คุณเป็นพ่อแม่ที่ให้ความช่วยเหลือลูกเร็วไปไหม

การเลี้ยงลูกวัย 3-5 ขวบ
JESSIE MUM

ครอบครัวหนึ่งกำลังจะออกไปเที่ยวกัน คุณพ่อคุณแม่ใส่รองเท้าเสร็จแล้ว เหลือลูกที่ดูแล้วยังใช้ความพยายามอยู่

ลูก

หนูใส่ไม่เข้า

แม่

(ยืนมอง)

ลูก

มันไม่ยอมเข้าอะ

(ในขณะที่มือก็ยังพยายามใส่รองเท้าอยู่)

แม่

“……………….”

ถ้าเป็นคุณพ่อคุณแม่จะเข้าไปช่วยลูกไหมคะ? หลายครอบครัวคงตอบว่า “ใช่” เพราะเห็นว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย แค่การช่วยลูกใส่รองเท้าเองไม่เป็นอะไรหรอก

พ่อแม่ให้ความช่วยเหลือลูกเร็วไปไหม?

จากตัวอย่างข้างต้นที่กล่าวมา หลายครอบครัว “Say yes” ในขณะที่อีกหลายครอบครัวอาจบอกว่า จะยังไม่เข้าไปช่วยทันที เพราะลูกไม่ได้บอกขอความช่วยเหลือกับคุณพ่อคุณแม่โดยตรง และที่สำคัญ คือ อยากให้ลูกได้ลองทำจนสุดความสามารถก่อน

การที่คุณพ่อคุณแม่เข้าช่วยเหลือลูกทันทีก็ไม่ใช่เรื่องผิดค่ะ แต่เป็นเพียงเพราะความปรารถนาดีต่อลูกเท่านั้น แต่ในหลาย ๆ ครั้งที่ลูกต้องเจอกับปัญหาต่าง ๆ หรือหากต้องเจอโจทย์ยากที่เข้ามาในชีวิต เขาจะแก้ไม่ตก ไม่รู้ว่าจะต้องทำอย่างไร ไม่รู้ว่าจะออกทางไหน ที่สำคัญ จะทำให้เด็กเสียโอกาสได้ในหลาย ๆ เรื่อง

ผลเสียที่พ่อแม่ช่วยเหลือลูกเร็วเกินไป

โอกาสที่จะได้เรียนรู้ขอบเขตความสามารถของตนเอง

หากคุณพ่อคุณแม่ยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือลูกเร็วเกินไป จะส่งผลให้ลูกไม่มีทางได้เรียนรู้เลยว่าเขาสามารถทำอะไรได้มากแค่ไหน เขาจะไม่รู้เลยว่าความสามารถของเขานั้นสุดแค่ไหน และที่สำคัญ ลูกก็จะไม่รู้เลยว่ามีอะไรอีกบ้างที่เขาต้องเรียนรู้และพัฒนาเพิ่มเติม

โอกาสที่จะได้คิดแก้ไขปัญหาด้วยตัวเอง

เหมือนกับการที่คุณพ่อคุณแม่เคี้ยวอาหารให้แล้ว ที่เหลือที่ลูกทำอย่างเดียวคือ กลืน ลูกจะไม่มีทางรู้ได้เลยว่า ถ้าเวลาที่กินปลาเข้าไป แล้วเจอก้าง จะคายออกอย่างไร สมองในส่วนของการคิดวิเคราะห์ก็จะไม่พัฒนาตามวัยอันควร

โอกาสที่จะได้สร้างความเชื่อมั่นด้วยตัวเอง

ความเชื่อมันในตัวเอง” จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อคุณพ่อคุณแม่ให้โอกาสลูกได้เรียนรู้ ฝึกแก้ไขปัญหา และตัดสินใจด้วยตัวเอง และเมื่อลูกตัดสินใจผิดพลาดไป คุณพ่อคุณแม่ก็ไม่ตำหนิ แต่จะสอนให้ลูกรู้ว่าจุดไหนควรปรับปรุง หากคุณพ่อคุณแม่ใช้องค์ประกอบเหล่านี้ในการเลี้ยงลูก ลูกก็จะเติบโตไปเป็นผู้ใหญ่ที่มีความมั่นใจในตัวเองได้

โอกาสที่จะได้ทดลองทำสิ่งใหม่ ๆ

การที่คุณพ่อคุณแม่ปล่อยให้ลูกได้ลองทำอะไรด้วยตัวเอง หากเรื่องนั้นไม่ได้เป็นอันตรายมากเกินไป ก็จะเป็นการเปิดโอกาสให้ลูกได้เรียนรู้อะไรใหม่ ๆ ซึ่งการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ นี้จะทำให้ลูกมีพัฒนาการด้านการเรียนรู้ การคิดวิเคราะห์ การเชื่อมโยงข้อมูล รวมถึงประมวลผลที่ดีได้ในอนาคตนะคะ

สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรทำ

การให้ความช่วยเหลือลูกนั้น คุณพ่อคุณแม่ยังสามารถทำได้อยู่ค่ะ เมื่อเห็นว่า

  • ลูกเริ่มหงุดหงิดหรือเริ่มโมโห แต่การให้ความช่วยเหลือนั้น ต้องเป็นไปในลักษณะของ “การสอน” ไม่ใช่ “การทำแทน” หรือ “ทำให้
  • ไม่ต้องเร่งรัด หรือกดดันลูก
    เช่น “อ้าว…ทำไมนานจัง แค่ใส่รองเท้าแค่เนี้ย” ถามว่าถ้าเป็นลูก ลูกจะทำยังไงคะ ก็คงบอกว่า “แม่ช่วยหนูหน่อย” สุดท้ายก็กลับมาที่เดิมคือ ต้องให้คุณพ่อคุณแม่ช่วย และลูกก็จะไม่สามารถรู้ขอบเขตของตัวเอง และไม่สามารถแก้ไขปัญหาเองได้
  • ไม่เอาลูกไปเปรียบเทียบกับใคร
    ข้อนี้เป็นอะไรที่ทำให้ลูกเสียใจมากที่สุด บั่นทอนกำลังใจลูกได้มากที่สุด ทำให้ลูกไม่เห็นคุณค่าของตัวเองได้มากที่สุด และอีกหลาย ๆ ที่สุดของที่สุด

การที่ไม่เข้าไปช่วยเหลือลูกเร็วเกินไป ถ้าจากสายตาคนอื่นอาจมองว่า “ทำไมเป็นพ่อแม่ที่ใจร้ายจัง ไม่ช่วยลูกเลย” แต่…อยากให้คุณพ่อคุณแม่มั่นใจในการเลี้ยงลูกของตัวเองค่ะว่า “ความจริงเราได้ช่วยเขาแล้ว ช่วยให้เขายืนได้ด้วยขาของตัวเอง เขาอาจยืนได้แล้วล้มลงบ้างก็ไม่เป็นไร เราพร้อมที่จะให้กำลังใจและเดินไปด้วยกัน”

อ้างอิง
เมริษา ยอดมลฑป (นักจิตวิทยา)

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP