พฤติกรรมพ่อแม่ที่ทำให้ลูกเครียด

การเลี้ยงลูกวัย 3-5 ขวบ
JESSIE MUM

โดยธรรมชาติของความเป็นลูกแล้ว เด็กจะมีความเคารพยำเกรงต่อผู้ที่เป็นคุณพ่อคุณแม่อยู่แล้ว ดังนั้น เมื่อลูกถูกคุณพ่อคุณแม่ดุ หรือทำโทษ เขาก็จะยิ่งเกิดความกลัว เกิดความเครียดมากขึ้น และจะยิ่งมากขึ้นไปอีกเพราะเด็กยังมีคำศัพท์ในหัวน้อย ไม่รู้จะอธิบายเรื่องราวหรือความรู้สึกให้คุณพ่อคุณแม่รู้ได้อย่างไร ดังนั้น วันนี้แม่โน้ตอยากชวนคุณพ่อคุณแม่มาจับเข่าคุยกัน และสังเกตพฤติกรรมของตัวเองว่ามีอะไรบ้างที่เราเผลอทำไปโดยที่ไม่รู้ว่าสิ่งนั้นยิ่งทำให้ลูกเครียดจนร้องไห้

พฤติกรรมพ่อแม่ที่ทำให้ลูกเครียด

เข้มงวดกับลูกเกินไปหรือเปล่า

เป็นธรรมดาค่ะที่คุณพ่อคุณแม่อยากให้ลูกเป็นคนดี ประสบความสำเร็จในชีวิต ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการเรียน ระเบียบวินัย ตลอดจนความรับผิดชอบในเรื่องต่าง ๆ ความเข้มงวดของคุณพ่อคุณแม่นี้ถ้าจะมองในมุมของคุณพ่อคุณแม่ก็อาจจะบอกว่า “เราหวังดี” แต่ความหวังดีนี้จะให้ดีต้องไม่ใช่สิ่งที่ทำให้ลูกรู้สึกกดดันจนกลายเป็นความเครียดสะสมนะคะ

คาดหวังในตัวลูกมากเกินไปหรือเปล่า

ความคาดหวังของคุณพ่อคุณแม่แสดงออกได้หลายอย่าง เช่น วันหยุดลูกต้องเรียนพิเศษ หลังเลิกเรียนต้องทำการบ้านให้เสร็จ เมื่อเสร็จแล้วก็ให้อ่านหนังสือต่อ เพราะคุณพ่อคุณแม่คาดหวังว่าลูกต้องเรียนได้เกรดดี ๆ ไม่แพ้เพื่อน ลูกต้องสอบเข้าโรงเรียนดี ๆ ได้ ซึ่งความคิดเหล่านี้บางทีคุณพ่อคุณแม่มีการยัดใส่หัวเด็ก ซึ่งนี่ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ลูกเครียดได้

ห่วงลูกมากเกินไปหรือเปล่า

เชื่อว่าคุณพ่อคุณแม่ทุกคนรู้ดีค่ะว่าวันหนึ่งลูกน้อยของเราจะต้องเติบโตไปเป็นผู้ใหญ่ เขาต้องช่วยเหลือตัวเองได้ ไม่ว่าคุณพ่อคุณแม่อยากช่วยเหลือลูกมากแค่ไหนแต่ก็คงหนีไม่พ้นความจริงข้อนี้ไปได้ ในฐานะคุณแม่เหมือนกันจะบอกให้เลิกห่วงลูกคงเป็นไปไม่ได้ แต่อาจแค่ลดระดับความห่วงลงมาซักหน่อย แล้วใช้ความห่วงนี้คิดเสียว่า ถ้าเราห่วงลูกจริงต้องฝึกให้เขาช่วยเหลือตัวเองได้ในวันที่ไม่มีเรา

เมื่อลูกได้ลองทำอะไรใหม่ ๆ เขาก็จะได้เรียนรู้ด้วยตัวเอง ก็จะส่งผลให้ลูกประสบการณ์ มีการคิดวิเคราะห์ มีพัฒนาการที่สมวัย ที่สำคัญ เมื่อลูกเกิดปัญหาคุณพ่อคุณแม่อย่าเพิ่งเข้าไปช่วยทันทีแต่ให้ดูอยู่ห่าง ๆ เพื่อให้ลูกได้ลองแก้ปัญหาเอง ถ้าเขาทำได้ เขาจะเกิดความภูมิใจมากทีเดียว

ใช้อารมณ์รุนแรงกับลูกบ่อยเกินไปหรือเปล่า

คุณแม่ที่ต้องเลี้ยงลูกเอง อาจต้องเผชิญกับหน้าที่ความรับผิดชอบหลาย ๆ อย่าง ไหนจะงานบ้าน ทำกับข้าว เลี้ยงลูก ความซนของลูก ฯลฯ เหล่านี้จะเรียกรวมกันง่าย ๆ ว่า “ความเหนื่อย” นั่นเอง เมื่อเหนื่อยจากงานหลาย ๆ อย่าง ก็ทำให้คุณแม่ปรี๊ดแตก ใช้อารมณ์รุนแรงกับลูกได้ง่ายมากเท่านั้น เหนื่อยจนไม่สามารถควบคุมอารมณ์ตัวเองได้ บางครั้งเผลอลงไม้ลงมือไป ตะคอกใส่ลูกด้วยถ้อยคำหยาบคาย เหล่านี้จะทำให้ลูกน้อยยิ่งถูกกดดัน และเครียดมากยิ่งขึ้น

ที่สำคัญ พฤติกรรมเหล่านี้ยังจะเป็นภาพจำของลูก ลูกจะเลียนแบบพฤติกรรมของคุณแม่แล้วส่งต่อให้บุคคลอื่นได้

ผลกระทบของลูกจากพฤติกรรมพ่อแม่ที่ทำให้ลูกเครียด

พฤติกรรมของลูกที่เป็นผลมาจาการที่คุณพ่อคุณแม่เลี้ยงลูกอย่างกดดันเกินไป ตีกรอบเกินไปจนทำให้ลูกเครียดนั้น ส่งผลโดยตรงกับลูก ดังนี้

มีพฤติกรรมต่อต้านในระดับรุนแรง

เรื่องนี้เรื่องใหญ่ค่ะ คำว่า “พฤติกรรมต่อต้านในระดับรุนแรง” สามารถเกิดได้ตั้งแต่ลูกยังเล็กไปจนวัยรุ่น ลูกจะต้อต้านทุกอย่างที่คุณพ่อคุณแม่สอน เพียงแต่เขาไม่ได้พูด ไม่ได้แสดงออกมาเท่านั้น หรือที่หลาย ๆ คนเรียกว่า “ดื้อเงียบ”

ครั้นเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ เขาก็จะต่อต้านทุกอย่างที่คุณพ่อคุณแม่สอน ทั้ง ๆ ที่มันเป็นสิ่งที่ถูกต้อง เพียงแต่ที่ลูกต่อต้านเพราะเขาจะรู้สึกดีเวลาที่ได้ทำอะไรตามใจตัวเองแม้มันเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องก็ตาม ขอเพียงอยู่ตรงข้ามกับคุณพ่อคุณแม่เท่านั้น

มีปัญหาไม่ปรึกษาพ่อแม่

เมื่อลูกมีปัญหาเขาจะหันหาแต่เพื่อนหรือคนอื่น ๆ ที่ไม่ใช่คุณพ่อคุณแม่ ทั้ง ๆ ที่ใจจริงก็อยากปรึกษาเหมือนกัน เพียงแต่เขาจะกลัวว่าถ้าปรึกษาคุณพ่อคุณแม่แล้ว คุณพ่อคุณแม่ก็จะบังคับเขาให้ทำตามใจคุณพ่อคุณแม่เองมากกว่า เขาจะไม่ได้เป็นตัวของตัวเอง

กลายเป็นคนที่หยาบคาย

เหตุจากการใช้อารมณ์ของคุณพ่อคุณแม่ก่อนหน้านี้นั่นเอง จึงไม่แปลกที่ลูกจะซึมซับและแสดงออกแบบนั้น

เมื่อคุณพ่อคุณแม่ยังเด็ก เคยคิดไหมคะว่าผู้ใหญ่ก็ไม่ได้ทำอะไรถูกต้องเสมอไป เรื่องนี้ก็เช่นกัน นอกจากนี้ ยังมีบางกรณีที่สามารถเกิดขึ้นได้เช่นกัน คือ ลูกเป็นโรคซึมเศร้าจากการเลี้ยงดูของคุณพ่อคุณแม่ ลองเปิดใจ สำรวจตัวเอง ถ้าไม่อยากให้ลูกเป็นโรคซึมเศร้า สามารถติดตามได้จากบทความนี้ค่ะ คลิกที่นี่ >> “พ่อแม่ทำให้ลูกเป็นโรคซึมเศร้า มีปัจจัยอะไรบ้าง?


ลูกชอบอยู่ในห้องคนเดียว เล่นคนเดียว แบบนี้เรียกว่าโรคซึมเศร้าหรือเปล่า? เกิดจากอะไร? สิ่งที่ลูกเป็นในวันนี้ ล้วนเกิดจากการเลี้ยงดูของพ่อแม่ทั้งสิ้น สาเหตุโรคซึมเศร้าก็เช่นกัน ติดตามเพิ่มเติม คลิกที่นี่

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP