เด็กๆ ในวัย 3-6 ขวบเป็นวัยที่กำลังเรียนรู้ และต้องปรับตัวกับสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ รอบตัว ต้องเรียนรู้เรื่องการเข้าสังคม การมีระเบียบวินัย รวมไปถึงการเรียนรู้ที่จะเข้ากับคนอื่นๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ คุณพ่อคุณแม่สามารถเสริมสร้างทักษะดังกล่าวให้กับลูกได้ เป็นการเตรียมตัวให้พร้อมก่อนเข้าโรงเรียน อย่างนั้นเราไปดูกันเลยค่ะว่ามีอะไรบ้าง
สารบัญ
ทักษะที่ควรมีในแต่ละช่วงวัย
ทักษะด้านสังคม
- วัย 3 ขวบทานอาหารได้ด้วยตัวเอง เล่นแบบคู่ขนาน คือ เล่นของเล่นแบบเดียวกัน ชนิดเดียวกัน แต่ต่างคนต่างเล่น ชอบเล่นบทบาทสมมุติ รู้จักการรอคอยและเริ่มเรียนรู้ที่จะแบ่งปัน (อาจให้บ้าง ไม่ให้บ้าง)
- วัย 4 ขวบช่วยเหลือตัวเองได้มากขึ้น แต่งตัวเองได้ ไปห้องน้ำเองได้ แปรงฟันเอง เริ่มเล่นร่วมกับคนอื่น รู้จักอดทนมากขึ้น รอคอยและเข้าใจในเรื่องลำดับก่อนหลังมากขึ้น รู้จักเก็บของเล่นได้เอง
- วัย 5 ขวบทำกิจวัตรของตัวเองในหลายๆ อย่างได้ด้วยตัวเอง เล่นและทำงานร่วมกับคนอื่นได้อย่างมีเป้าหมาย เรียนรู้ว่าถ้าพบผู้ใหญ่ต้องไหว้ รู้จักกล่าวคำขอโทษหรือขอบคุณ
- วัย 6 ขวบเริ่มเล่นกันเป็นกลุ่ม มีการตั้งกติกา เข้าใจผู้อื่นมากขึ้น รู้จักมารยาทในการเข้าสังคม
ทักษะด้านร่างกาย
- วัย 3 ขวบกระโดดอยู่กับที่ รับบอลด้วยมือและลำตัว เตะลูกบอลได้ เดินขึ้นบันไดสลับเท้าได้ ถีบจักรยาน 3 ล้อได้ ลากเส้นตามแนวเส้นประได้ ต่อตัวต่อไม้หรือบล้อคแท่งไม้ได้สูงเทียบเท่าหรือมากกว่า 7 ชั้น
- วัย 4 ขวบมักชอบกระโดดข้ามสิ่งกีดขวางเล็กๆ กระโดดขาเดียวแบบอยู่กับที่ได้ ชอบปีนป่ายสิ่งต่างๆ เช่น ชั้นวางของ ขึ้น-ลงบันได้สลับเท้าได้ ใช้กรรไกรเป็น
- วัย 5 ขวบกระโดดขาเดียวไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่องได้ ทรงตัวยืนขาเดียวได้ เดินถอยหลังตามเส้นที่ขีดไว้ได้ ตัดกระดาษตามแนวเส้นโค้งได้ ติดกระดุม ผูกเชื่อกรองเท้าได้คล่องมากขึ้น เรียกว่า ใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กที่มือได้ดีมากขึ้น
ทักษะด้านอารมณ์
- วัย 3 ขวบแสดงอารมณ์ตามความรู้สึก รู้สึกอย่างไร แสดงอย่างนั้น ชอบที่จะได้รับคำชมจากผู้ใหญ่ เริ่มติดคุณพ่อคุณแม่หรือผู้เลี้ยงดูน้อยลง
- วัย 4 ขวบรู้จักควบคุมอารมณ์ได้ดีขึ้น เริ่มมีการชื่นชมความสามารถของทั้งตนเองและผู้อื่นได้ ชอบการท้าทายผู้ใหญ่ ต้องการให้คนอื่นสนใจตัวเอง
- วัย 5 ขวบแสดงอารมณ์ได้อย่างเหมาะสมกับแต่ละเหตุการณ์ เริ่มให้ควรสนใจกับอื่นๆ รอบตัวมากกว่าตัวเอง
เตรียมตัวลูกได้อย่างไรบ้าง?/h2>
ด้านสังคม
- ฝึกให้รู้จักการรอคอย เรียนรู้การควบคุมอารมณ์ของตนเอง พึ่งพาตัวเองได้ ช่วยเหลือตัวเองได้ไม่ต้อรอพึ่งจากคนอื่น รู้จักหน้าที่ของตัวเอง เช่น เก็บของเล่นเอง หลังจากทานข้าวเสร็จก็นำจานไปไว้ที่อ่างล้างจานได้เอง หรือเก็บที่นอนได้เอง เป็นต้น
- ฝึกให้รู้จักเชื่อฟัง โดยการตั้งกฎขึ้นมาภายในครอบครัว โดยให้เหตุผลเค้าว่าทำไมถึงต้องทำตามกฎเหล่านี้
- ฝึกเรื่องการอยู่รวมกับคนหมู่มาก ฝึกให้รักธรรมชาติ รักเพื่อน สัตว์ และต้นไม้ เช่น ช่วยคุณพ่อขุดดิน ปลูกต้นไม้ หรือเล่นกับเพื่อนๆ เป็นต้น
ด้านร่างกาย
- ให้ลูกได้ทานอาหารที่มีประโยชน์ตามวัย โดยให้ครบทั้ง 5 หมู่ ดื่มนม และน้ำเปล่าสะอาดให้ได้ในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายในแต่ละวัน
- รักษาความสะอาดของร่างกาย
- นอนหลับเพียงพอ
- ให้ลูกได้วิ่งเล่นออกกำลังกายกลางแจ้งแบบหอบแฮ่กบ้าง เพื่อกระตุ้นการทำงานของกล้ามเนื้อมัดเล็กและมัดใหญ่
- ให้ลูกได้ทำกิจกรรมที่ตัวเองอยากทำ และให้เค้าทำด้วยตัวเอง คุณพ่อคุณแม่คอยสังเกตุการณ์อยู่ใกล้ๆ
ด้านอารมณ์
- สร้างความภูมิใจให้กับลูกด้วยการช่วยลูกหาความสามารถพิเศษของลูก แล้วส่งเสริมในด้านนั้น
- เลี้ยงลูกให้ถูกเพศ โดยบทบาทของคุณแม่ควรเป็นแม่บ้าน มีความเข้มแข็งและก็อ่อนโยนได้ มีความมั่นใจในตนเอง ส่วนบทบาทคุณพ่อเป็นหัวหน้าครอบครัว ทั้งนี้ เพื่อให้ลูกได้ภูมิใจในเพศของตัวเอง ไม่สับสนและเบี่ยงเบนทางเพศ
- ฝึกวินัยให้กับลูก โดยเริ่มตั้งแต่ การตื่นเช้า อาบน้ำ แปรงฟัน ทานอาหารเช้า อ่านหนังสือ ทำการบ้าน เก็บของเล่น ช่วยงานบ้าน และฝึกให้ลูกรู้จักการแก้ปัญหาได้ด้วยตัวเอง
ด้านสติปัญญา
- เสริมในเรื่องการใช้ภาษาในการสื่อสาร ไม่ว่าจะเป็นฟัง พูด ถาม เขียน รวมไปถึงการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้แก่ มอง ฟัง สัมผัส ชิมรส ได้กลิ่น อาจเป็นการพาครอบครัวออกไปเที่ยวธรรมชาติในวันหยุด แบบนี้ก็ได้ค่ะ
- ฝึกให้ลูกสังเกต แยกประเภท และเปรียบเทียบ อาจพาไปซูเปอร์มาร์เกตแล้วให้ลูกช่วยแม่หยิบของให้
- สอนให้ลูกรู้จักเส้นทาง การคิด การนับเลข การเชื่อมโยงข้อมูล เช่น ถนนเปียก ถนนลื่น เพราะฝนเพิ่งตก เป็นต้น
ทังนี้ คุณพ่อคุณแม่ฝึกอย่างค่อยเป็นค่อยไปนะคะ ค่อยๆ ให้เค้าซึมซับไปเรื่อยๆ และการเสริมทักษะให้ลูกจะเป็นเรื่องสนุกทั้งต่อลูกและครอบครัวค่ะ