เพื่อนในจินตนาการ คืออะไร? ควรกังวลไหม?

การเลี้ยงลูกวัย 6 ขวบขึ้นไป

เคยไหมคะที่คุณพ่อคุณแม่ได้ยินหรือเห็นลูกพูดคุยอยู่คนเดียว พูดกับใครไม่รู้ เรามองไม่เห็น ทำเอาคุณพ่อคุณแม่หลาย ๆ คนอาจกังวลว่าลูกเราปกติหรือเปล่า หรือลูกเรามีอาการทางจิต? ไม่ใช่ค่ะ ไม่ใช่ทั้งสองอย่าง แบบนี้เขาเรียกว่าลูกมี “เพื่อนในจินตานาการ” ค่ะ แล้วเพื่อนในจินตนาการแบบนี้ คุณพ่อคุณแม่ควรกังวลไหม? แล้วสิ่งนี้จะส่งผลดีต่อลูกหรือเปล่า ควรแก้ไข หรือปล่อยไป วันนี้เราจะมาพูดคุยเรื่องนี้กันค่ะ

เพื่อนในจินตนาการ คืออะไร?

เพื่อนในจินตนาการ หรือ Imaginary Friend คือ เพื่อนที่ลูกอุปโลกน์หรือสร้างขึ้นมา ซึ่งสิ่งนั้น ๆ เป็นสิ่งที่ไม่มีชีวิต สามารถเป็นได้ทั้งตุ๊กตา สัตว์ หรือสิ่งของ มีทุกขนาด ทุกรูปร่าง เพื่อนในจินตนาการนี้อาจสามารถอุ้มไปด้วยในที่ใดก็ได้ หรืออาจจะอยู่เฉพาะที่ก็ได้ รวมไปถึงอาจปรากฏตัวอยู่ตลอดเวลาหรือมาเฉพาะบางเวลาก็ได้เช่นกัน

สาเหตุที่เด็กสร้างเพื่อนในจินตนาการขึ้นมา

สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่สงสัยอยากรู้มากที่สุด เพื่อเป็นการทำความเข้าใจในกระบวนการด้านความคิดของลูก คงเป็นอะไรไปไม่ได้นอกจากว่าเพราะอะไรลูก ๆ ถึงต้องสร้างเพื่อนในจินตนาการขึ้นมา ไปค่ะ เราไปดูกัน

  • เพราะลูกต้องการคนที่รับฟังและให้การสนับสนุนเขา
  • ต้องการเพื่อนเล่นที่ยอมได้ทุกอย่าง
  • ต้องการให้ทำในสิ่งที่ตัวเองทำไม่ได้
  • ต้องการให้เพื่อนในจินตนาการของตัวเองเป็นสิ่งพิเศษสำหรับเขาคนเดียว
  • เพราะเพื่อนในจินตนาการไม่สามารถตัดสินความถูก-ผิดในตัวลูกได้

วิธีจัดการกับเพื่อนในจิตนาการ

ฟัง ๆ ดูเพื่อนในจินตนาการจะสามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกได้หลายอย่างทีเดียว แต่…ก็มีบ้างเหมือนกันในบางกรณีที่ดูเหมือนลูกจะให้ความสำคัญมากเกินไป ซึ่งต้องเป็นหน้าที่ของคุณพ่อคุณแม่ที่ต้องจำกัดขอบเขตและจัดการ ดังนี้ค่ะ

ขอให้ทำสิ่งต่าง ๆ ให้กับเพื่อนในจินตนาการ

บางครั้งคุณแม่อาจถูกขอให้ทำขนม หรือจัดเตียงให้กับเพื่อนในจินตานาการบ้าง ลำพังเรื่องการจัดเตียงแบบเล็กน้อยคงไม่เป็นอะไร แต่ถ้าหากถูกขอให้ซื้อเตียงให้เป็นเรื่องเป็นราว แบบนี้คุณแม่ต้องพูดคุยกับลูกให้เข้าใจถึงสาเหตุว่าเพราะอะไรที่เราไม่สามารถทำตามคำขอได้ เช่น แม่มีหนูที่เป็นลูกอยู่คนเดียว ถ้าจะให้แม่ต้องเสียเงินซื้อข้าวของให้เพื่อนของหนู แม่มีเงินจำกัด แล้วถ้าแม่เงินหมด แม่ก็อาจจะไม่มีเงินพาหนูไปเที่ยว หรือซื้อเสื้อผ้าสวย ๆ ให้หนูแล้วก็ได้นะคะ แบบนี้หนูโอเคไหม? เป็นต้น แล้วรับฟังความคิดเห็นของลูกนะคะ

ให้พูดต่อรองกับเพื่อนในจินตนาการ

หากคุณแม่เห็นว่าในตู้เสื้อผ้ามีเสื่อผ้าที่เล็กเกินไป ลูกใส่ไม่ได้แล้ว ต้องการจะโล๊ะเพื่อการบริจาค แล้วคุณแม่ถามลูกว่า “ชุดนี้แม่โล๊ะได้ไหมคะเพราะมันเล็กสำหรับหนูแล้ว?” แล้วลูกตอบว่า “หนูต้องถามแพทตี้ก่อน” แบบนี้ให้คุณแม่บอกลูกว่า “แต่แม่อยากฟังความคิดเห็นของหนูมากกว่าค่ะ

โยนความผิดให้เพื่อนในจินตนาการ

เป็นเพราะลูกกลัวความผิด ทำผิดแล้วกล้ารับผิด ทางออกเดียวในความคิดลูกก็คือ โยนความผิดให้เพื่อน แบบนี้คุณแม่สามารถอธิบายกับลูกได้ค่ะว่า “เพื่อนของหนูเป็นสิ่งที่ไม่มีชีวิต ไม่สามารถทำสิ่งนี้ได้” เป็นต้น

จากหัวข้อข้างต้นที่กล่าวมา จะเห็นได้ว่าสิ่งที่ลูกพึ่งพาไม่ใช่คุณพ่อคุณแม่แต่เป็น “เพื่อนในจินตนาการ” แทน ซึ่งทางด้านจิตวิทยาสิ่งที่น่ากังวลจะไม่ใช่เรื่องของเพื่อนในจินตนาการแล้ว แต่เป็นเรื่องของ “การเลี้ยงดูและการให้เวลาคุณภาพกับลูก” มากกว่า การโยนความผิดให้เพื่อนจะทำให้เราเห็นได้ชัด และเป็นไปได้สูงว่า ก่อนหน้านี้ลูกเคยมีประสบการณ์ที่ไม่ดีเกี่ยวกับการถูกลงโทษอย่างรุนแรงมาก่อน จึงส่งผลให้เมื่อทำผิด ลูกจะไม่กล้ารับผิด และโยนความผิดให้คนอื่นซึ่งไม่มีตัวตน การเลี้ยงลูกต้องอาศัยการปรับตัวของทั้งสองฝ่ายค่ะ คุณพ่อคุณแม่เองก็ต้องปรับวิธีการเลี้ยงลูก เพื่อที่จะปรับความคิดของลูกให้ถูกต้องต่อไป ที่สำคัญ ไม่ควรใช้อารมณ์ในการลงโทษ แต่ก่อนการลงโทษ ควรพูดคุยกับลูกให้ลูกเข้าใจเหตุผลที่ต้องลงโทษเสียก่อน

เพื่อนในจินตนาการไม่ใช่เรื่องที่น่ากังวลหากลูกใช้ไปในทางที่ถูกต้อง เช่น เพื่อส่งเสริมความมั่นใจให้กับตัวเอง เพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ ฯลฯ แต่เชื่อเถอะค่ะ อะไร ๆ ก็ไม่เท่ากับการที่คุณพ่อคุณแม่มีเวลาคุณภาพให้กับลูกค่ะ

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP