พันธุกรรมหรือจะสำคัญเท่าการเลี้ยงดูของพ่อแม่ที่สามารถกำหนดบุคลิกได้

การเลี้ยงลูกวัย 3-5 ขวบ
JESSIE MUM

นิสัยเหมือนพ่อแม่มันไม่มีผิด” คุ้นหูกับประโยคนี้บ้างไหมคะ? โน้ตเชื่อว่าหลาย ๆ คนคิดว่าในเมื่อลูกเป็นลูกที่เกิดจากเราและสามีเรา เพราะฉะนั้นลูกก็น่าจะต้องมีนิสัยหรือมีบุคลิกคล้ายกับเรา ถูกค่ะ แต่อาจไม่ใช่ทั้งหมด เพราะบุคลิกลูก…คุณพ่อคุณแม่สามารถกำหนดให้ลูกได้ด้วยการ “เอาใจใส่” โดยไม่ต้องพึ่งพาพันธุกรรม

ธรรมชาติของทารก

จอห์น โบวล์บี (John Bowlby) นักจิตวิทยาและจิตวิเคราะห์ ได้อธิบายเรื่อง “ทฤษฎีความผูกพัน (Attachment Theory)” ซึ่งเป็นทฤษฎีของเขาเองว่า เนื่องจากทารกยังไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องพึ่งพาใครซักคนที่จะสามารถมอบความรัก ความอบอุ่น และความเอาใจใส่ให้กับตัวเขาได้ เพราะฉะนั้น คุณพ่อคุณแม่ คือ ด่านแรกที่ทารกจะนึกถึง ต่อมาจึงเป็นญาติพี่น้อง ทั้งนี้ก็เพื่อให้ตัวเองได้มีความรู้สึกที่ปลอดภัยหรือจะเรียกอีกอย่างว่ามี “ฐานที่มั่น (Secure Base)” นั่นเองค่ะ

ผลการวิจัยและทดลองเรื่องการเลี้ยงดูสำคัญมากกว่าพันธุกรรม

นักวิจัยสัตว์คนหนึ่งได้ทดลองนำลิงสายพันธุ์ rhesus ซึ่งเป็นลิงที่มีความใกล้เคียงกับมนุษย์มากที่สุดสายพันธุ์หนึ่ง มาทำการทดลอง โดยให้ลิงตัวหนึ่งซึ่งถูกเลี้ยงดูมาแบบขาดแม่ นำมาเลี้ยงโดยให้มีแม่ลิงตัวใหม่มาเลี้ยงดูลิงตัวนี้แทน พบว่าพฤติกรรมด้านลบของลิงตัวนี้สงบลง และลิงมีพฤติกรรมที่ดีขึ้น แต่เมื่อแยกแม่ลิงออกมาอีกครั้ง ลิงตัวนี้ก็กลับไปมีพฤติกรรมด้านลบเหมือนเดิม ปฏิกิริยาทางเคมีของสารสื่อประสาทมีการเปลี่ยนแปลง สุดท้ายลิงตัวนี้มีความผิดปกติทางอารมณ์และไม่สามารถเข้าสังคมได้

ลักษณะความผูกพันที่เป็นผลมาจากการเลี้ยงดู

อย่างที่หลาย ๆ คนรู้กันดีค่ะว่า เด็กจะมีการเรียนรู้ได้ทุกวัน นั่นคือ ธรรมชาติของสมอง เพราะสมองจำเป็นต้องมีการเรียนรู้เพื่อเติบโตและปรับตัวอยู่เสมอ การเลี้ยงลูกให้เกิดความผูกพันจึงเป็นอีกตัวแปรหนึ่งของพัฒนาการ ด้วยเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้นคือ “ทารกจำเป็นต้องมีความรู้สึกที่มั่นคงและปลอดภัย” เพื่อเตรียมพร้อมเผชิญกับโลกกว้าง

ความผูกพันแบบมั่นคง (Secure)

การเลี้ยงดูที่ได้รับ : ได้รับการเอาใจใส่ ตอบสนองความรู้สึกได้อย่างถูกต้องและเข้าใจ ถูกจังหวะ และต่อเนื่อง

ความผูกพันแบบห่างเหิน (Avoidant)

การเลี้ยงดูที่ได้รับ : ลูกถูกเลี้ยงดูแบบทิ้ง ๆ ขว้าง ๆ อยากทำอะไรก็ไป อยากร้องก็ร้องไป ร้องเองได้ก็หยุดเองได้ประมาณนั้น ไม่ได้ใส่ใจอารมณ์หรือความรู้สึกลูก ตลอดจนถูกเมินเฉยต่อความต้องการหรือการเรียนกร้องของลูก

ความผูกพันแบบครึ่ง ๆ กลาง ๆ (Ambivalent)

การเลี้ยงดูที่ได้รับ : เป็นการเลี้ยงดูแบบใส่ใจบ้าง ละเลยบ้าง เอาแน่เอานอนไม่ได้ หรือก็มีการตอบสนองเหมือนกัน แต่ไม่ต่อเนื่อง และไม่ถูกต้องตามที่ต้องการ

ความผูกพันแบบสับสน (Disorganized)

การเลี้ยงดูที่ได้รับ : เลี้ยงดูแบบใช้อารมณ์ มีความเกรี้ยวกราด ความรุนแรง มักขู่ให้ลูกกลังเพื่อเลิกหรือหยุดพฤติกรรมที่ลูกกำลังทำอยู่

เมื่อเติบโตเด็กจะมีลักษณะอย่างไร

ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการเด็กแห่งมหาวิทยาลัยมินเนโซตา ได้ทำการศึกษาถึงผลกระทบระยะยาวว่าเด็กเมื่อเติบโตขึ้นจากการเลี้ยงดูในรูปแบบต่าง ๆ จะมีลักษณะเป็นอย่างไร

  • เด็กที่มีความผูกพันแบบมั่นคง : เมื่อโตขึ้น เขาจะมีความเป็นผู้นำสูง
  • เด็กที่มีความผูกพันแบบไม่มั่นคง – แบบห่างเหิน : เพื่อนที่โรงเรียนไม่อยากคบหาด้วย
  • เด็กที่มีความผูกพันแบบไม่มั่นคง – แบบครึ่ง ๆ กลาง ๆ : โตขึ้นจะเป็นคนที่ลังเล วิตกกังวล ไม่มั่นใจ และขาดความเด็ดเดี่ยว
  • เด็กที่มีความผูกพันแบบไม่มั่นคง – แบบสับสน : ไม่รู้จักการควบคุมอารมณ์ เข้ากับคนอื่นไม่ได้

หากเด็กได้รับการดูแลเอาใจใส่ และได้รับการตอบสนองอย่างถูกต้องจากคุณพ่อคุณแม่หรือผู้เลี้ยงดู เขาจึงจะมีความผูกพันอันดีและเป็นรากฐานสำคัญสู่พัฒนาการในด้านต่าง ๆ ค่ะ ไม่ว่าจะเป็นด้านสังคม หรือด้านอารมณ์ เด็กจะสามารถรับมือความความเครียดและอารมณ์ได้อย่างเหมาะสม มีความเข้าใจและยอมรับตนเอง ตลอดจนสามารถส่งต่อสัมพันธภาพที่ดีนี้กับคนอื่น ๆ ได้ในอนาคตนะคะ

อ้างอิง
Thepotential.org

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP