เทคนิคการสอนลูกให้มีความยับยั้งชั่งใจ ไม่ทำให้ใครเดือดร้อน (Self – Regulation)

การเลี้ยงลูกวัย 3-5 ขวบ

ก่อนหน้านี้ถ้าใครติดตามบทความโน้ตเป็นประจำ โน้ตเน้นเรื่อง Self – Esteem มาก (คือการทำให้เด็กได้เห็นคุณค่าของตัวเอง) แต่วันนี้โน้ตจะมาพูดเรื่อง Self – Regulation ค่ะ หรือก็คือจะสอนลูกอย่างไรให้มีความยับยั้งชั่งใจ สามารถกำกับตนเองได้ ไม่ทำให้คนอื่นเดือดร้อน และมีเป้าหมายที่แน่ชัดนั่นเอง

การกำกับตนเอง (Self – Regulation) คืออะไร?

การกำกับตนเอง หรือ Self – Regulation นั้นเป็นส่วนหนึ่งของ “ความสามารถในการคิดบริหารจัดการตนเอง (EF – Executive Function)” ซึ่งเป็นความสามารถของสมองในการควบคุมและกำกับความสามารถขั้นพื้นฐาน และกิจกรรมอื่น ๆ ของบุคคลได้ ซึ่งจุดนี้เองถ้าเด็กทำได้ เขาจะสามารถพัฒนาไปสู่เรื่อง Self – Discipline (การมีวินัยในตนเอง) ได้ค่ะ

หรือถ้าจะพูดให้เข้าใจง่าย ๆ “Self – Regulation ก็คือ ความไม่วู่วาม + การหักห้ามใจได้” นั่นเอง การไม่วู่วาม ก็คือการฝึกให้เด็กได้รู้จักคิด พิจารณาไตร่ตรองว่าเขาควรทำตัวเช่นไรในสถานการณ์นั้น ๆ และ การหักห้ามใจได้ก็คือ การที่เด็กสามารถปรับอารมณ์และความรู้สึกได้ เมื่อมีอะไรมากระทบค่ะ

กระบวนการในการกำกับตนเอง

หลักปฏิบัติในการกำกับตนเองนั้นมีอยู่ 3 ขั้นตอน ดังนี้ค่ะ

การสังเกตตนเอง (Self – Observation)

หรือจะว่าไปก็คือ การที่เด็กสามารถรู้เท่าทันอารมณ์ตนเองนั่นเอง เพราะการที่จะสามารถกำกับตนเองได้นั้น ส่วนหนึ่งมาจากความชัดเจน ความสม่ำเสมอ และความแม่นยำของการสังเกตตนเอง เมื่อสังเกตตนเองได้และรู้เท่าทันอารมณ์ของตนเองแล้ว ก็จะสามารถพาตนเองเข้าสู่กระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้

กระบวนการตัดสิน (Judgement Process)

คือการนำข้อมูลที่ได้จากการสังเกตตนเองมาเทียบกับเกณฑ์ ตัดสิน และนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเอง

การตอบสนองต่อตนเอง (Self – Reaction)

ข้อนี้จะขึ้นอยู่กับมาตรฐานของแต่ละคน แต่ละครอบครัว ซึ่งถ้าคุณพ่อคุณแม่เห็นว่าลูกทำได้สำเร็จ มีความพยายามมากพอก็อาจจะให้รางวัลเล็ก ๆ น้อย ๆ เพื่อเป็นกำลังใจ หรือบางครอบครัวเห็นว่าลูกพยายามแล้วแต่ก็ยังทำไม่ได้ ก็อาจใช้เป็นการลงโทษแทน แต่ไม่ต้องถึงขั้นดุด่า หรือตีลูกนะคะ แค่อธิบายถึงเหตุการณ์ที่ผ่านมา แล้ววิเคราะห์ให้เขาเห็นภาพ เพื่อความเข้าใจมากขึ้นก็พอค่ะ

เทคนิคการฝึกให้สามารถกำกับตนเองได้

ความสามารถในการกำกับตนเองหรือการจัดการกับอารมร์ในด้านลบของตนเอง เช่น ความเครียด ความวิตกกังวล ความเบื่อหน่าย ความไม่มีแรงจูงใจ ตลอดจนการสามารถควบคุมอารมณ์ของตนเองได้นั้น มีเทคนิคดังนี้ค่ะ

เทคนิคในการฝึกลูกกับ S.T.O.P

  • STOP – หยุดหรือวางมือจากสิ่งที่ทำอยู่
  • TAKE A BREATH – เอาใจไปจดจ่ออยู่ที่ลมหายใจเข้า – ออก สูดลมหายใจช้า ๆ
  • OBSERVE – สังเกตว่าในความคิด ณ ขณะนั้นมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง พร้อมกับทบทวนสิ่งที่อยู่ตรงหน้า
  • PROCEED – เมื่อสามารถจับสถานการณ์ได้หมดแล้ว ค่อยเริ่มทำสิ่งที่ทำอยู่ต่อไป

**ขั้นตอนที่กล่าวมานี้ คุณพ่อคุณแม่ต้องเป็นคนชี้ชวนให้พิจารณา และให้ลูกทำตามนะคะ

เทคนิคการฝึกกับตัวของคุณพ่อคุณแม่เองกับ R.A.I.N

  • RECOGNIZE – มองและพิจารณาสถานการณ์ด้วยความสงบ
  • ACCEPT – ยอมรับในสิ่งที่เกิดขึ้น ยอมรับอารมณ์ลูก อย่าเพิ่งกังวลหรือว้าวุ่นใจ พร้อมทั้งอย่าเพิ่งพยายามแก้ไขสถานการณ์ในขณะนั้น
  • INVESTIGATE – รับรู้และสำรวจความรู้สึกของตัวเองที่เกิดให้ละเอียด รับรู้และยอมรับทั้งความรู้สึกที่ปวดใจและมีความสุข จนกระทั่งอารมณ์นั้น ๆ เบาบางลง
  • NONIDENTIFICATION – เมื่อรับรู้และซึมซับกับความรู้สึกนั้น ๆ ได้แล้ว ให้วางอารมณ์นั้น ๆ ลง ให้มองว่าอารมณ์ต่าง ๆ ที่เข้ามาเดี๋ยวมันก็ผ่านไป และจบลง ไม่เอามาขยายต่อ คิดต่อในใจ รวมถึงไม่ต้องนิยามตนเองไม่ว่าทั้งแง่ดีหรือแง่ร้าย

การที่คุณพ่อคุณแม่จะฝึกลูกได้นั้น ต้องเริ่มที่ตัวของคุณพ่อคุณแม่ก่อนในการเป็นต้นแบบที่ดี ไม่เลี้ยงลูกแบบเข้าข้างลูกมากเกินไป เมื่อลูกทำผิดก็ว่ากันตามผิด ถูกก็ว่ากันตามถูกพร้อมกับชื่นชมให้กำลังใจกันตามสมควร ไม่อย่างนั้นลูกอาจจะเหลิงได้อย่างที่คุณพ่อคุณแม่กลัว ซึ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นพื้นฐานที่จะนำไปสู่การฝึกลูกให้มีความยับยั้งชั่งใจ จนสามารถกำกับตัวเองได้ดีในที่สุดค่ะ

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP