เต้านมคัด พร้อมวิธีแก้ คุณแม่หายปวดแน่นอน

นมแม่
JESSIE MUM

โดยธรรมชาติของคุณแม่ตั้งครรภ์ น้ำนมจะเริ่มผลิตตั้งแต่คุณแม่ยังอุ้มท้องอยู่ แต่จะเริ่มมีอาการคัดเต้านมก็เมื่อหลังคลอด ซึ่งอาการเต้านมคัด คุณแม่จะเจ็บที่เต้านมเนื่องจากมีน้ำนมผลิตออกมา แบบนี้จะยิ่งทำให้คุณแม่ยิ่งปวดเต้ามากขึ้น ดังนั้น หากคุณแม่มีอาการคัดเต้านม จะแก้ได้อย่างไรดี ป้องกันได้ไหม วันนี้เราจะมาคุยถึงเรื่องนี้กันค่ะ

อาการ เต้านมคัด

เต้านมคัด อาการที่มักเกิดขึ้นกับคุณแม่หลังคลอดที่เพิ่งคลอดลูกได้ประมาณ 2 – 5 วัน เนื่องจากฮอร์โมนในร่างกายมีการเปลี่ยนแปลง มีเลือดไหลเวียนบริเวณเต้านมมากขึ้น ซึ่งจะทำให้เกิดอาการได้ ดังนี้

  • เต้านมบวม จนบางครั้งอาจรู้สึกเต้านมอุ่น เนื่องจากมีน้ำนมมาคั่งเป็นจำนวนมาก
  • เต้านมขยายขนาดใหญ่ขึ้น
  • หากมีน้ำนมมาคั่งเป็นจำนวนมาก เต้านมจะมีลักษณะแข็ง ตึง เจ็บปวด ไปจนถึงร้อนมาก
  • เมื่อเต้านมตึงแข็ง ก็จะส่งผลให้ลานนมแข็งตึงด้วยเช่นกัน ทำให้น้ำนมไหลได้ไม่ดี
  • หัวนมสั้นลงเนื่องจากเต้านมแข็งไม่สามารถยืดหยุ่นได้ ทำให้ลูกดูดได้ไม่สะดวก
  • บางครั้งคุณแม่อาจมีไข้ แต่ก็จะไม่เกิน 24 ชั่วโมง
  • ปกติแล้วอาการเต้านมคัดมักจะเป็นทั้ง 2 ข้าง
  • หากปล่อยให้มีน้ำนมค้างเต้านาน ร่างกายจะเรียนรู้ว่าเมื่อไม่มีการระบายน้ำนมออก ก็จะมีการหยุดการผลิตชั่วคราว จนกว่าจะมีการระบายน้ำนมออก แล้วถึงจะเริ่มผลิตใหม่

สาเหตุ เต้านมคัด

สามารถเกิดขึ้นได้ในหลายสาเหตุ ดังนี้

  • คุณแม่ทิ้งช่วงในการให้นมลูนานเกินไป ทำให้น้ำนมมีการสะสมอยู่เป็นจำนวนมาก
  • ร่างกายของคุณแม่สร้างน้ำนมออกมาได้มากกว่าปริมาณที่ลูกน้อยต้องการ
  • คุณแม่ใช้ท่าอุ้มให้นมลูกที่ผิดท่า ลูกจึงดูดผิดวิธี ทำให้การระบายของน้ำนมออกมาได้ไม่ดี
  • หากให้ลูกกินนมผ่านขวด ลูกจะติดกินจากขวด ซึ่งเท่ากับเป็นการลดความถี่ในการเข้าเต้าของคุณแม่
  • ลูกมีแรงดูดน้อย ทำให้ไม่สามารถดูดนมแม่ได้เต็มที่ และอาจเหนื่อยหลับเสียก่อน
  • คุณแม่มีความกังวล มีความเครียด อ่อนเพลีย รวมถึงมีภาวะโลหิตจาง
  • หัวนมแตก เป็นแผล (สามารถบอกลาหัวนมแตกได้ ที่นี่ คลิกเลย “7 วิธีบอกลา หัวนมแตก เจ็บหัวนม”)
  • มีความผิดปกติของเต้านม

หัวนมแตก เจ็บมาก ให้นมลูกลำบากมากเลย มีวิธีแก้ไหม? พบกับสาเหตุและ 7 วิธีบอกลาหัวนมแตกได้ที่นี่ คลิกเลย

วิธีแก้ปัญหา เต้านมคัด

หากคุณแม่มีอาการเต้านมคัด เราก็มีวิธีมาแนะนำ ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธีค่ะ

ให้ลูกเข้าเต้าอย่างถูกวิธี

เมื่อลูกสามารถเข้าเต้าได้อย่างถูกวิธีก็จะทำให้น้ำนมไหลดี (ติดตามเพิ่มเติมได้ที่นี่ คลิกเลย “การเข้าเต้าที่ถูกต้อง ต้องทำอย่างไร?

แม่โน้ต

ถ้าลูกเข้าเต้าได้อย่างถูกวิธี นอกจากจะทำให้น้ำนมไหลได้ดีแล้ว ลูกน้อยก็จะได้สารอาหารที่มีประโยชน์ครบถ้วนค่ะ ลูกจะกินนมได้ถึงส่วนปลายน้ำนมซึ่งจะมีปริมาณไขมันดีอยู่เยอะ ทำให้ลูกอิ่มอยู่ท้องได้นาน และหลับนานขึ้นอีกด้วยนะคะ


การเข้าเต้าที่ถูกต้องต้องทำอย่างไร? ยากไหม? ไม่ยากเลยค่ะ เพียงแค่ทำตามวิธีที่เราแนะนำในนี้ คลิกที่นี่

อุ้มให้นมลูกด้วยท่าที่ถูกต้อง

ท่าอุ้มให้นมของคุณแม่ต้องถูกต้องด้วยนะคะ กับ “4 ท่าให้นมลูกยอดนิยมพร้อมท่าทางที่ถูกต้อง” เป็นท่าให้นมที่ถูกต้องและยอดฮิต คัดมาให้คุณแม่แล้ว ซึ่งการให้นมลูกนั้นควรให้ลูกเข้าเต้าบ่อย ๆ ประมาณโดยในช่วงแรกควรเป็นทุก ๆ 2 – 3 ชั่วโมง หรือเด็กบางคนหิวเร็วก็สามารถให้เขากินได้ค่ะ แต่เน้นเข้าเต้าอย่างเดียวนะคะ


มีท่าให้นมลูกแบบอื่น ๆ อีกไหมที่สบายทั้งแม่และลูก? เรารวมท่ายอดฮิตในการให้นมลูกไว้ที่นี่แล้ว

เตรียมตัวก่อนให้ลูกเข้าเต้า

ก่อนให้ลูกดูดนมควรน้ำผ้าสะอาดชุบน้ำอุ่นแล้วมาประคบรอบ ๆ เต้านม ประมาณ 10 นาที และปั๊มออกสักเล็กน้อย เพื่อให้เต้านม ลานนม และหัวนมคุณแม่นิ่มลง ลูกก็จะดูดได้ง่ายขึ้น

ไม่ควรใช้ขวดนมเสริม

คุณแม่ไม่ควรใช้ขวดนมเสริม สลับกับการเข้าเต้า เพราะจะทำให้ลูกน้อยไม่อยากเข้าเต้า

แม่โน้ต

ที่เป็นอย่างนี้ก็เพราะว่าแรงดูดที่ใช้กับขวดนมนั้นน้อยกว่าที่จะดูดนมจากเต้า นมจะไหลออกจากขวดตลอดเวลา แม้ไม่ใช้แรงดูด แต่นมแม่จะไหลเฉพาะเวลาที่ใช้แรงดูด เพราะฉะนั้นลูกจะติดขวดมากกว่าเต้าค่ะ

แม่นวด ลูกดูด

ขณะที่ลูกน้อยกำลังดูดเต้าอยู่นั้น ให้คุณแม่นวดรอบ ๆ เต้าเบา ๆ เพื่อกระตุ้นการไหลเวียนของน้ำนมให้ดีขึ้น ลูกน้อยก็จะดูดได้ดีมากขึ้น

ปั๊มนมให้ตรงกับเวลาที่ลูกดูด

กรณีนี้สำหรับคุณแม่ที่ต้องกลับไปทำงาน ให้คุณแม่ปั๊มนมในเวลาเดียวกันกับที่ลูกน้อยเคยดูดนมเหมือนขณะที่อยู่บ้าน แบบนี้ก็จะเป็นการกระตุ้นการผลิตน้ำนมได้เหมือนกัน ลูกน้อยก็ยังได้กินนมแม่อยู่ และที่สำคัญลดอาการคัดเต้าได้อีกด้วยค่ะ

สวมเสื้อชั้นในที่ไม่รัดเกินไป

คุณแม่ควรเลือกขนาดของเสื้อชั้นในที่ไม่รัดจนเกินไป เผื่อให้เวลาที่เต้านมขยาย และถ้าจะให้ใส่สบาย แนะนำว่าไม่ควรเลือกที่มีโครง เพราะจะยิ่งทำให้คุณแม่เจ็บและอึดอัด เวลาที่เต้านมคัด

ประคบเย็นหลังให้นมลูก

หลังให้นมลูกเสร็จแล้วให้คุณแม่นำผ้าสะอาดชุบน้ำเย็น แล้วนำมาประคบรอบเต้าประมาณ 10 นาที ก็จะช่วยลดอาการคัดเต้าได้ค่ะ แต่ถ้ายังปวดเต้าอยู่ ก็สามารถกินยาแก้วปวดได้ เช่น พาราเซตามอล

หากอาการไม่ดีขึ้น ภายใน 24 ชั่วโมง ควรปรึกษาคุณหมอ

หากคุณแม่ได้ลองทำทุกวิถีทางที่ได้กล่าวมาแล้ว อาการยังไม่ดีขึ้น ให้คุณแม่รีบปรึกษาคุณหมอทันทีไม่ควรปล่อยทิ้งไว้เด็ดขาด

คุณแม่บางรายคิดว่าเต้านมคัดสิดี ลูกน้อยจะได้มีนมกินเยอะ แต่ความจริงแล้ว การปล่อยให้เต้านมคัดมีแต่จะส่งผลเสีย เพราะอาจทำให้คุณแม่อาจไม่สบายได้ (ติดตาม “คัดเต้า ปั๊มไม่ออก ภาวะท่อน้ำนมอุดตัน เกิดจากอะไร”) หรือร้ายแรงที่สุดก็คือ ต้องผ่าตัดนะคะ เพราะฉะนั้นเมื่อรู้สึกว่ามีอาการคัดเต้าควรให้ลูกดูดหรือปั๊มออกจะดีที่สุดค่ะ


จะปั๊มนมแต่น้ำนมไม่ออก แบบนี้คือภาวะท่อน้ำนมอุดตันหรือเปล่า? แก้ไขได้อย่างไร ต้องผ่าตัดไหม? การจะแก้ไขทำได้หลายวิธี จะผ่าตัดไหม สามารถติดตามได้ที่นี่ คลิกเลย

ข้อมูลอ้างอิง bumrungrad.com, babycenter.com

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP