ดูแลแผลผ่าคลอดอย่างไรให้ถูกวิธี ห่างไกลการติดเชื้อ

การคลอดและหลังคลอด
JESSIE MUM

แรกเริ่มเดิมที คุณแม่หลายๆ ท่านคงเลือกที่จะคลอดลูกด้วยวิธีธรรมชาติ แต่…อาจจะมีเหตุการณ์เฉพาะหน้าบางอย่างส่งผลให้คุณแม่ไม่สามารถคลอดลูกด้วยวิธีธรรมชาติได้ คุณหมอจึงต้องตัดสินใจทำการคลอดด้วยวิธีผ่าแทนโดยยึดถือเรื่องความปลอดภัยของทั้งคุณแม่และลูกเป็นหลัก
เมื่อคุณแม่ต้องใช้วิธีการผ่าคลอด จะมีวิธีดูแลรักษาแผลอย่างไรไม่ให้ติดเชื้อ หรืออาการอย่างไรที่คุณแม่ควรรีบไปพบคุณหมอ เราไปไล่เรียงดูกันทีละข้อเลยค่ะ

ลักษณะของแผลผ่าคลอด

แผลผ่าคลอดสามารถทำได้ใน 2 ลักษณะ ดังนี้ค่ะ

การผ่าคลอดแนวตั้ง

โดยทั่วไปการผ่าคลอดนั้นต้องผ่าลงไปถึง 7 ชั้น โดยเริ่มจากผ่าตัดเนื้อผ่านชั้นผิวหนัง ถัดไปจะเป็นชั้นไขมันใต้ผิวหนัง ต่อมาคือชั้นเยื่อหุ้มกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อ เยื่อหุ้มชั้นท้อง ผนังเยื่อหุ้มมดลูก และชั้นสุดท้ายคือ กล้ามเนื้อชั้นมดลูก

การผ่าคลอดแนวตั้งจะเริ่มผ่าตั้งแต่ใต้สะดือลงมาถึงหัวหน่าวประมาณ 10 เซนติเมตร ซึ่งการผ่าคลอดแนวตั้งนี้จะทำให้การเข้าถึงช่องท้องได้ง่าย และที่สำคัญจะช่วยให้แหวกกล้ามเนื้อได้โดยไม่ทำให้กล้ามเนื้อฉีกขาด

ข้อดี การผ่าคลอดแนวตั้ง

  • เป็นแนวการผ่าคลอดที่มาตรฐานที่สามารถผ่าตัดอวัยวะอื่น ๆ ในช่องท้องได้อีกด้วย
  • ใช้เวลาในการเข้าถึงช่องท้องได้เร็ว เหมาะกับกรณีที่ต้องทำการผ่าตัดทำคลอดอย่างเร่งด่วน
  • หากมีกรณีจำเป็น สามารถขยายแผลได้ง่ายกว่า
  • ช่วยให้ทารกคลอดออกมาง่ายกว่า โดยเฉพาะในกรณีที่ทารกอยู่ผิดท่า หรือมีตัวใหญ่มากกว่าปกติ
  • พบภาวการณ์แทรกซ้อนจากแผลผ่าตัดได้น้อยกว่า อาทิ ก้อนเลือดในผนังหน้าท้อง

ข้อเสีย การผ่าคลอดแนวตั้ง

  • จะเจ็บแผลผ่าตัดมากกว่า เหตุจากบาดแผลอยู่ในแนวตั้ง ทำให้จะลุกจะนั่งลำบาก
  • การฟื้นตัวทำให้ช้ากว่า
  • มีแผลเป็นมากกว่า
  • จะเห็นรอยแผลได้ชัดเจน ไม่สามารถใส่เสื้อแบบเปิดพุงได้

การผ่าคลอดแนวนอน หรือบิกินีไลน์

ถ้าเทียบกับข้อแรกแล้ว ข้อนี้จะดีตรงที่ว่ามีแผลเป็นน้อยกว่า เจ็บน้อยกว่า เนื่องจากหลังคลอด หน้าท้องของคุณแม่จะมีความหย่อนอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นแพทย์จึงเลือกที่จะเปิดผิวหนังให้เข้าไปข้างใน เมื่อถึงชั้นของกล้ามเนื้อก็จะเปลี่ยนไปเป็นผ่าแบบแนวตั้งเหมือนวิธีปกติ วิธีนี้จะช่วยให้กล้ามเนื้อไม่ช้ำ และแผลเป็นบนผิวหนังจะสวยกว่าแบบแนวตั้ง

ข้อดี การผ่าคลอดแนวนอน หรือบิกินีไลน์

  • เจ็บแผลน้อยกว่า เพราะรอยแผลผ่าที่เป็นแนวนอนนั้นจะนอนไปตามรอยพับของหน้าท้อง ทำให้เวลาที่ลุกหรือจะนั่งก็จะเจ็บน้อยกว่า
  • แผลเป็นก็จะน้อยกว่า เพราะรอยแผลจะอยู่ตามแนวรอยพับของหน้าท้องพอดี
  • สามารถซ่อนแผลได้ ปิดบังแผลได้ดี สามารถใส่เสื้อผ้าเปิดพุงได้

ข้อเสีย การผ่าคลอดแนวนอน หรือบิกินีไลน์

  • ใช้เวลาในการเข้าถึงหน้าท้องนานกว่า เหมาะกับการผ่าตัดทำคลอดที่ไม่เร่งด่วนมากนัก
  • การผ่าคลอดแนวนี้จะทำให้ยากกว่า โดยเฉพาะกรณีที่คุณแม่มีพังผืดในช่องท้อง
  • ช่วยคลอดทารกได้ยากกว่า เนื่องจากตำแหน่งของรอยแผลนั้นต่ำ อาจต้องเพิ่มอุปกรณ์ช่วยทำคลอด
  • หากต้องทำการผ่าตัดตำแหน่งอื่นในช่องท้องก็จะทำได้ยากกว่า

ทั้งนี้ อาจมีคุณแม่บางท่านอาจมีแผลนูนแดง (คีลอยด์) ได้ “แผลผ่าคลอดนูนแดง (คีลอยด์) แก้ไขได้ไหม ทำอย่างไรให้ยุบลง


แผลผ่าคลอดนูนแดงขึ้นมาชัดมาก จนทำให้ขาดความมั่นใจเลย ทำอย่างไรให้มันหาย? มีหลายวิธีค่ะ คลิกที่นี่

อาการแบบนี้ควรพบแพทย์

  • หากคุณแม่พบว่าตัวเองมีอาการดังกล่าวนี้ ควรไปพบคุณหมอทันทีค่ะ
  • มีอาการเจ็บบริเวณแผลหรือมดลูกมากขึ้น
  • มีรอยแดง บวม หรือแสบร้อนที่แผล
  • มีหนองที่แผล (ไม่ว่าจะไหลหรือไม่ไหลออกมาก็ตาม)
  • ตกขาวมีกลิ่นน้ำคาวปลา
  • มีเลือดออกทางช่องคลอด หรือ มีลิ่มเลือดออกมามาก
  • ขาบวมหรือเจ็บขา
  • มีไข้ขึ้นมากกว่า 38 องศาเซลเซียส

ดูแลแผลผ่าคลอดอย่างไร?

หลังคลอด คุณหมอจะดูแลแผลผ่าตัดให้เรียบร้อย แต่จากนี้ไปคุณแม่ควรเรียนรู้วิธีที่จะดูแลแผลผ่าและปฏิบัติตามคำแนะนำของคุณหมออย่างเคร่งครัด ดังนี้ค่ะ

  • ไม่ยกของหนักในช่วง 6 สัปดาห์แรกหลังคลอด
  • ล้างมือก่อนสัมผัสแผลทุกครั้ง
  • ควรทำการล้างแผลและทำความสะอาดผิวบริเวณโดยรอบแผลอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะผิวบริเวณเชิงกราน
  • หากมีปลายไหมโผล่ออกมา ไม่ควรดึงเอง แต่ควรแจ้งคุณหมอทันที เพื่อเล็มปลายไหม ป้องกันไม่ให้ไหมเกี่ยวเสื้อผ้า ทำให้ระคายเคืองแผลได้
  • ไม่อาบน้ำแบบในอ่าง ควรเปลี่ยนเป็นอาบจากฝักบัวแทน
  • ใช้สบู่อาบน้ำที่มีฤทธิ์อ่อน ไม่ถูสบู่หรือทาแป้งลงบนแผลโดยตรง
  • ซับแผลให้แห้งด้วยผ้าขนหนูสะอาดทุกครั้ง
  • สวมเสื้อผ้าหรือชุดชั้นในที่หลวม ไม่รัดหรือเสียดสีกับแผล
  • ปรึกษาคุณหมอก่อนทุกครั้ง หากจะใช้ยาเพื่อรักษาแผลผ่า
  • ควรเช็ดบริเวณเหนือแผลให้แห้งอยู่เสมอ ป้องกันการอับชื้นของเหงื่อ
  • หากมีอาการผิดปกติ เช่น มีไข้สูง หรือเกิดรอยแดงที่แผล ควรพบคุณหมอทันที เพราะแผลอาจติดเชื้อได้

วิธีการดูแลแผลผ่าคลอดไม่ให้ติดเชื้อ

นอกจากการดูแลแผลอย่างเคร่งครัดแล้ว คุณแม่ยังต้องใส่ใจเรื่องการป้องกันไม่ให้แผลติดเชื้ออีกด้วยนะคะ ทำอย่างไรบ้าง ไปดูกันค่ะ

  • ก่อนกลับมาพักฟื้นที่บ้าน คุณแม่ควรสอบถามเรื่องการดูแลแผลจากคุณหมอให้เข้าใจเสียก่อน และปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด
  • หากต้องทานยาปฏิชีวนะ ควรทานจนหมด ไม่ควรหยุดยาเองหรือลดปริมาณโดยไม่ผ่านการวินิจฉัยของคุณหมอ
  • ทำความสะอาดและเปลี่ยนผ้าพันแผลอย่างสม่ำเสมอ
  • เพราะคุณแม่ต้องให้นมลูก ดังนั้น ควรปรึกษาคุณหมอว่ามีท่าไหนบ้างที่จะสามารถอุ้มให้นมลูกได้โดยไม่ไปกดทับที่แผลขณะให้นม
  • ไม่สวมเสื้อผ้าที่รัดแน่น เพราะจะทำให้เสียดสีกับแผลได้
  • หากมีอาการครั่นเนื้อครั่นตัว ให้ทำการตรวจวัดไข้ทันที
  • หากสงสัยว่าแผลอาจมีการติดเชื้อ ให้รีบไปพบคุณหมอ เพื่อตรวจวินิจฉัยทันที

ทั้งนี้ ทั้งนั้น คุณแม่หลังคลอดที่มีแผลผ่าตัด เมื่อหมดฤทธิ์ยาชาแล้วอาจจะมีอาการเจ็บหรือปวดแผลเป็นระยะ ซึ่งคุณหมอจะให้ยาเพื่อบรรเทาอาการปวดของคุณแม่ แต่ที่สำคัญ คุณแม่ควรลุกเดินบ้าง เพื่อไม่ให้แผลติดเป็นพังผืด อาจจะเจ็บแผลบ้างแต่ก็จะฟื้นตัวและสามารถช่วยเหลือตัวเองได้เร็วมากขึ้น อย่าลืมนะคะ เมื่อคุณแม่กลับบ้าน ยังมีลูกน้อยอีก 1 ชีวิตที่คุณแม่ต้องดูแล สู้ๆ นะคะ

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP