วิธีรับมือเมื่อลูกโดนแกล้งในวัยอนุบาล

การเลี้ยงลูกวัย 3-5 ขวบ
JESSIE MUM

การเข้าเรียนที่โรงเรียนอนุบาลนับเป็นก้าวแรกที่เด็กจะได้เรียนรู้การใช้ชีวิตในสถานที่ใหม่ การต้องเจอกับคนใหม่ๆ ต้องเรียนรู้เรื่องระเบียบวินัย และความรับผิดชอบต่างๆ ลูกจะได้เรียนและได้เล่นอย่างเหมาะสมหวังว่าลูกคงจะมีความสุข ความสนุกกับสิ่งใหม่ๆ ที่เจอ

…แต่ความเป็นจริง หลังจากที่คุณพ่อคุณแม่ไปส่งลูกที่โรงเรียนแล้ว เราไม่สามารถรู้ได้เลยว่าในแต่ละวันลูกเราต้องเจออะไรบ้าง จะรู้อีกทีก็มีรอยฟกช้ำดำเขียวตรงนั้นที ตรงนี้ที มีรอยถลอกขีดข่วนกลับมา ในมุมนึงคุณครูเองก็คงไม่สามารถดูแลได้ทั่วถึง ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่เองที่จะเป็นส่วนสำคัญในการที่สอนลูกว่าควรทำอย่างไรเมื่อโดนเพื่อนมาแกล้ง และคุณพ่อคุณแม่จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกโดนเพื่อนแกล้งหรือเปล่า วันนี้ผู้เขียนมีข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้มาฝากค่ะ

เมื่อลูกโดนแกล้งในวัยอนุบาล

เด็กที่จะถูกกลั่นแกล้งโดยมากมักจะมีบุคลิกที่ดูแล้วเป็นจุดอ่อน เช่น ไม่มีความมั่นใจในตนเอง อ้วนเกินไป พูดจาติดอ่าง หรือเรียนอ่อน เป็นต้น เด็กกลุ่มนี้ก็จะถูกนินทา พูดนินทา (แบบให้ได้ยิน) หรือบางคนอาจใช้คำพูด “เราไม่ให้นั่งตรงนี้” บางคนอาจถูกตี หรือเตะเลยก็มี

ซึ่งพฤติกรรมของเด็กที่ชอบแกล้งเพื่อนเหล่านี้ มักจะจำมาจากสิ่งที่เค้าเห็นหรือได้ยิน ไม่ว่าจะเป็นทีวี youtube หรือแม้แต่พฤติกรรมของคุณพ่อคุณแม่เอง

วิธีสังเกตว่าลูกถูกเพื่อนแกล้งหรือไม่

คุณพ่อคุณแม่เคยสังเกตพฤติกรรมของลูกมั้ยคะว่า ก่อนไปโรงเรียนกับหลังกลับจากโรงเรียนเค้ามีพฤติกรรมอย่างไร หรือหากถามแล้วเค้ายังไม่ยอมเล่าให้ฟัง ให้สังเกตจากอาการดังต่อไปนี้ค่ะ

  • ซึมเศร้า
  • ไม่อยากไปโรงเรียน
  • กลับมาหิวโซ
  • ของหายบ่อยๆ
  • เสื้อผ้าขาด
  • มีรอยถลอด หรือฟกช้ำดำเขียวบ่อยๆ
  • ปวดท้อง
  • ฝันร้าย
  • ฉี่รดที่นอน

…หากมีอาการดังกล่าว ให้สันนิษฐานไว้ก่อนค่ะว่าลูกอาจถูกเพื่อนแกล้งจริงๆ

เมื่อลูกถูกเพื่อนแกล้งหลายคนก็สามารถเอาตัวรอดได้ แต่ในขณะที่อีกหลายคนยอมจำนนทนให้เพื่อนแกล้งต่อไป ไม่กล้าบอกคุณครู หรือคุณพ่อคุณแม่ เพราะกลัวว่าเวลาโรงเรียนจะโดนแกล้งซ้ำ ทำให้ชีวิตในรั้วโรงเรียนไม่มีความสุข พอโดนแกล้งนานๆ เข้า เริ่มทนไม่ได้บันดาลโทสะ จึงแสดงออกโดยการตอบโต้กันแรงๆ ถึงขั้นเลือดตกยางออกกันเลยก็มี

แม่โน้ต

โน้ตจะใช้วิธีนี้ควบคู่กันไปค่ะ คือ หลังจากที่รับลูกกลับจากโรงเรียนให้สอบถามลูกว่า “วันนี้เรียนอะไร? สนุกไหม?” แล้วให้ลูกเล่าเรื่องเอง แล้วตบท้ายด้วยคำถามที่ว่า “วันนี้มีเพื่อนแกล้งหนูไหมคะ? แล้วหนูไปแกล้งอะไรเพื่อนหรือเปล่า?” แม้ว่าลูกจะไม่มีใครมาแกล้ง แต่ก็ต้องระวังไม่ให้ลูกไปแกล้งใครด้วยนะคะ

