ลงโทษลูกโดยไม่ต้องตี รวมวิธีดี ๆ ที่ได้ผล

การเลี้ยงลูกวัย 3-5 ขวบ
JESSIE MUM

เพราะเด็กเล็กเป็นวัยที่อยากรู้ อยากลอง จนบางครั้งคุณพ่อคุณแม่ก็เหนื่อยใจ แต่ที่สำคัญกว่านั้น เด็กเล็กยังไม่รู้จักกับอารมณ์ของตัวเองและวิธีการจัดการกับอารมณ์ของตนเองมากพอ จึงส่งผลให้แสดงอารมณ์ที่เกรี้ยวกราดไปบ้าง ร้องไห้โวยวาย เอาแต่ใจกันไปบ้าง การลงโทษมีหลายวิธีที่ไม่ต้องตี แถมได้ผลอีกด้วยค่ะ

ลงโทษลูกโดยไม่ต้องตี

ใช้วิธี Time Out

วิธีนี้จะใช้ได้ดีกับเด็กที่อายุ 2 – 10 ปี โดยมีวิธีการดังนี้ค่ะ

  • เตือนลูกก่อน ให้หยุดพฤติกรรมที่ไม่น่ารักนั้น
  • หากลูกยังไม่หยุด ให้อธิบายสาเหตุก่อนว่าเพราะอะไรลูกต้องโดน Time Out
  • เลือกมุมสงบให้ลูก เช่น ห้องนอน หรือห้องของเล่น เป็นต้น
  • จับเวลาตามช่วงอายุ เช่น วัย 2 ปี เริ่มจาก 2 นาที, วัย 3 ปี เริ่มจาก 3 นาที เป็นต้น
แม่โน้ต

การทำ Time Out คือ การแยกเดี่ยว ไม่ใช่ “การขังเดี่ยว” นะคะ เป็นการที่ให้ลูกนั่งเข้ามุม แต่ยังอยู่ในสายตาของคุณพ่อคุณแม่อยู่ค่ะ

งดกิจกรรมที่ลูกชื่นชอบ

สำหรับข้อนี้จะเหมาะกับเด็กที่อายุ 6 ปี ขึ้นไป เพราะเขาจะสามารถเข้าใจเงื่อนไขได้แล้ว เช่น

“ถ้าหนูยังเอาแต่ใจร้องไห้โวยวายแบบนี้ เย็นนี้งดไปปั่นจักรยานกับเพื่อนนะคะ”

เมื่อคุณพ่อคุณแม่ตั้งกติการขึ้นมาแล้วต้องใจแข็งนะคะ หนักแน่นเข้าไว้ และอธิบายถึงเหตุผลให้ลูกเข้าใจว่าเพราะอะไรคุณพ่อคุณแม่ถึงต้องลงโทษด้วยวิธีนี้ เพราะไม่เช่นนั้นลูกจะไม่เชื่อฟังคุณพ่อคุณแม่

ตัดสิทธิ์การได้รางวัล

ลูกอาจมีขนมที่ชอบ แต่เมื่อลูกทำผิด ให้คุณพ่อคุณแม่ตัดสิทธิ์การได้รางวัลของลูก เช่น อาจจะงดไปเที่ยวในวันหยุดนี้ หรือถ้าเป็นขนม อาจเป็นขนมที่ลูกชอบที่ต้องกินทุกอาทิตย์ ให้คุณพ่อคุณแม่บอกลูกว่า “หนูทำพฤติกรรมที่ไม่น่ารักแบบนี้ เพราะฉะนั้นอาทิตย์นี้งดขนมนะคะ

ที่สำคัญ อย่าลืมอธิบายกับลูกให้ลูกเข้าใจว่าเพราะอะไรคุณพ่อคุณแม่ต้องใช้วิธีนี้นะคะ เพื่อให้ลูกยอมรับและเข้าใจ เป็นการป้องกันการทำผิดซ้ำเดิมค่ะ

ให้ลูกรับผิดชอบในสิ่งที่ลูกได้ทำผิดไป

เช่น ถ้าลูกทำน้ำหกเลอะพื้น ก็ให้ลูกรับผิดชอบเองด้วยการนำผ้าสะอาดมาเช็ดให้แห้ง หรือลูกรื้อกองหนังสือออกมาทำให้หนังสือกระจัดกระจายอยู่ตามพื้นเต็มไปหมด ก็ให้ลูกรับผิดชอบด้วยการเก็บเอง เป็นต้น

ซึ่งวิธีนี้จะดีกว่าการตีแน่นอนค่ะ เพราะการตีลูก นอกจากจะทำให้ลูกไม่ได้เรียนรู้ว่าตัวเองทำอะไรผิดแล้ว ลูกยังมีโอกาสทำผิดได้ซ้ำอีก

เพิกเฉยต่อพฤติกรรมที่ไม่ดีของลูก

หากลูกมีพฤติกรรมที่ร้องไห้โวยวาย ให้คุณพ่อคุณแม่ทำเป็นเพิกเฉย ไม่สนใจแต่…ยังนั่งอยู่ไม่ห่างสายตาจากคุณพ่อคุณแม่นะคะ รอให้อารมณ์ของลูกเบาลงก่อน แล้วค่อยเดินเข้าไป ไปพูดคุยกับลูกด้วยทีท่าที่อ่อนโยน อธิบายถึงสาเหตุว่าหนูทำอะไรผิดไป และที่ถูกต้องควรเป็นอย่างไร เป็นต้นค่ะ

แม่โน้ต

พฤติกรรมที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรทำคือ ขณะที่ลูกร้องไห้โวยวายแล้วคุณพ่อคุณแม่เดินหนีนะคะ เพราะเขาจะคิดว่า “พ่อแม่ไม่รักเขา” แบบนี้จะยิ่งทำให้ลูกร้องไห้มากกว่าเดิมและไม่ใช่การแก้ปัญหาที่ถูกต้อง

ผลเสียจากการลงโทษลูกด้วยการตีบ่อยๆ

  1. มีพัฒนาการด้านความคิดและวิเคราะห์ช้า เพราะลูกจะไม่รู้เหตุผลหรือตรรกะที่ถูกต้องว่าคืออะไร
  2. ทำให้ลูกดื้อไม้ดื้อมือ
  3. เป็นเด็กที่ต่อต้านในทุกอย่างที่คุณพ่อคุณแม่สอน
  4. ไม่เชื่อฟังคุณพ่อคุณแม่
  5. เด็กจะซึมซับความรุนแรงจากคุณพ่อคุณแม่ และเด็กจะส่งต่อความรุนแรงนี้ไปให้คนอื่น

การตีลูกทำได้ไหม?

ตีได้ค่ะ แต่…คุณพ่อคุณแม่ควรตี เพื่อให้ลูกรู้ว่าลูกทำผิด ไม่ใช่ตีด้วยอารมณ์ ซึ่งก่อนตีลูก ควรอธิบาย หรือมีการพูดคุยกันก่อนว่า เพราะอะไร? เช่น ถ้าหนูทำผิดในลักษณะนี้ หนูก็ต้องถูกตีนะคะ เป็นต้น ที่สำคัญ ต้องคุยกันก่อนให้ลูกยอมรับตามเงื่อนไขก่อนว่า “ถ้าหนูทำแบบนี้ จะถูกตี

รักวัวใหผูก รักลูกให้ตี แต่ถ้าลงโทษด้วยวิธีอื่นจะดีกว่าค่ะ^^ จริงไหมคะแม่ ๆ

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP