“การกระโดด” เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่สามารถเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับลูกน้อยได้ค่ะ นอกจากความแข็งแรงด้านร่างกายแล้ว ลูกจะรู้สึกสนุก เพลิดเพลินไปด้วยเพราะเขาจะรู้สึกว่าเขาได้เล่น วันนี้เราจะมาพูดถึงประโยชน์ของการกระโดดกันค่ะว่า เพราะอะไรคุณพ่อคุณแม่ควรส่งเสริมให้ลูกกระโดด และมีกิจกรรมอะไรที่บ้างที่กระโดดแล้วเพิ่มความสูงให้ลูกได้
สารบัญ
ความสำคัญของ “การกระโดด”
การกระโดด เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่สร้างความสนุก และความเพลิดเพลินให้กับลูกน้อยได้ และด้วยความเพลิดเพลินนี้เอง ลูกจึงได้ความแข็งแรงของร่างกายโดยที่ไม่รู้ตัว เราไปดูกันดีกว่าค่ะว่า เพราะอะไร “การกระโดด” จึงมีความสำคัญต่อเด็ก
- เหมาะกับเด็กที่ไม่ค่อยมีเวลาออกกำลังกาย หรือเด็กที่ไม่ค่อยได้มีเวลาว่างไปเล่นกีฬาอื่น ๆ
- ลูกได้ความแข็งแรงโดยที่ไม่รู้ตัว เพราะด้วยความสนุกและความเพลินเพลินจึงทำให้ลูกกระโดดได้นานอย่างสนุกสนาน
- ขณะที่เด็ก ๆ กระโดด เขาจะได้เรียนรู้วิธีการควบคุมการเคลื่อนไหวและการจัดระเบียบของร่างกายของตัวเอง
- ช่วยเสริมบุคลิกที่ดีให้กับลูก รวมถึงช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับการเติบโตของลูกน้อยต่อไป
พัฒนาการการกะโดดเริ่มเมื่อใด
ปกติแล้ว เด็กที่เริ่มเดินได้เขาก็จะเริ่มปีนป่าย ขึ้นลงเฟอร์นิเจอร์ เดินขึ้น-ลงบันได นั่นเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าลูกของคุณแม่เริ่มที่จะกระโดดแล้วค่ะ โดยทั่วไปแล้วจะเริ่มในช่วงอายุ 16 – 18 เดือน โดยประมาณ ซึ่งสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรทำก็คือ
ไม่หงุดหงิด หากลูกยังไม่กระโดด
หากลูกของคุณพ่อคุณแม่มีอายุได้ 3 ขวบ หรือ 3 ขวบครึ่ง แล้วเขายังไม่มีทีท่าจะกระโดด คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องกดดันตัวเองนะคะ ไม่ต้องกังวลหรือเครียดไป เพราะเด็กแต่ละคนจะมีพัฒนาการที่แตกต่างกันค่ะ
ไม่เร่งรัด บังคับให้ลูกกระโดดก่อนถึงเวลา
เพราะพัฒนาการของเด็กแต่ละคนต่างกัน การเรียนรู้ของเด็กแต่ละคนก็ต่างกัน ความพร้อมในการจะเริ่มทำกิจกรรมอะไรก็ต่างกัน การบังคับให้ลูกกระโดดในขณะที่ลูกยังไม่พร้อม อาจส่งผลให้ลูกเกิดอาการบาดเจ็บได้
เทคนิคการเพิ่มความสูง
การเพิ่มความสูงนอกจากจะออกกำลังและอาศัยการกระโดดแล้ว ยังมีกิจกรรมอื่น ๆ ที่คุณพ่อคุณแม่สามารถทำควบคู่กันไปด้วยได้ ดังนี้ค่ะ
ดูแลเรื่องโภชนาการที่เหมาะสมให้ลูก
หลัก ๆ ก็จะเน้นในเรื่องการทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ต่อวัน และควรเน้นอาหารที่สารอาหารจำพวก แร่ธาตุ วิตามิน โปรตีน และน้ำสะอาดให้มากสักหน่อย เนื่องจากมีวิตามินหลาย ๆ ตัวที่มีส่วนช่วยในการเพิ่มความสูง ได้แก่ วิตามินเอ วิตามินบี12 และวิตามินดี เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีสารอาหารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกันด้วย เช่น แคลเซียมและฟลูออไรด์ ที่มีส่วนช่วยให้กระดูกแข็งแรงไม่เปราะง่าย
ดื่มนมทุกวัน
ควรดื่มนมทุกวัน อย่างน้อยวันละ 2 แก้ว หลังอาหารเช้า – เย็น แต่สำหรับเด็กที่แพ้โปรตีนจากนมวัว อาจจะหันมาให้ลูกดื่มนมอัลมอนด์แทนก็ได้ค่ะ เพราะในปัจจุบันนมอัลมอนด์ก็มีสารอาหารที่ร่างกายต้องการอย่างแคลเซียม และวิตามินต่าง ๆ เพียบ
นอนหลับให้เพียงพอ
การนอนหลับให้เพียงพอควรนอนให้ได้วันละ 7 – 8 ชั่วโมง และที่สำคัญควรเข้านอนเป็นเวลาให้เหมือนกันทุกวัน เนื่องจากในร่างกายของเรามีฮอร์โมนที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับความสูงหรือที่เรียกว่า โกรธ ฮอร์โมน (Growth Hormone) อยู่ ซึ่งจะหลั่งออกมาช่วงเที่ยงคืน – ตี 1 แต่ต้องมีข้อแม้ว่า ร่างกายจะต้องหลับลึกไปแล้ว 1 ชั่วโมง ซึ่งจากผลงานการวิจัยหลาย ๆ ชิ้นระบุว่า โดยทั่วไปร่างกายคนเราจะหลับลึกก็คือ ผ่านไปแล้ว 1 ชั่วโมง ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ต้องคำนวณเวลาในการเข้านอนลูกให้ดีนะคะ
งดเครื่องดื่มน้ำอัดลม และแอลกอฮอล์
การงดเครื่องดื่มที่อัดแก๊ส น้ำอัดลม และแอลกอฮอล์จะเป็นการช่วยเพิ่มโอกาสให้ลูกสูงขึ้นได้ค่ะ หรือถ้างดไม่ได้ก็พยายามดื่มให้ได้น้อยที่สุด
กระโดดเชือก
ควรกระโดดเชือกให้ได้ทุกวัน วันละ 30 นาที และควรให้ได้ 600 ครั้ง ในช่วงแรกของการกระโดดเชือก อาจแบ่งเป็นเป็นช่วง ๆ ก็ได้ค่ะ แต่ต้องทำให้ครบ 30 นาที ถึงจะได้ผล ไม่นับรวมเวลาที่พักนะคะ
กระโดดสูง
การกระโดดสูง อาจเป็นการกระโดดเล่นจากพื้นหรือแทรมโพลีนก็ได้ค่ะ โดยการกระโดดให้แบ่งออกเป็นเซท เซทละ 10 นาที โดยทำซ้ำที่มากกว่า 5 เซท ขึ้นไป
การกระโดดนับเป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้ลูกน้อยมีความแข็งแรงและสามารถเพิ่มความให้ได้ เพียงแต่ต้องกระโดดอย่างถูกวิธี หากลูกยังไม่พร้อมก็ไม่ควรเร่งรัดนะคะ เพราะผลที่ได้จะมีแต่เสียกับเสีย
อ้างอิง fitnesskid.com, blastentertainment.com.au