รูปแบบของการแกล้ง

ทำร้ายจิตใจ

  • จากคำพูด : ไม่ว่าจะเป็นคำพูดแรง ๆ บ้าง หยาบคายบ้าง หรืออาจจะสุภาพบ้าง ขึ้นอยู่กับพื้นฐานการเลี้ยงดูจากครอบครัวของเด็กคนนั้น
  • จากการแสดงกิริยา : เช่น อาจทำท่ารังเกียจ กลั่นแกล้งให้อับอายจนถูกเพื่อนคนอื่นหัวเราะเยาะใส่ รวมถึงการนำเรื่องที่เกิดขึ้นไปล้อ ทำให้เกิดความอับอาย

แสดงออกว่ามีอำนาจเหนือกว่า

เช่น ฉันเป็นคนเรียนเก่ง หน้าตาดี เพื่อน ๆ ชื่นชมและให้การยอมรับ ดังนั้น ก็มักจะใช้ให้เพื่อนคนอื่น ๆ ไปซื้อของให้ ถือกระเป๋าให้ รวมถึงใช้ให้ว่าหรือแกล้งเพื่อนคนอื่นที่ตัวเองไม่ชอบ

ทำร้ายร่างกาย

ข้อนี้เลวร้ายและรุนแรงที่สุด บางรายถึงขั้นเลือดตกยางออก คุณพ่อคุณแม่ต้องหมั่นสังเกตร่างกายของลูกด้วยนะคะ

มีการข่มขู่

ไม่ว่าจะเป็นด้วยกิริยาท่าทางที่วางอำนาจ หรืออวดตัวเองว่า ฉันมีอำนาจที่จะสามารถทำร้ายเพื่อน ๆ ได้ เป็นต้น

บอกเพื่อนคนอื่นให้คว่ำบาตร

ข้อนี้เข้าข่ายเป็นมาเฟียเล็กน้อย สามารถสั่งคนอื่นให้ทำอย่างนั้นอย่างนี้ได้ ถ้าหากฉันเจอใครที่ไม่ถูกใจหรือไม่ชอบหน้า

วิธีรับมือเมื่อลูกโดนเพื่อนแกล้ง

เมื่อคุณพ่อคุณแม่ทราบเรื่องควรช่วยลูกหาทางออกด้วยการ…

สอบถามข้อมูลจากลูกให้แน่ชัด

อันดับแรก คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรตำหนิติเตียนลูก หรือแสดงอารมณ์ขุ่นเคือง ไม่พอใจที่ลูกอ่อนแอ ยอมให้เพื่อนรังแก แต่ควรตั้งสติ ซักถามด้วยความเข้าใจ เพราะความสัมพันธ์ที่ดี

แจ้งครูหรือทางโรงเรียนให้ทราบเรื่อง

เพื่อครูและโรงเรียนทราบถึงปัญหา และแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้องและตรงจุด ไม่ควรปล่อยให้เด็กไปรังแกเพื่อนคนอื่นอีก หากมองเป็นในระยะยาวควรแจ้งครูและโรงเรียนเพื่อวางมาตรการป้องกันเด็กที่ชอบรังแกกันในโรงเรียน

สอนทักษะให้ลูกในด้านต่างๆ

เพื่อช่วยให้ลูกสามารถรับมือกับการถูกแกล้ง เช่น รู้จักปฏิเสธ ฝึกให้มีบุคลิกที่มีความเชื่อมั่น รู้จักพูดตอบโต้อย่างมีศิลปะ ทักษะการป้องกันตัว หรือฝึกให้เลี่ยงปัญหาอย่างฉลาด เช่น การไม่อยู่คนเดียว ให้เดินเลี่ยง ไม่แข็งขืนหากผู้ที่เข้ามารังแกมีร่างกายที่แข็งแรงหรือตัวใหญ่กว่า

คุณพ่อคุณแม่ควรมีวิธีพูดที่ดี ในการที่จะให้ลูกละจากความกลัว

เพื่อให้ลูกได้รู้สึกเข้มแข็ง มีแรงฮึด พร้อมที่ละลุกขึ้นปกป้องตัวเอง

ที่สำคัญ คุณพ่อคุณแม่ควรตั้งใจฟังเวลาที่ลูกเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ให้ฟัง อย่าเพิ่งด่วนสรุปเหตุการณ์และดุด่าลูก ไม่เช่นนั้นครั้งต่อไปลูกจะไม่กล้าเล่าอะไรให้คุณพ่อคุณแม่ฟังอีกเลย เพราะฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรใจเย็น ๆ และค่อย ๆ หาวิธีสอนเค้าในเรื่องการป้องกันตัวเองตามข้างต้นนะคะ และหมั่นให้กำลังใจลูกอยู่เสมอ เค้าก็จะเป็นเด็กที่เข้มแข็งขึ้นในไม่ช้าค่ะ

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP