5 วิธีสื่อสารกับลูกในครรภ์เพื่อเสริมพัฒนาการที่ดี

การคลอดและหลังคลอด

สาว ๆ ทั้งหลายที่กำลังเริ่มตั้งครรภ์ หรือเพิ่งได้รับข่าวดีว่าตั้งครรภ์ ก็คงจะมีความรู้สึกดีใจจนบอกไม่ถูกกันนะคะ ซึ่งก็ต้องร่วมดีใจกับคุณแม่ทุก ๆ คน ด้วยค่ะ

ในระยะเดือนที่ 1-3 คุณแม่ก็คงจะต้องรักษาครรภ์เป็นอย่างดี เพราะในช่วงนี้เป็นช่วงของการเริ่มสร้างเซลต่าง ๆ ของลูกในครรภ์ ซึ่งหากคุณแม่ดูแลเรื่องอาหารการกินได้เป็นอย่างดี และบำรุงรักษาร่างกายตามที่แพทย์แนะนำก็จะทำให้ชีวิตของเด็กในครรภ์มีการก่อตัวที่แข็งแรงมากขึ้น ๆ ตามลำดับ

การเข้าสู่เดือนที่ 3 ของลูกในครรภ์เริ่มเป็นช่วงที่ลูกอาจจะมีการตอบสนองได้บ้าง แต่คุณแม่อาจจะไม่ทราบจนกระทั่งเข้าเดือนที่ 4 ค่ะ

ในช่วงเดือนนี้การสร้างเสริมเซลต่าง ๆ ของลูกในครรภ์จะเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างการรับรู้การได้ยินก็เริ่มพัฒนามากขึ้นด้วยค่ะ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ดีหากคุณแม่จะเริ่มต้นสื่อสารกับลูกในครรภ์นช่วงเดือนที่ 4 นี้นะคะ และถ้าคุณแม่ยังไม่รู้ว่าจะทำอย่างไร หรือจะสื่อสารกับลูกในครรภ์อย่างไรดี เราลองมาดู 5 วิธีง่าย ๆ ที่คุณแม่สามารถทำได้ทุกวันและจะเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างคุณแม่กับลูกในครรภ์เลยค่ะ

5วิธีสื่อสารกับลูกในครรภ์

วิธีที่ 1 ทักทายลูกในยามเช้า

หลังจากคุณแม่ตื่นนอนและ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์เรียบร้อยแล้ว สิ่งหนึ่งที่ควรเริ่มทำเป็นอันดับแรกของทุก ๆ เช้าก็คือ การเดินสูดอากาศดี ๆ หรือ การเดินเพื่อออกกำลังกายเล็ก ๆ น้อย ๆ เพื่อให้ร่างกายของคุณแม่แข็งแรง ซึ่งในระหว่างนี้ก็สามารถทักทายกับลูกน้อยในครรภ์เพื่อเป็นการตั้งต้นความสัมพันธ์กันในทุก ๆ วันนะคะ

คุณแม่ควรใช้วิธีการเริ่มด้วยการสัมผัสเบา ๆ ที่ท้อง และ เริ่มสื่อสารด้วยคำพูดง่าย ๆ กับลูกน้อยในครรภ์ เช่น

“อรุณสวัสดิ์ หรือ สวัสดีนะคะลูกแม่
วันนี้อากาศดี แม่กำลังเดินออกกำลังกาย เพื่อให้ลูกได้แข็งแรง แม่อยากให้ลูกแข็งแรงมาก ๆ นะคะ
เช้าวันนี้แม่มีความสุขมาก ๆ ที่ได้อุ้มลูกมาเดินด้วยกันนะคะ”

คำพูดเหล่านี้ ไม่ได้ปรุงแต่ง แต่เป็นคำพูดที่คุณแม่ทุกคนมีความต้องการมากที่สุดเมื่อวันใดที่ลูกน้อยของคุณคลอดออกมา

คุณแม่ก็สามารถทักทายลูกน้อยในครรภ์เช่นนี้ได้ในทุก ๆ เช้าค่ะ

วิธีที่ 2 คุยกับลูกในยามสาย

หลังจากที่คุณแม่พักผ่อนจากช่วงเวลาเช้าแล้ว ก่อนรับประทานอาหารกลางวัน ก็อาจจะหันมาพูดคุยกับลูกในครรภ์ตอนสาย ๆ กันได้อีกนะคะ เพื่อให้ประสาทสัมผัสได้กระตุ้นการรับรู้ของลูกน้อยในครรภ์ในอีกช่วงเวลาหนึ่งค่ะ ในเวลาแบบนี้คุณแม่สามารถใช้วิธีการพูดคุยเกี่ยวกับบรรยากาศในบ้านให้ลูกได้รับรู้ก็ได้นะคะ ถ้าพูดทุกวันลูกน้อยก็จะค่อย ๆ รับรู้ไปทุกในค่ะ เรื่องใกล้ ๆ ตัวเป็นเรื่องที่สำคัญไม่ควรมองข้ามไปนะคะ ใช้เวลาสัก 5-10 นาทีก็เพียงพอในการพูดคุยช่วงเวลาแบบนี้ค่ะ

วิธีที่ 3 กล่อมลูกนอนในยามบ่าย

หลังอาหารกลางวัน เชื่อว่าทั้งคุณแม่และคุณลูกก็อยากที่จะพักผ่อนบ้าง เพื่อให้ร่างกายได้เติมเต็มจากที่อาจจะรู้สึกอ่อนล้าบ้างตั้งแต่เช้าถึงเที่ยงค่ะ หากคุณแม่ทำได้ก็ใช้วิธีการร้องเพลงเบา ๆ สบาย ๆ เพื่อกล่อมลูกในครรภ์ก่อนที่คุณแม่จะพักผ่อนนะคะ โดยที่คุณแม่อาจจะหาเพลงเพราะ ๆ ฟังเพลิน ๆ ที่จดจำได้มาร้องกล่อมลูกนะคะ หรืออาจจะเปิดเพลงให้ลูกฟังในยามบ่ายพร้อม ๆ กับคุณแม่ก็ได้ค่ะ สื่อสัมพันธ์ก็จะสานต่อได้เป็นอย่างดี เพราะเพลงเป็นส่วนสร้างอารมณ์ให้แจ่มใสได้ในยามบ่ายเช่นนี้นะคะ

วิธีที่ 4 ชวนลูกคุยในยามเย็น

เวลาอาหารเย็นมาถึง ก็ไม่ยากเลยที่คุณแม่จะชวนลูกคุยในระหว่างรับประทานอาหารนะคะ อาจจะใช้วิธีการชวนคุยโดยบอกเล่าถึงอาหารวันนี้ว่ามีอะไรบ้าง ให้ประโยชน์ต่อลูกน้อยอย่างไร เรื่องอาหารก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ทำให้เห็นว่าคุณแม่ใส่ใจเสมอในทุก ๆ วันเพื่อลูกในครรภ์นะคะ

วิธีที่ 5 ขับกล่อมลูกในยามนอน

ใกล้เวลานอนก็เป็นอีกช่วงเวลาหนึ่งที่คุณแม่ห้ามลืมที่จะสื่อสารกับลูกในครรภ์นะคะ คุณแม่อาจจะใช้วิธีการเปิดเพลงเบา ๆ และพูดคุยกับลูกในครรภ์ โดยมีคุณพ่ออยู่ด้วยก็จะยิ่งทำให้ลูกน้อยได้สัมผัสเสียงทั้งของคุณพ่อคุณแม่ ซึ่งก็จะเป็นการขับกล่อมให้ลูกในครรภ์สดชื่นก่อนนอนได้นะคะ

ทั้ง 5 วิธีนี้คือการใช้เวลามาเป็นส่วนช่วยให้คุณแม่สื่อสารกับลูกในครรภ์ได้โดยที่ไม่รู้สึกอึดอัดใจ เพียงแต่ต้องทำเป็นประจำทุกวัน เพราะพัฒนาการของลูกสามารถเสริมสร้างได้จากการสื่อสารอย่างต่อเนื่องในทุก ๆ วันของคุณแม่สู่คุณลูกนะคะ
โดยเฉพาะเมื่ออายุครรภ์ของลูกมากขึ้นเป็น 5 เดือน 6 เดือน 7 เดือน 8 เดือน จนกระทั่ง 9 เดือน การรับรู้และพัฒนาการในด้านต่าง ๆ รวมทั้งการสัมผัสความรู้สึกจากคุณแม่สู่ลูกในครรภ์ก็จะยิ่งมีมากขึ้น สิ่งเหล่านี้จะทำให้เกิดผลดีต่อทักษะและพัฒนาการของลูกน้อย อีกทั้ง ยังก่อให้เกิด ความรัก ความผูกพัน ความอิ่มเอมใจ ที่ทั้งคุณแม่และคุณลูกรับรู้ได้ตลอดช่วงเวลาที่สื่อสารซึ่งกันและกันนะคะ

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP