ลูกกลัวความมืด สาเหตุ พร้อมวิธีแก้ไข

การเลี้ยงลูกวัย 3-5 ขวบ
JESSIE MUM

กลัวความมืด” เป็นสิ่งที่สามารถเกิดได้ทั้งในเด็กและในผู้ใหญ่ โดยเฉพาะในเวลากลางคืน จนเด็กบางคนต้องขอให้คุณพ่อคุณแม่เปิดไฟนอน แม้เป็นไฟหรี่ก็ยังดี ซึ่งปัญหานี้ก็เป็นปัญหาคลาสสิกอีกปัญหาหนึ่งเลยทีเดียวค่ะ เมื่อก่อนน้องมินก็เป็นนะคะเรื่องของ “กลัวความมืด” แต่เป็นพักเดียวก็หาย ซึ่งวันนี้โน้ตมีข้อมูลมาแชร์กันค่ะว่าทางออกคืออะไร

โรคกลัวความมืด คืออะไร?

โรคกลัวความมืด หรือมีชื่อในภาษาอังกฤษว่า Nyctophobia เกิดจากการรวมกันระหว่าง คำว่า nyktos แปลว่า กลางคืน และคำว่า phobos แปลว่า ความกลัว ซึ่งเป็นอาการที่สมองตอบสนองต่อความมืด ด้วยการหลั่งสารเคมีเพื่อเป็นการเพิ่มระดับการรับรู้ถึงความกลัวและความวิตกกังวลที่เกิดขึ้น บางคนสามารถจัดการกับความกลัวได้ แต่ในขณะที่บางคนไม่สามารถจัดการได้ โดยมากแล้ว อาการกลัวความมืดมักเกิดขึ้นในเด็ก และจะค่อย ๆ หายไปได้เองเมื่อโตขึ้น

สาเหตุที่กลัวความมืด

โรคนี้กล่าวได้ว่าเป็นโรคที่เกี่ยวกับสภาพจิตใจล้วน ๆ ค่อนข้างที่จะเจาะจงไปว่าเกิดจากสาเหตุอะไร แต่ที่พอจะสรุปได้ มีดังนี้ค่ะ

  • เกิดจากประสบการณ์อันเลวร้ายของเด็ก
  • เกิดจากการขู่ของผู้ใหญ่ที่มักขู่เด็ก แล้วเด็กนำไปจินตนาการต่อ
  • พันธุกรรม
  • สารเคมีในสมองที่ทำงานผิดปกติ
  • เกิดความไม่เชื่อมั่นในความปลอดภัย หรือ
  • เกิดจากความเชื่อที่ถูกส่งต่อกันมา

อาการกลัวความมืดในเด็ก เริ่มขึ้นเมื่อไหร่

โดยทั่วไปแล้ว อาการกลัวความมืดจะยังไม่เกิดขึ้นกับเด็กที่อายุต่ำกว่า 2 ปี ค่ะ เพราะเขายังคงคุ้นชินกับการที่ได้อยู่ในท้องคุณแม่มากว่า 9 เดือน แต่กลับกับความมืดทำให้เขารู้สึกสงบมากกว่าเสียอีก
อาการกลัวความมืดในเด็กมักจะเกิดขึ้นเมื่อเด็กอายุ 3 – 6 ปี ซึ่งเป็นเรื่องปกติของวัยนี้ค่ะ เพราะเขาสามารถรับรู้และเข้าใจเรื่องราวต่าง ๆ ได้ เริ่มมีความคิด และมีจินตนาการเป็นของตัวเอง ส่วนใหญ่แล้วสิ่งที่จะทำให้ลูกกลัวความมืดจะมีสิ่งเหล่านี้เป็นตัวกระตุ้นค่ะ

  • ผีสาง
  • เสียงแปลก ๆ ยามค่ำคืน
  • สัตว์ประหลาด
  • การแยกนอนคนเดียว
  • การขู่จากผู้ใหญ่
  • ความเชื่อที่เล่าส่งต่อกันมา

ทั้งนี้ การกลัวความมืดในบางรายที่ติดตัวมาตั้งแต่เด็กนั้น เป็นความกลัวที่ไม่ได้รับการแก้ไข เป็นความกดดันที่เกิดขึ้นและกระทบจิตใจอย่างรุนแรง จนไม่สามารถรักษาหายได้ตั้งแต่วัยเด็ก ลักษณะนี้ควรปรึกษาจิตแพทย์ค่ะ

ลูกกลัวความมืด ส่งผลกระทบอะไรต่อเด็กบ้าง

เพราะว่า “ใจเป็นนาย กายเป็นบ่าว” หากเด็กมีอาการกลัวความมืด ไม่สามารถปิดไฟนอนได้ ไม่สามารถข่มตาหลับได้ในเวลากลางคืน จะส่งผลต่อเด็ก ดังนี้

พัฒนาการด้านการเรียนรู้

เนื่องจากลูกไม่สามารถหลับได้สนิทในเวลากลางคืน แม้หลับแล้วก็ยังจะคอยสะดุ้งตื่นตลอดเวลา จึงส่งผลให้ร่างกายและสมองไม่ได้พักผ่อนอย่างเหมาะสม ตื่นเช้ามาไม่สดชื่น แจ่มใส ง่วงตลอดเวลา จึงไม่สามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

พัฒนาการด้านร่างกาย

เป็นที่ทราบกันดีว่า Growth Hormone หรือ ฮอร์โมนที่ควบคุมความสูงจะทำงานในช่วงเวลา 23:00 – 02:00 น. และจะหลั่งออกมาได้ก็ต่อเมื่อเราหลับลึกไปแล้ว 1 ชม. ดังนั้น ถ้าเด็กไม่สามารถข่มตานอนได้จนทำให้เวลาล่วงเลยไปจนดึก และถึงแม้ว่าหลับแล้วก็ยังสะดุ้งตื่นตลอดเวลา Growth Hormone ก็จะไม่ทำงาน จึงส่งผลให้ลูกไม่เติบโตเท่าที่ควร หรือความสูงไม่ถึงเกณฑ์

ลูกกลัวความมืด รักษาอย่างไร

ก่อนการเข้ารับการรักษาให้คุณพ่อคุณแม่สังเกตอาการของลูกก่อนค่ะ ถ้าหากลูกมีอาการดังต่อไปนี้ถึงค่อยเข้ารับการรักษาค่ะ

  • หากความมืดส่งผลกระทบมากเสียจนทำให้ลูกเกิดความวิตกกังวลมาก
  • รู้สึกว่าอาการกลัวของลูกบางครั้งไม่มีเหตุผล ดูจะกลัวมากเกินไป
  • ลูกพยายามเลี่ยงที่จะทำบางอย่างหรือสถานการณ์บางอย่าง อันเป็นเหตุจากความกลัว
  • สังเกตได้ว่าลูกมีอาการกลัวความมืดมากกว่า 6 เดือน หรือมากกว่า

การรักษาอาการกลัวความมืด สามารถทำได้ดังนี้

ให้อยู่กับความมืด

วิธีนี้ฟังดูอาจจะแปลก ๆ แต่ไม่ได้หมายความว่าให้ลูกของคุณพ่อคุณแม่อยู่ในห้องมืดคนเดียว และขังไว้นะคะ แต่การรักษาในลักษณะนี้คือ จะให้ลูกค่อย ๆ สัมผัสกับความมืดทีละนิด และเพิ่มระยะเวลาการอยู่ในความมืดให้นานขึ้นทีละนิดเช่นกัน ซึ่งวิธีนี้เรียกว่า “การลดความอ่อนไหวของผู้ป่วย (Desensitization)

บำบัดด้วยการพูดคุย

ไม่ว่าจะเป็นการพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญ พูดคุยกับคนในครอบครัว รวมไปถึงการพูดคุยกันแบบกลุ่ม เพื่อเป็นการได้ถ่ายทอด และปลดปล่อยสาเหตุถึงความกลัวนั้น ๆ

ฝึกกำหนดลมหายใจ

วิธีนี้เป็นการฝึกให้ลูกได้กำหนดลมหายใจเข้า-ออก เพื่อช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายมากขึ้นในสภาวะของความมืด เช่น การสูดหายใจเข้า-ออก ลึก ๆ เป็นการกำหนดลมหายใจ

รักษาด้วยยา

วิธีนี้จะอยู่ภายใต้ดุลยพินิจของแพทย์ค่ะ ซึ่งอาจมีการสั่งยาให้กับผู้ป่วย ซึ่งจะเป็นกลุ่มยาที่ใช้รักษาอาการวิตกกังวล หรือยากล่อมประสาท เป็นต้น

เรื่องการกลัวความมืด คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตอาการของลูกได้ค่ะ ซึ่งถ้ายังมีอาการไม่มาก คุณพ่อคุณแม่สามารถใช้วิธีพูดคุยกับลูกได้ค่ะ เพื่อเป็นการปลดล็อกเค้าได้ และคอยอยู่เป็นกำลังใจให้ลูกได้รู้สึกว่าคุณพ่อคุณแม่อยู่ตรงนี้ไม่มีอะไรที่น่ากลัว แต่ถ้าพบว่าลูกมีอาการมาก แนะนำให้ปรึกษาแพทย์นะคะ เพราะลูกยังอยู่ในวัยที่ต้องเรียนรู้อะไรอีกมาก ควรได้รับการแก้ไขตั้งแต่เนิ่น ๆ ค่ะ

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP