คัดเต้า ปั๊มไม่ออก ภาวะท่อน้ำนมอุดตัน เกิดจากอะไร

นมแม่

คุณแม่ที่อยู่ในระยะให้นมลูก แต่ปล่อยให้มีการคัดเต้าเป็นเวลานาน พอจะปั๊มออกน้ำนมไม่ยอมออกซะนี่ เอาแล้วสิ สัญญาณบ่งบอกแล้วว่าคุณแม่กำลังเผชิญกับภาวะท่อน้ำนมอุดตันอยู่ เกิดจากอะไร? ต้องทำอย่างไร? ไปติดตามกันค่ะ

ภาวะท่อน้ำนมอุดตัน

ภาวะท่อน้ำนมอุดตัน เกิดจากการที่คุณแม่มีอาการคัดเต้ามาก แต่ไม่ได้รับการดูแลอย่างถูกวิธี จึงทำให้เต้านมมีการสะสมของน้ำนมที่คั่งอยู่ในเต้าในปริมาณที่มากเกินไปจนทำให้เกินการอุดตัน ดังนั้น เมื่อน้ำนมใหม่ที่มีการผลิตออกมาอยู่ตลอดเวลาไม่สามารถออกมาได้ จึงทำให้เกิดการสะสมเป็นก้อนแข็ง หรือเป็นลูกที่เต้านม เมื่อกดลงไปจะรู้สึกเจ็บ

สาเหตุ ภาวะท่อน้ำนมอุดตัน

สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้

  • คุณแม่ปล่อยให้มีการสะสมของน้ำนมที่มากเกินไป และไม่ได้ขับออกตามเวลา
  • ปล่อยให้เต้านมคัดตึงเป็นเวลานาน
  • ร่างกายขาดน้ำ ดื่มน้ำไม่เพียงพอกับที่ร่างกายต้องการ
  • สวมเสื้อชั้นในที่รัดแน่นเกินไป ส่งผลให้น้ำนมไหลเวียนไม่สะดวก
  • สวมเสื้อชั้นในที่หลวมมากเกินไป ไม่กระชับพอดี ทำให้เต้านมย้อย ซึ่งจะไปกดทับท่อน้ำนม ทำให้น้ำนมไหลเวียนได้ไม่สะดวกเช่นกัน
  • คุณแม่กินอาหารที่มีปริมาณไขมัน หรืออาหารที่มีความมันมากเกินไป อาทิ ชีส หรือเนย เป็นต้น

วิธีป้องกันไม่ให้ท่อน้ำนมอุดตัน

วิธีป้องกันไม่ให้ท่อน้ำนมอุดตัน สามารถทำได้หลายวิธี คุณแม่สามารถเลือกวิธีที่สะดวกได้ ดังนี้

นวดคลึงเบา ๆ

ก่อนนวดให้คุณแม่ล้างมือให้สะอาด ใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำอุ่นมาประคบที่ที่เต้านมประมาณ 3 – 10 นาที แล้วค่อยใช้มือคลึงนวดเต้าเบา ๆ วนไปรอบเต้า พร้อมกับบีบหัวนม เพื่อกระตุ้นการไหลเวียนของน้ำนม ย้ำว่าต้องเบามือนะคะคุณแม่

ไม่แนะนำให้นวดสำหรับผู้ที่…

  • มีปัญหาเรื่องเต้านมมาก่อน เช่น เต้านมอักเสบ ติดเชื้อ ปวด บวม แดงร้อน เพราะจะทำให้เกิดการอักเสบมากขึ้น
  • เป็นโรคผิวหนัง เพราะอาจทำให้เชื้อกระจายไปสู่ส่วนต่าง ๆ ได้
  • มีบาดแผลบริเวณเต้านม และหัวนม

ใช้ลูกประคบอุ่น

การใช้ลูกประคบเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ทำให้น้ำนมระบายได้ดี เริ่มจากเนินเต้านม แล้วค่อย ๆ วนไปรอบ ๆ เต้า หลีกเลี่ยงบริเวณหัวนม จุดไหนปวดเน้นประคบจุดนั้นได้ค่ะ ทั่วไปแล้วท่อน้ำนมอุดตันจะไม่เป็นพร้อมกันทั้ง 2 ข้าง และส่วนที่อุดตันคุณแม่จะสามารถระบุตำแหน่งได้อย่างชัดเจน หลังจากการประคบแล้ว ให้ลูกน้อยเข้าเต้าบ่อย ๆ ทุก ๆ 2 – 3 ชม. หรือหากลูกน้อยหิวเร็วกว่านั้นก็สามารถให้เข้าเต้าได้เลยค่ะ หรือหากลูกน้อยยังไม่กิน คุณแม่สามารถปั๊มออกมาก่อนได้ทุก ๆ 3 ชม.

แม่โน้ต

หรือถ้าคุณแม่รู้สึกคัดเต้าก่อน 3 ชม. ก็สามารถปั๊มออกได้เลยนะคะไม่ต้องรอให้ครบ 3 ชม.

หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้ท่อน้ำนมอุดตัน

โดยเฉพาะอาหารประเภทหวานมัน หรือมีไขมันสูง อาทิ แคบหมู หมูกรอบ ขาหมู สาหร่ายอบ สาหร่ายทอด โกโก้ปั่น กาแฟเย็นใส่นม ชาเย็น ชานมไข่มุก เบเกอรี่ ซาลาเปา กุ้ง ปลาหมึก ปาท่องโก๋ สังขยา กล้วยแขก มะม่วงสุก และทุเรียน เหล่านี้นับเป็นตัวการที่ทำให้ท่อน้ำนมอุดตันได้ค่ะ

ให้ลูกเข้าเต้าอย่างถูกวิธี

โดยให้ลูกเข้าเต้าทุก ๆ 2 – 3 ชม. หรือจะถี่กว่านี้ก็ได้ค่ะ และพยายามปั๊มนมให้ตรงเวลาที่ลูกดูด ที่สำคัญ ไม่ควรปล่อยให้คัดเต้านานเกินกว่า 3 ชม. ควรให้ลูกดูดขณะที่หิวมาก ๆ เพราะด้วยแรงดูดจะส่งผลให้ก้อนไตนั้นหลุดได้

ใช้ใบกะหล่ำปลี

ให้คุณแม่ใช้ใบกะหล่ำที่มีขนาดพอ ๆ กับเต้านม แช่เย็น แล้วมาประคบที่เต้านม แล้วสวมเสื้อในทับ ทิ้งไว้ประมาณ 1 ชม. จากนั้นนำออก วิธีนี้คุณแม่สามารถทำได้หลายครั้งในหนึ่งวันเลยนะคะ

ใช้วิธีอัลตร้าซาวด์

วิธีนี้เป็นการใช้ความร้อนระดับลึกของการอัลตร้าซาวด์ เพื่อช่วยในการสลายก้อนไตให้นิ่มลง ซึ่งจะทำให้การระบายของน้ำนมทำได้ดีมากขึ้น ซึ่งทั้งนี้ คุณแม่ควรปรึกษาคุณหมอ เพื่อการวินิจฉันก่อน

การที่คุณแม่ทิ้งให้เต้านมมีปริมาณน้ำนมมากเกินไปไม่ใช่เรื่องที่ถูกต้อง เพราะผลกระทบที่ตามมามันมากกว่านั้น คุณแม่อาจมีความเสี่ยงที่เกิดท่อน้ำนมอุดตันได้ หากแก้ไขไม่ทัน อาจถึงขั้นเต้านมอักเสบต้องรักษากันนานเลยค่ะคราวนี้

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP