คุณแม่ลูกอ่อนขี้ลืมหลังคลอด พร้อมวิธีรับมือ

การคลอดและหลังคลอด
JESSIE MUM

คุณแม่ลูกอ่อนมือใหม่…เคยสงสัยตัวเองมั้ยคะ ว่าทำไมหลังคลอดลูกแล้วรู้สึกเหมือนตัวเองความจำสั้นจัง? หรือกำลังคุยๆ อยู่พอมีอะไรเข้ามาแทรกกลับนึกเรื่องเดิมที่จะคุยไม่ออกแล้ว ลืมไปซะงั้นอาการเหล่านี้จะเป็นเรื่องการลืมแบบเล็กๆ น้อยๆ ค่ะ ถ้าหากคุณแม่คนไหนทำลังเป็นอยู่ขณะนี้ วันนีผู้เขียนมีรายละเอียดเกี่ยวกับสาเหตุ พร้อมวิธีรับมือมาฝากค่ะ

ข้อมูลทางการแพทย์

อาการนี้ทางการแพทย์เรียกว่า ความจำบกพร่องหลังคลอด (Mumnesia)หรือภาวะความจำเสื่อมในช่วงตั้งครรภ์และสืบเนื่องต่อมาหลังคลอด ล่าสุดมีข้อมูลจากนักวิจัยที่ทำการศึกษาเรื่องนี้พบว่าสิ่งนี้นับเป็นเรื่องปกติและเป็นเพียงอาการชั่วคราวเท่านั้น พร้อมกันนี้ยังได้ค้นพบถึงสาเหตุของความจำบกพร่องหลังคลอดอีกด้วย เราไปดูกันทีละข้อเลยค่ะ

ข้อมูลงานวิจัยเกี่ยวกับความจำบกพร่องหลังคลอด

เมื่อปี 2008 ที่ผ่านมามหาวิทยาลัยบอสตันและสภาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเสตส์(MIT) ได้ทำการศึกษษวิจัยและสามารถสรุปสาเหตุของอาการความจำบกพร่องหลังคลอดไว้ 4 ข้อด้วยกัน ได้แก่ ควาเครียดอันเกิดจากการดูแลลูกน้อยแรกเกิดตลอดเวลา ฮอร์โมนความเจ็บปวดของร่างกายหลังคลอด และความเหนื่อยล้าอ่อนเพลีย

“เพราะแม่ลูกอ่อนได้จัดลำดับความสำคัญในการดูแลลูกน้อยให้ดีที่สุดมาเป็นอันดับแรก”

ลูแอนน์บริเซนไดน์ แพทย์ด้านประสาทจิตเวชศาสตร์ ซึ่งเป็นหัวหน้าคณะนักวิจัยได้กล่าวไว้ถึงสาเหตุที่คุณแม่ลูกอ่อนมีความจำบกพร่อง

สาเหตุที่ทำให้คุณแม่ลูกอ่อนมีความจำบกพร่อง

สัญชาติญาณและฮอร์โมนของแม่

สัญชาติญาณ
เพราะความเป็น “แม่” ที่อุ้มท้องลูกน้อยมาตลอดระยะเวลากว่า 9 เดือน จึงทำให้เกิดความรักความผูกพัน จนนำมาซึ่งความคิดและความตั้งใจที่ว่า “ฉันจะต้องลูกแลลูกน้อยให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้” ซึ่งเป็นการให้ความสำคัญกับลูกในลำดับแรกๆ ส่วนเรื่องอื่นๆ ค่อยเรียงลำดับตามลงมา

ฮอร์โมนของแม่
เรื่องของฮอร์โมนในร่างกายของคุณแม่ก็นับว่าเป็นอีกหนึ่งส่วนที่ส่งผลกระทบกับอาการความจำบกพร่องของคุณแม่เช่นกัน เพราะคุณแม่จะมีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ขึ้นสูงมากในช่วงหลายเดือนจนนำไปสู่การตั้งครรภ์ และจำตกฮวบลงหลังคลอด ส่งผลให้เกิดอาการขี้หลงขี้ลืมได้ไม่หยุดหย่อน แถมยังต่อเนื่องอีกด้วย ราวกับเป็นโปรโมชั่นฟรีหลังคลอดยังงัยยังงั้น (แต่ไม่อยากได้เลย)

กลไกอัตโนมัติในการรับมือกับปัญหา

ดร.ชารอน ฟีลัน นรีแพทย์จากคณะแพทยศาสตร์นิวเม็กซิโกได้กล่าวไว้ว่า

“ไม่ว่าคุณจะรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม ร่างกายของคุณแม่กำลังรับมือกับความเจ็บปวดด้วยการสูญเสียความทรงจำ”

นอกจากนี้ยังมีการชี้ให้เห็นอีกด้วยว่า “หากผู้หญิงไม่สามารถลืมความเจ็บปวดหลังคลอดได้ คุณและสามีก็อาจจะไม่มีเซ็กซ์กันอีกเลย

การอดหลับอดนอนอย่างรุนแรง

โดยเฉพาะในช่วง 3-6 แรก ที่ลูกน้อยยังต้องตื่นมากินนมแม่ทุกๆ 2-3 ชั่วโมงและทุกวัน ในช่วงนี้เป็นช่วงเวลาที่ต้องเรียนรู้และปรับตัวกันทั้งแม่และลูก เพราะลูกก็เพิ่งจะออกมาสู่โลกภายนอกซึ่งต่างจากตอนที่เค้าอยู่ในท้องของคุณแม่ที่ทั้งอบอุ่นและไม่ต้องทานอาหารเอง ในขณะที่คุณแม่เวลาไปไหนมาไหนก็จะมีลูกน้อยซึ่งอยู่ในท้องตามไปด้วยทุกแห่ง จะทานอาหารอะไรลูกก็จะได้รับทางสายสะดือ ไม่ต้องคอยตื่นมาให้นมกันบ่อยแม้กลางดึก จึงทำให้คุณแม่ขณะท้องมีเวลาที่จะพักผ่อนได้มากกว่า
สิ่งนี้เองที่ทำให้ร่างกายคุณแม่อ่อนเพลียอย่างรุนแรง ซึ่งการพักผ่อนไม่เพียงพอนี้เองทำให้คุณแม่มีความจำที่บกพร่องไป โดยเฉพาะช่วงหลังคลอด

การให้นมลูก

หืมมม…การให้นมลูกก็ทำให้ความจำบกพร่องด้วยหรอ?

จากงานวิจัยพบว่า การให้นมลูกทำให้คุณแม่เกิดภาวะความจำบกพร่องหลังคลอดได้ในบางคน เพราะขณะที่คุณแม่ให้นมลูกน้อยนั้น ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนเพื่อให้คุณแม่ผ่อนคลาย คุณแม่จะรู้สึกสบายๆ เคลิ้มๆ สิ่งนี้เองจึงนำไปสู่ภาวะความจำบกพร่องค่ะ

วิธีรับมือกับอาการความจำบกพร่อง

ใช้วิธีการจด

หากคุณแม่จำไม่ได้ หรือจำสิ่งที่จะทำได้ไม่หมด ให้หาสมุดมาจดเพื่อช่วยเตือนความทรงจำได้ค่ะ เช่น ให้นมลูกครั้งล่าสุดตอนกี่โมง เป็นต้น

กินอาหารบำรุงสมอง

เน้นทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะเนื้อปลาที่มีโอเมก้า3

พยายามหาเวลาพักผ่อน

ลูกนอน แม่นอนด้วย” พยายามหาเวลาพักผ่อนให้ได้มากที่สุด อย่างน้อยได้งีบนิดหน่อยก็ยังดีค่ะ

มองในแง่ดี

อาการความจำบกพร่องนี้จะเป็นอยู่แค่ 2-3 เดือน ก็จะค่อยๆ หายได้เองค่ะ คิดซะว่าแป๊บเดียวเดี๋ยวก็ดีขึ้น

คุณแม่ลูกอ่อนทราบกันอย่างนี้แล้วก็ไม่ต้องกังวลนะคะ แป๊บเดียวเดี๋ยวก็หายค่ะ

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP