชีวิตจริง vs ชีวิตติดเกม

จากหัวข้อที่แล้วในเรื่องของ “ความพยายาม” เด็กที่ชนะในเกมได้เค้าจะเกิดความภาคภูมิใจในตัวเองว่าเค้าสามารถทำได้ตามเป้าที่เกมกำหนด

“แล้วในชีวิตจริงล่ะ?”
“มันเกิดอะไรขึ้นกับชีวิตจริงของเด็ก?”
“ทำไมเด็กถึงหันหน้าเข้าหาเกมมากกว่าครอบครัว?”

ในชีวิตจริงหากเด็กๆ ต้องการจะทำอะไรซักอย่าง หรือต้องการจะทำอะไรซักอย่างให้พ่อแม่ภูมิใจ ครั้งหรือสองครั้งแรกพอเด็กทำได้ พ่อแม่ชม หัวใจเด็กๆ ก็จะพองโต ดีใจ แต่มาครั้งหลังๆ เด็กๆ ทำแบบเดิม วิธีการเดิม กลับกลายเป็นโดนพ่อแม่ดุ

ถ้าเป็นแบบนี้ เด็กจะเกิดความสับสน ไปไม่ถูก ไม่รู้ว่าจะต้องจัดการกับเรื่องนี้อย่างไร ต้องใช้ “ความพยายาม” มากแค่ไหนถึงจะทำให้พ่อแม่ชมได้

เด็กจะเกิดความสับสน ไปไม่ถูก ไม่รู้ว่าจะต้องจัดการกับเรื่องนี้อย่างไร

“ในโลกของเกม เด็กยังรู้ว่าต้องใช้ความพยายามมากแค่ไหนถึงจะประสบความสำเร็จ
แต่ในชีวิตจริง เด็กที่โดนพ่อแม่ดุบ่อยๆ ดุบ้างชมบ้างในเรื่องเดิม
เค้าจะไม่มีทางรู้ได้เลยว่าต้องใช้ความพยายามอีกแค่ไหนถึงจะทำให้พ่อแม่ชมเค้า”

ชม vs ดุ ให้เหมือนกันทกครั้ง

ชม vs ดุ ให้เหมือนกันทกครั้ง

สิ่งสำคัญที่จะช่วยเสริมให้เด็กเคารพตัวเองหรือ Self Esteem ได้นั้น ต้องเริ่มที่พ่อแม่ก่อน เริ่มจากเรื่องเล็กๆ ง่ายๆ ก่อน เช่น ถ้าจะดุหรือจะชมลูกในเรื่องไหน ก็ควรให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันทึกครั้ง ไม่ใช่ว่าวันนี้ลูกทำเรื่องหนึ่ง พ่อแม่ชม พอมาอีกวัน ลูกก็ทำเรื่องเดิม แต่พ่อแม่กลับดุ เป็นต้น อย่างน้อยก็ไม่สร้างความสับสนให้กับลูก

รักลูก…ไม่อยากให้ลูกเห็นเกมดีกว่าครอบครัว เริ่มที่ตัวพ่อแม่ก่อนนะคะ

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP