ลูกนอนละเมอบ่อย อันตรายไหม ผิดปกติหรือเปล่า

การเลี้ยงลูกวัย 3-5 ขวบ
JESSIE MUM

การนอนหลับพักผ่อนเป็นเรื่องที่จำเป็นต่อร่างกาย การได้นอนหลับสนิทได้ตลอดคืนเป็นอะไรที่หลายคนต้องการ แต่สำหรับเด็กในบางราย พอเริ่มจะหลับลึกได้ แต่จู่ ๆ ก็นอนละเมอขึ้นมาซะอย่างนั้น ในบางรายเป็นบ่อยจนคุณพ่อคุณแม่กังวลไม่แน่ใจว่าจะอันตรายไหม จะผิดปกติหรือเปล่า และคุณพ่อคุณแม่เจอจะป้องกันลูกอย่างไรดี

ลูกนอนละเมอ

เป็นที่รู้กันดีนะคะว่าการนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอเป็นเรื่องสำคัญต่อร่างกาย แต่กลับกันหากร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอโดยเฉพาะกับเด็ก ๆ จะส่งผลเสียตามมาในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นสุขภาพกายและใจ ไม่พร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ

อาการนอนละเมอ

ละเมอพูด

ข้อนี้พบได้มากที่สุดประมาณร้อยละ 50 ของเด็กที่มีอายุระหว่าง 3 – 13 ปี และมักจะเกิดร่วมกับละเมอเดินและละเมอร้อง เช่น ทำเสียงพึมพำในลำคอ บางคนก็พูดเป็นเรื่องเป็นราว บางคนก็พูดไม่รู้เรื่องจับใจความไม่ได้ ซึ่งซักพักก็จะหยุดเองค่ะ แบบนี้ไม่อันตราย

ละเมอร้อง

อาทิ ละเมอร้องไห้ หวีดร้อง หรือบางครั้งอาจหัวเราะ ซึ่งก็จะใช้เวลาไม่กี่นาที แล้วก็จะหยุดเองค่ะ

ละเมอเดิน

อาการนี้จะเกิดกับเด็กที่โตขึ้นมาหน่อย บางรายเด็กอาจละเมอเดินไปทั่วห้อง บางรายเด็กเดินละเมอออกไปนอกห้อง หรือนอกบ้านโดยที่เด็กก็ไม่รู้สึกตัว บางรายก็ปีนหน้าต่าง เดินเปิดตู้เย็น ตู้เสื้อผ้า หรือบางรายอาจเล่นของมีคม ซึ่งแบบนี้น่ากลัวมากและเป็นอันตรายเลยทีเดียว

สาเหตุที่ทำให้ลูกนอนละเมอ

การนอนละเมอส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นอันตราย ยกเว้นว่าลูกจะละเมอบ่อยและละเมอในแบบนี้จะเป็นอันตราย ซึ่งสาเหตุของการละเมอมีทั้งที่เกิดจากสิ่งเร้าทั้งภายในและภายนอกร่างกายของเด็ก

  • ภาวะการเจ็บป่วยของร่างกาย : ภาวะการอุดกั้นของทางเดินหายใจขณะหลับ และการทานยาบางชนิด เช่น ยาที่มีฤทธิ์กระตุ้นประสาท การอดหลับอดนอน
  • ภาวะที่ถูกกระตุ้นเมื่อมากเกินไปในช่วงกลางวัน : ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความเครียด ความวิตกกังวล เล่นกับลูกด้วยกิจกรรมที่น่าตื่นเต้นหวาดเสียว
  • พันธุกรรม : ทางครอบครัวมีประวัติเคยนอนละเมอ (เดินละเมอ)

การดูแลและการป้องกัน

ควบคุมสติของคุณพ่อคุณแม่ก่อน

ก่อนอื่นคุณพ่อคุณแม่ต้องตั้งสติก่อน ค่ะ อย่าตกใจ เพราะลูกจะแสดงอาการเพียงชั่วเวลาสั้น ๆ และถ้าไม่มีอาการอื่นร่วมด้วยก็ไม่เป็นอันตราย (ยกเว้นว่าลูกละเมอเดิน คุณพ่อคุณแม่ต้องอาจตามดูกันซักหน่อย) ให้คุณพ่อคุณแม่พยายามปลุกลูกให้ตื่น ทำให้เขารู้สึกตัวก่อน แล้วค่อยเข้าไปปลอบลูก กอดลูก เพื่อลูกจะได้รู้สึกอบอุ่นและปลอดภัยค่ะ

ไม่กระตุ้นลูกมากเกินไปในเวลากลางวัน

คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรเล่นกับลูกในแบบที่กระตุ้นลูกมากเกินไปในช่วงเขาตื่น ควรงดกิจกรรมที่ตื่นเต้น หวาดเสียว หรือการเล่นที่รุนแรง เพราะลูกจะตกใจจนเก็บเอาไปฝัน และละเมอได้

นวดผ่อนคลายตามตัวให้ลูก

ให้คุณพ่อคุณแม่นวดผ่อนคลายตามร่างกายลูก เพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อได้ผ่อนคลายมากขึ้น
แบบนี้ก็จะช่วยลดอาการตึงเครียดให้ลูกได้ค่ะ

หากิจกรรมเบา ๆ ทดแทน

คุณพ่อคุณแม่ลองมองหากิจกรรมเบา ๆ สร้างสรรค์ และเหมาะกับวัยให้ลูกได้เล่นดูนะคะ อาทิ การเล่านิทาน การวาดภาพระบายสี หรือฟังเพลงที่มีท่วงทำนองผ่อนคลาย สบาย ๆ ดูค่ะ

จัดบรรยากาศห้องนอนให้เหมาะสม

เช่น เงียบสงัด มีแสงไฟสลัว ๆ อากาศถ่ายเทได้ดี เหล่านี้ก็จะช่วยให้ลูกรู้สึกผ่อนคลาย หลับสนิท และหลับได้ตลอดคืนมากขึ้นค่ะ

ลดการนอนกลางวัน

เพื่อให้ลูกได้รู้สึกอ่อนเพลียในเวลากลางคืน แบบนี้ก็จะทำให้ลูกได้หลับลึก และหลับได้นานขึ้น แต่หากลูกนอนกลางวันหรือบางคนอาจนอนมากเกินไป ก็จะส่งผลให้กลางคืนไม่ยอมได้ หรือบางรายก็ตื่นกลางดึก ซึ่งกว่าจะหลับอีกครั้งก็ใช้เวลานานทีเดียว

พาลูกไปปรึกษาคุณหมอหากพบว่ามีอาการอื่นร่วมด้วย

ให้คุณพ่อคุณแม่สังเกตอาการละเมอของลูกนะคะ ว่าลูกละเมอแต่ละครั้งนานกี่นาที และมีอาการอื่นร่วมด้วยหรือไม่ เช่น การชักกระตุก หากมีอาการนี้หรืออาการอื่น ๆ ร่วมด้วย แนะนำให้คุณพ่อคุณแม่พาลูกไปพบคุณหมอ เพื่อการวินิจและการรักษาที่ถูกต้องนะคะ

การนอนละเมอของลูกแม้ว่าอาจจะไม่ใช่ปัญหาร้ายแรงในบางประเภท แต่ถ้าเกิดบ่อย และติดต่อกันเป็นเวลานาน และบางรายยังละเมอแบบเสี่ยงอันตราย หากเป็นเช่นนี้ คุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกไปปรึกษาคุณหมอนะคะ เพราะหากปล่อยทิ้งไว้ จะกระทบต่อพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของลูกได้ค่ะ

อ้างอิง
Motherandchild.in.th
Mearakluke.com
Mahidol.ac.th

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP