ลูกต่อต้าน แพทย์ระบุ 8 สัญญาณเตือน เกิน 3 ขวบ เสี่ยงโรคพฤติกรรมดื้อต่อต้าน

การเลี้ยงลูกวัย 3-5 ขวบ

จากผลสำรวจในปี 2559 พบว่าเด็กไทยอายุราว 3 ขวบ เป็นโรคดื้อต่อต้าน หรือพฤติกรรมโรคดื้อต่อต้านโดยมีสัญญาณเตือนล่วงหน้า ซึ่งคุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตได้ และหากพบว่าลูกเข้าข่ายควรพาลูกไปปรึกษาจิตแพทย์ทันที

ลูกต่อต้าน โรคพฤติกรรมดื้อต่อต้าน

นาวาอากาศตรีนายแพทย์บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต ได้ออกมาระบุว่า “โรคพฤติกรรมดื้อต่อต้าน (Oppositional Defiant Disorder)” นั้น คือการที่เด็กมีความผิดปกติด้านพฤติกรรม มีนิสัยที่ดื้อ ต่อต้าน ไม่ฟังคุณพ่อคุณแม่ ไม่ทำตามกฎระเบียบ มีอารมณ์ที่รุนแรง หงุดหงิดง่าย ซึ่งเห็นได้อย่างชัดเจนเพราะเด็กเหล่านี้มีระดับการต่อต้านที่มากเกินกว่าเด็กทั่วไป และมักจะสร้างความเดือดร้อนให้ผู้อื่นเป็นประจำ

สถิติผู้ป่วยโรคดื้อต่อต้านทั่วประเทศ

กรมสุขภาพจิตได้ทำการสำรวจสุขภาพจิตของเด็กในช่วงอายุ 13 – 17 ปี ครั้งล่าสุดในปี 2559 พบว่าเด็กป่วยเป็นโรคดื้อต่อต้านร้อยละ 2 หรือประมาณ 80,000 คนทั่วประเทศ โดย

  • เด็กชาย พบได้ร้อยละ 2.3
  • เด็กหญิง พบได้ร้อยละ 1.7

แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงมากกว่านั้น คือความเชื่อของคุณพ่อคุณแม่ที่ว่า…

  • ปล่อยเด็กไปตามธรรมชาติ เดี๋ยวก็ดีขึ้นเอง
  • ไม่อยากขัดใจลูก เพราะกลัวลูกเครียด กลัวลูกหนีออกจากบ้าน
  • ใช้การลงโทษที่รุนแรง เพราะคิดว่าน่าจะเป็นการช่วยดัดนิสัยได้
  • ส่งไปอยู่กับญาติ หรือโรงเรียนประจำ เพื่อดัดนิสัย

ซึ่งความเชื่อทั้งหมดนี้ไม่ได้เป็นการช่วยให้พฤติกรรมลูกต่อต้านนั้นดีขึ้นเลย กลับกันมีแต่จะแย่ลง ดังนั้น ทางที่ดีแนะนำให้คุณพ่อคุณแม่โทรเข้าไปปรึกษาสายด่วนสุขภาพจิต 1323 ฟรี ตลอด 24 ชม. แม้ว่าโรคนี้ยังไม่มียารักษาโดยตรง แต่การที่เด็กได้ระบาย และมีคนที่รับฟัง พร้อมให้คำแนะนำที่ถูกต้องก็เป็นการปรับลดพฤติกรรมการดื้อต่อต้านได้ และอาจนำไปสู่การหายป่วยได้ค่ะ

สาเหตุที่ทำให้เด็กเป็นโรคดื้อต่อต้าน

พฤติกรรมลูกดื้อต่อต้านนั้นมีหลายสาเหตุด้วยกัน

  • ความผิดปกติของสารเคมีในสมองหรือสารสื่อประสาทบางชนิดมีปริมาณที่ไม่สมดุลกัน หรือมีการทำงานที่ผิดปกติไป
  • ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม
  • ปัจจัยทางด้านจิตใจ
  • การเลี้ยงดูที่บังคับ หรือตีกรอบมากเกินไป
  • ไม่ให้ลูกได้มีโอกาสเลือกในสิ่งทีเกี่ยวข้องกับชีวิตของเขาเอง
  • ไม่เปิดโอกาสให้ลูกได้แสดงความคิดเห็น

8 สัญญาณเตือนว่าลูกเป็นโรคดื้อต่อต้าน หากเกิน 3 ขวบ

ทางด้านแพทย์หญิงกุสุมาวดี คำเกลี้ยง ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.ขอนแก่น ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า โดยทั่วไปแล้วพฤติกรรมดื้อตามวัยนั้นจะอยู่ที่ช่วงอายุ 2 – 3 ขวบ เมื่ออายุมากขึ้น อาการดื้อก็จะค่อย ๆ หายไป แต่ถ้าในโรคดื้อต่อต้านจะมีอาการที่รุนแรงขึ้น และมีอารมณ์ไม่ดีต่อเนื่องกันนานกว่า 6 เดือนขึ้นไป ซึ่งลักษณะอาการเด่น ๆ ของเด็กที่เป็นโรคดื้อต่อต้านนี้มีดังนี้

  1. แสดงอารมณ์ที่ฉุนเฉียวตลอดเวลา
  2. มักชอบเถียงหรือชวนผู้ใหญ่ทะเลาะ
  3. ชอบท้าทาย ฝ่าฝืนคำสั่งหรือกฎเกณฑ์บ่อย ๆ
  4. ตั้งใจสร้างความรำคาญให้กับผู้อื่น
  5. มักโทษหรือโยนความผิดให้คนอื่นบ่อย ๆ
  6. หงุดหงิดและอารมณ์เสียง่าย
  7. โกรธและไม่พอใจอยู่บ่อย ๆ
  8. เจ้าคิดเจ้าแค้น อาฆาตพยาบาท

วิธีปรับพฤติกรรมโรคดื้อต่อต้าน

หากคุณพ่อคุณแม่สังเกตเห็นแล้วว่าลูกมีพฤติกรรมที่เข้าข่ายและเป็นโรคดื้อต่อต้าน แนะนำว่าควรพาลูกไปพบกับจิตแพทย์เด็กเพื่อการบำบัดพฤติกรรม ซึ่งต้องใช้ร่วมกันในหลาย ๆ วิธี อาทิ

  • การทำจิตบำบัด
  • การฝึกให้เด็กรู้จักที่จะควบคุมตนเอง
  • ฝึกให้เด็กมีการแสดงออกอย่างเหมาะสมกับผู้ใหญ่ควบคู่ไปกับการให้ความรู้ความเข้าใจกับคุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครอง หรือเรียกกันว่า “ครอบครัวบำบัด” นั่นเอง เพื่อเป็นการช่วยลดความขัดแย้ง และเพิ่มการสื่อสารที่เหมาะสมสำหรับคนในครอบครัว
  • ฝึกคุณพ่อคุณแม่ให้ปรับพฤติกรรมลูกได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ไม่ใช้ความรุนแรงในการลงโทษเด็ก รวมทั้งต้องมีการร่วมมือกับทางโรงเรียนในการช่วยดูแล และช่วยปรับลดพฤติกรรมที่ไม่ดีระหว่างที่เด็กอยู่ที่โรงเรียน

“ การลงโทษที่ไม่ควรใช้กับเด็กที่มีพฤติกรรมดื้อต่อต้าน คือการลงโทษด้วยการทุบตีอย่างรุนแรงหรือด่าว่าด้วยถ้อยคำที่หยาบคาย รุนแรง เนื่องจากเป็นการเพิ่มความก้าวร้าวให้เด็ก ทำให้เด็กมีพฤติกรรมต่อต้านเพิ่มมากขึ้น และหากเด็กเหล่านี้ไม่ได้รับการรักษา เมื่อโตขึ้นเด็กจะมีพฤติกรรมใช้ความรุนแรงมากขึ้น ก้าวร้าว เกเร เสี่ยงต่อการเสพและติดสารเสพติดได้ง่าย ” แพทย์หญิงกุสุมาวดีกล่าว
ข้อมูลอ้างอิง springnew.co.th

เด็กในวันนี้จะโตขึ้นไปเป็นผู้ใหญ่ที่ดีได้ ต้องมาจากพื้นฐานการเลี้ยงดูที่ดีค่ะ สิ่งหนึ่งที่แม่โน้ตเชื่อมาตลอดว่า “การพูดคุยกัน การสื่อสารแบบสองทาง (Two Way Communication)” จะสามารถช่วยลดพฤติกรรมลูกดื้อหรือต่อต้านได้ อธิบายให้ลูกเข้าใจว่าเพราะอะไรคุณพ่อคุณแม่ถึงต้องทำแบบนั้น แสดงให้ลูกรู้ว่าคุณพ่อคุณแม่เข้าใจเขา ที่สำคัญ คุณพ่อคุณแม่ควรเป็นผู้ฟังที่ดีเช่นกันค่ะ

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP