สัญญาณที่บอกว่าคุณปกป้องลูกมากเกินไป

การเลี้ยงลูกวัย 3-5 ขวบ

คุณแม่เคยเดินตามลูกทุกฝีก้าวที่สนามหญ้าไหม? เคยจูงมือเดินขึ้นและลงบันไดหรือไม่? นี่เป็นเพียงตัวอย่างพฤติกรรมของคุณพ่อคุณแม่ที่ห่วงลูก กลัวว่าลูกจะไม่ได้รับความปลอดภัย กลัวว่าลูกจะเจ็บตัว แต่ความจริงแล้ว สิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือ ประสบการณ์ในการตัดสินใจของลูกว่าจะทำอะไร และไม่ทำอะไร? ยังมีอีกหลายอย่างค่ะที่เป็นสัญญาณว่าคุณปกป้องลูกมากเกินไป

เพราะอะไรการปกป้องลูกมากเกินไปจึงไม่ใช่เรื่องที่ดี

ด้วยธรรมชาติของเด็ก เด็กควรที่จะต้องได้เรียนรู้จากธรรมชาติ ซึ่งถ้าหากคุณพ่อคุณแม่ปกป้องลูกน้อยจากอันตรายหรือความผิดหวังต่าง ๆ อยู่ตลอดเวลา นั่นก็เท่ากับเป็นการปิดกั้นการเรียนรู้และพัฒนาการในการเรียนรู้ของเด็ก

ตัวอย่างเช่น ทางโรงเรียนจะมีการเข้าค่ายที่ต่างจังหวัด 2 คืน 3 วัน แต่คุณพ่อคุณแม่ไม่อนุญาตให้ลูกไป แบบนี้จะยิ่งทำให้ลูกไม่มีประสบการณ์ในการใช้ชีวิต ซึ่งมาถึงตรงนี้แล้ว แม่โน้ตเชื่อว่าคุณพ่อคุณแม่คงนึกภาพออกแล้วใช่มั้ยคะว่าจากเหตุการณ์ตัวอย่างนี้จะผลในแง่ใดกับลูกบ้าง

สัญญาณที่บอกว่าคุณปกป้องลูกมากเกินไป

  • สกรีนเพื่อน เลือกเพื่อนให้ลูก เช่น เมื่อไปรับลูกที่โรงเรียนคุณจะมองเพื่อน ๆ ของลูก และสกรีนอย่างไว และในทุก ๆ วันคุณจะมองหาว่าเพื่อนคนไหนน่าคบโดยคุณเป็นคนตัดสินใจให้ลูกเองว่าลูกควรคบคนไหน
  • ไม่ให้ลูกทำกิจกรรมด้วยตัวเอง เช่น ลูกต้องการจะไปเล่นสนามเด็กเล่นของหมู่บ้านซึ่งอยู่แค่หน้าบ้านคุณแม่ แต่คุณแม่ไม่อนุญาตให้ลูกไป เพราะกลัวอันตรายจากการตกของเล่น และกลัวเจอเพื่อน ๆ หรือเด็กที่มีอายุมากกว่ามาแกล้ง
  • ตัวติดกับลูกตลอดเวลา
    ข้อนี้อาจเป็นเด็กที่โตขึ้นมาสักหน่อย แต่คุณแม่มีพฤติกรรมที่ตามติดลูกตลอดเวลา ไม่ว่าลูกจะไปซ้อมดนตรีที่โรงเรียน หรือลูกจะไปซ้อมกีฬา เพื่อที่จะตามดูแลลูก ดูว่าลูกจะปลอดภัยไหม
  • ไม่ให้ลูกได้ทำอะไรด้วยตัวเองแม้เป็นเรื่องเล็ก ๆ เช่น การถือจานข้าวไปเก็บไว้ที่อ่างล้างจาน เพราะกลัวจานตกแตก บาดเท้าลูก กลัวว่าลูกจะร้องไห้และเจ็บตัว
  • ไม่ให้ลูกไปค้างอ้างแรมนอกบ้าน โดยเฉพาะไปนอนที่บ้านเพื่อน เพราะกลัวอันตรายจากคนแปลกหน้า
  • ไม่ให้ลูกไปเข้าค่ายที่โรงเรียน หรือไปทัศนศึกษากับทางโรงเรียน เพราะกลัวอุบัติเหตุจะเกิดขึ้นกับลูก
  • ถามลูกในทุกวันเกี่ยวกับชีวิตในรั้วโรงเรียนซึ่งลูกไม่ใช่นักเรียนประจำ ถามว่าแต่ละชั่วโมงลูกทำอะไรบ้าง อย่างละเอียด
  • คุณพ่อคุณแม่แนะนำลูกเกี่ยวกับวิธีการว่าทำอย่างไรถึงจะสำเร็จ เพราะคุณแม่ไม่อยากใหลูกต้องเผชิญกับความล้มเหลว และความเสียใจ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการสอบแข่งขัน หรือสอบคัดเลือกตัวแทนต่าง ๆ
  • คุณพ่อคุณแม่ตัดสินใจแทนลูกในทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเสื้อผ้าที่จะใส่ในแต่ละวัน รวมไปถึงเมื่อเขาโตคุณก็ยังขับรถไปรับไปส่ง
  • คุณพ่อคุณแม่ต้องให้ลูกอยู่ในสายตาตลอด เพราะไม่ต้องการและไม่อนุญาตให้ลูกมีเรื่องส่วนตัว หรือความลับกับคุณพ่อคุณแม่
  • เมื่อลูกลองตัดสินใจอะไรด้วยตัวเองแล้วมาบอกคุณพ่อคุณแม่ คุณพ่อคุณแม่ก็อารมณ์เสีย เนื่องจากการตัดสินใจนั้นไม่ถูกใจ และไม่ได้ดั่งใจคุณพ่อคุณแม่

ผลเสียของการปกป้องลูกมากเกินไป

จากพฤติกรรมที่กล่าวมาข้างต้น แม้ว่าหลาย ๆ ครอบครัวจะไม่ได้เป็นอย่างนั้นไปเสียหมด อย่างไรก็ตาม ผลเสียของการเลี้ยงดูลูกในแบบที่กล่าวไปนั้นก็ส่งผลเสียได้อยู่ดีค่ะ ดังนี้

ไม่เห็นคุณค่า และขาดการนับถือในตัวเอง (Low Self Esteem)

เนื่องจากลูกไม่เคยได้ลองทำอะไรด้วยตัวเอง ลูกจึงไม่มีความมั่นใจ ไม่มีความภาคภูมิใจในตัวเอง และจะคิดว่าตัวเองไม่มีความสามารถ ไม่มีใครต้องการ

ขาดทักษะในการตัดสินใจด้วยตัวเอง

เพราะลูกไม่เคยมีโอกาสได้ลองตัดสินใจด้วยตัวเอง จึงไม่ได้เรียนรู้ขั้นตอน การรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ก่อนการตัดสินใจ

เกิดความวิตกกังวล

หากวันหนึ่งลูกได้รับอนุญาตให้ต้องตัดสินใจอะไรบางอย่าง ลูกจะเกิดความวิตกกังวลมาก เนื่องจากที่ผ่านมาคุณพ่อคุณแม่ตัดสินใจให้ตลอด

ไม่สามารถจัดการปัญหาชีวิตตัวเองได้

เหตุเพราะที่ผ่านมา มีคุณพ่อคุณแม่คอยตัดสินใจ คอยดูแลชีวิตความเป็นอยู่ในทุกด้าน ไม่ต้องแบกรับปัญหาต่าง ๆ เอง จึงไม่รู้วิธีการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น

ความรักที่มีต่อลูกของคุณพ่อคุณแม่เป็นเรื่องปกติค่ะ แต่การรักลูกมากเกินไป ปกป้องลูกในทุกเรื่อง จะส่งผลเสียมากกว่าผลดี เพราะฉะนั้นคิดใหม่ ทำใหม่กันนะคะคุณพ่อคุณแม่ รักลูกควรให้ลูกได้เรียนรู้การใช้ชีวิตด้วยตัวเองนะคะ

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP