วิธีแก้ไขลูกอารมณ์ร้อน อารมณ์ร้าย

การเลี้ยงลูกวัย 3-5 ขวบ

คุณพ่อคุณแม่หลายคนคงปวดหัวและเหนื่อยใจ ถ้าลูกมีนิสัยอารมณ์ร้อน อารมณ์ร้าย โวยวายทุกครั้งที่ไม่ได้ดั่งใจหรือมีใครขัดใจ วันนี้โน้ตจะชวนคุณพ่อคุณแม่มามาทำความเข้าใจลูกก่อนที่จะไปในเรื่องของการแก้ไขกันนะคะ

สาเหตุที่ทำให้ลูกอารมณ์ร้อน อารมณ์ร้าย

ก่อนที่เราจะไปเรื่องการแก้ไข โน้ตอยากให้คุณพ่อคุณแม่ทำความเข้าใจถึงสาเหตุก่อนนะคะ เพราะสิ่งนี้จะทำให้คุณพ่อคุณแม่เข้าใจลูกและแก้ปัญหาได้ถูกจุด

ข้อจำกัดเรื่องภาษา

ไม่ว่าจะเป็นวัยทารกหรือเด็กเล็ก เขายังมีข้อจำกัดในเรื่องของภาษา เพราะคลังคำศัพท์หัวยังมีน้อย อยากจะสื่อสารบอกคุณพ่อคุณแม่แต่ก็ไม่รู้ว่าจะพูดอย่างไรให้คุณพ่อคุณแม่เข้าใจ หากเป็นทารกจึงอาศัยการร้องไห้อย่างเดียว ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ลูกหงุดหงิดได้

ตอบสนองไม่ตรงจุด

เหตุเพราะข้อจำกัดเรื่องภาษาไม่ว่าจะเป็นเด็กวัยทารกหรือเด็กเล็ก เมื่อเขาสื่อสารออกมาได้ยังไม่ตรงกับที่ใจตัวเองต้องการ คุณพ่อคุณแม่ก็พยายามตอบสนองลูก แต่สิ่งที่ตอบสนองก็ดูเหมือนจะไม่ใช่สิ่งที่ลูกต้องการ ก็ยิ่งกลายเป็นทำให้ลูกยิ่งหงุดหงิดขึ้นอีก

อยากทำบางอย่างแต่ยังทำไม่ได้

อาทิ ลูกอยากผูกเชือกรองเท้าเอง หรือติดกระดุมเสื้อเอง แต่ทำไม่ได้ก็เกิดอารมณ์หงุดหงิด เหตุเพราะความมุ่งมั่นของลูกนั่นเองค่ะ

ต้องการการยอมรับ ต้องการเป็นหนึ่ง

เด็กในวัยนี้ (3-5 ขวบ) เป็นวัยที่ต้องการความรัก ต้องการเป็นหนึ่งเดียว เพราะฉะนั้นเด็กบางคนหากรู้ว่าตัวเองจะมีน้อง เขาก็จะคิดว่าพ่อแม่จะรักเขาน้อยลง เขาจะไม่ได้เป็นคนสำคัญเพียงคนเดียวอีกต่อไป จึงแสดงอาการหึงหวง ไม่พอใจ หรือแสดงอาการหงุดหงิดออกมา

มีความไม่สบายตัว

โดยเฉพาะทารกที่ยังต้องใช้ผ้าอ้อมสำเร็จรูป ไม่ว่าจะเนื่องด้วยสภาพอากาศ ง่วงนอน หรือความอับชื้น ก็ทำให้ทารกหงุดหงิดได้เช่นกัน

วิธีแก้ไขลูกอารมณ์ร้อน อารมณ์ร้าย

ต้องบอกว่ามีหลาย ๆ ครอบครัวที่เผลอตอบสนองลูกในขณะที่กรีดร้องโวยวาย เพื่อตัดรำคาญ แต่สิ่งนี้จะทำให้ลูกยิ่งเคยตัว เขาจะเรียนรู้ว่า “ถ้าเขาทำแบบนี้ พ่อแม่จะตอบสนองเขาเร็วกว่าเดิม และเขาจะได้ในสิ่งที่เขาต้องการ” แต่วันนี้เราไปดูกันดีกว่าค่ะ วิธีที่ถูกต้องนั้นควรทำอย่างไร

พ่อแม่ตั้งสติก่อน

ก่อนอื่นเริ่มที่ตัวคุณพ่อคุณแม่ก่อนค่ะ ให้คุณพ่อคุณแม่ตั้งสติ สูดลมหายใจเข้าออกลึก ๆ เลย เพราะถ้าคุณพ่อคุณแม่เผลออารมณ์โมโหไปตามลูก จะกลายเป็นภาพจำของลูกว่าคุณพ่อคุณแม่ยังโมโหเลย และลูกก็จะไม่ควบคุมอารมณ์อย่างที่คุณพ่อคุณแม่ต้องการ

ควบคุมลูกด้วยทีท่าที่นิ่งสงบ

เมื่อคุณพ่อคุณแม่ควบคุมอารมณ์ตัวเองได้แล้ว ทีนี้ก็เป็นคราวของลูกบ้าง ให้คุณพ่อคุณแม่บอกลูกให้หยุดพฤติกรรมที่ทำอยู่ ด้วยทีท่าที่สงบ เข้มแข็ง มั่นคง และน้ำเสียงที่ราบเรียบนะคะ ไม่จำเป็นต้องเสียงดังใส่ลูก หรือตะเบ็งแข่งกับลูกนะคะ

เข้าห้ามพฤติกรรมนั้นทันที

ถ้าคุณพ่อคุณแม่พูดแล้ว ลูกยังไม่หยุดพฤติกรรมนั้น ก็จะเป็นที่จะต้องเข้าไปควบคุมพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์นั้นทันที เช่น หากลูกกำลังหยิบของขว้างปาอยู่ ให้คุณพ่อคุณแม่จับแขนลูกให้หยุด แล้วพูดให้ลูกสงบลง

ให้ลูกได้สงบสติอารมณ์

สำหรับบางครอบครัวอาจใช้วิธีให้ลูกนั่งหันหน้าเข้ามุมใดมุมหนึ่งของห้อง (Time-out) แต่สำหรับบางครอบครัวอาจใช้วิธีให้ลูกนั่งสงบสติอารมณ์อยู่ใกล้ ๆ เมื่อลูกสงบสติได้แล้วก็พูดคุยกับลูก โอบกอดลูก (Time-in) แทนก็ได้ค่ะ

พูดคุยกับลูกด้วยเหตุผล

หลังจากที่ลูกสงบสติอารมณ์ได้แล้ว ให้คุณพ่อคุณแม่เข้าไปพูดคุยกับลูกด้วยท่าทีที่อ่อนโยน และน้ำเสียงที่ราบเรียบ ดังนี้ค่ะ

  • สอบถามลูกว่าเพราะอะไรถึงแสดงพฤติกรรมอย่างนั้น?
  • เพราะอะไรลูกถึงต้องตะโกนหรือตะเบ็งเสียงออกมา?
  • หลังจากตะโกนแล้ว ผลของมันเป็นอย่างไรส่งผลดีหรือไม่ดีอย่างไร?
  • ถ้าลูกมีการทำลายหรือขว้างปาข้าวของ ให้คุณพ่อคุณแม่นำของเหล่านั้นมารวมไว้ และให้ลูกดูไปด้วยกันว่ามีอะไรบ้าง? และถ้าชิ้นไหนซ่อมแซมได้ก็ให้ลูกได้มีส่วนร่วมด้วย
  • ถามความรู้สึกลูกต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เช่น ดีใจหรือเสียใจที่ได้ทำ? หรือรู้สึกผิดต่อเหตุการณ์นั้นหรือไม่? อย่างไร?
  • ทั้งนี้ เราอย่าลืมว่าทุกคนสามารถโกรธและโมโหได้เหมือนกัน ลูกอาจจะโมโหคุณพ่อคุณแม่ หรือคุณครู เพราะการตีความตามมุมของเด็ก แต่หากลูกตีความผิดไป คุณพ่อคุณแม่สามารถอธิบายให้ลูกเข้าใจถึงเหตุผลที่ถูกต้องได้ และสอนให้ลูกได้แสดงความโกรธอย่างเหมาะสมและพอควร
  • ด้วยความที่ลูกต้องการความเป็นหนึ่ง หากมีการเข้าใจว่า คุณพ่อคุณแม่รักน้องมากกว่า แบบนี้ให้คุณพ่อคุณแม่สามารถอธิบายกับลูกให้เข้าใจตามเหตุผลที่แท้จริง
  • เมื่อลูกรู้แล้วว่าพฤติกรรมนี้ไม่เหมาะสม ให้คุณพ่อคุณแม่และลูกหาข้อตกลงร่วมกันในการจัดการกับพฤติกรรมแบบนี้ เพื่อที่จะไม่ให้เกิดขึ้นอีก

พฤติกรรมใด ๆ ก็ตามของลูกที่แสดงออกมาอย่างไม่เหมาะสม ก่อนการแก้ไข หากผู้ใหญ่สามารถหาสาเหตุก่อนก็จะเป็นอะไรที่ดีที่สุดค่ะ เพราะเราจะเข้าใจลูกมากขึ้นและสามารถแก้ไขได้อย่างถูกทางและตรงจุดค่ะ

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP