เทคนิคให้ลูก “หย่านม” แบบไม่ทำให้ลูกเสียใจ

นมแม่

การให้ลูกได้เข้าเต้าดูดนมแม่ มันช่างเป็นอะไรที่มีความสุขและวิเศษที่สุดเท่าที่คนเป็นแม่พึงได้รับ ลูกน้อยเองก็ได้ทั้งอิ่มท้อง และความอุ่นกาย อุ่นใจ เมื่อแม่ประคองกอดไว้กับอก แต่หากเมื่อถึงคราวที่จะต้องหย่านมแม่แบบเข้าเต้าแล้ว ลูกๆ อาจจะรู้สึกเสียใจ และรู้สึกไม่ค่อยอบอุ่นเหมือนเคย เหมือนขณะที่คุณแม่อุ้ม

การหย่านม

การหย่านม คือ การที่คุณแม่เปลี่ยนวิธีการให้นมจากเดิมที่ดูดแบบเข้าเต้าเป็นการดูดนมแม่จากขวดแทนหรือไม่ก็เปลี่ยนจากนมแม่เป็นนมผง เหตุเพราะความจำเป็นบางอย่างของคุณแม่ เช่น ต้องกลับไปทำงานตามปกติหลังจากการลาคลอด ข้อนี้คุณแม่สามารถที่จะปั๊มนมเก็บไว้ให้ลูกกินแบบขวดได้ กับอีกอย่างคือ ต้องเปลี่ยนจากนมแม่ที่ใส่ขวดมาเป็นนมผงแทน ข้อนี้จะทำได้ก็ต่อเมื่อลูกมีอายุมากกว่า 6 ขึ้นไปนะคะ
การทานนมแม่ให้ได้นานที่สุดนั้นเป็นสิ่งที่ดีมาก เรียกได้ว่านานเท่าที่คุณแม่สบายใจหรือสะดวก เพราะนมแม่มีประโยชน์มากมายมหาศาลเลย ควรให้ลูกทานให้นานอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 6 เดือนนะคะ

จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกพร้อมหย่านม

เด็กๆ ที่สามารถยืน เดิน หรือวิ่งได้บ้างแล้ว มักจะห่วงเรื่องการเล่นมากกว่าห่วงเรื่องการทานนมแม่ ส่วนใหญ่จะเป็นเด็กที่มีอายุราว 1-3 ขวบ เด็กกลุ่มนี้ได้รับอาหารเสริมที่มากกว่าการทานนมแม่ การทานนมแม่ไม่ได้เป็นการทานเพื่อให้อิ่มท้อง หรือทานเป็นอาหารหลักอีกต่อไป คุณแม่ส่วนใหญ่จึงตัดสินใจให้ลูกหย่านมในช่วงดังกล่าว แต่คุณแม่บางคนก็อาจจะปั๊มนมเก็บไว้ให้ลูกได้ทานต่อแทนการทานจากเต้า
เรามาดูกันค่ะว่ามีสัญญาณอะไรที่บ่งบอกว่าลูกพร้อมหย่านม

  • ห่วงเล่นจนลืมเข้าเต้า
  • ใช้เวลาในการเข้าเต้าน้อยลง แต่ดูดถี่ขึ้น แสดงว่าลูกดูดเพื่อไม่ให้เหงาปาก หรือดูดเพราะแค่รู้สึกว่าอยากเข้าเต้า
  • ในขณะที่เข้าเต้า หากมีอะไรมาดึงดูดความสนใจก็จะวอกแวกได้ง่าย และไม่ได้ดูดนม แค่ปากคาบไว้เฉยๆ
  • เริ่มกัดหรือดึงหัวนมเล่น
  • เข้าเต้าเพราะเหตุผลอื่นที่ไม่ใช่เพราะความหิว เช่น รู้สึกอบอุ่น ง่วงนอนอยากให้แม่อุ้มนอน รู้สึกกลัว หรือรู้สึกเสียใจ เป็นต้น

การเข้าเต้าเป็นการทำให้ลูกรู้สึกว่าอบอุ่น ปลอดภัย แต่การหย่าเต้าไม่ใช่ว่าลูกจะไม่เสียใจนะคะ แต่เมื่อถึงวัยก็จำเป็น ดังนั้น การเลิกเต้าควรทำแบบนุ่มนวล เพื่อไม่ให้ลูกเสียใจ ไม่ให้เค้ารู้สึกว่าขาดความรักจากคุณแม่ไปนะคะ

เทคนิคการหย่านม “แบบไม่ทำให้ลูกเสียใจ

ลดเวลาการเข้าเต้าให้สั้นลง

ในช่วงแรกของการทานนมให้เข้าเต้าคุณแม่ก่อน แล้วครึ่งหลังค่อยเปลี่ยนมาเป็นนมแม่หรือนมผสมจากขวดต่อ จนกว่าลูกจะอิ่ม วิธีนี้จะทำให้ลูกไม่ต่อต้านหรือไม่ทำให้เค้ารู้สึกว่าขวดจะมาแทนที่เต้า ที่สำคัญ ถือเป็นการค่อยๆ ฝึกเค้าให้คุ้นชินกับการใช้ขวดอีกด้วยค่ะ

ให้ลูกคุ้นชินกับการดูดจากขวด

เมื่อลูกเริ่มคุ้นชินกับการทานนมจากขวด (ทั้งนมแม่และนมผสม) ให้คุณแม่ค่อยๆ ลดมื้อของการเข้าเต้าลง เช่น จากเดิมเข้าเต้าทุกมื้อ อาจลดลงเป็น ดูดขวด 1 มื้อ ส่วนที่เหลือเป็นเข้าเต้า แล้วค่อยเพิ่มเป็นดูดขวด 2 มื้อ ที่เหลือเข้าเต้า ทำอย่างนี้ไปเรื่อย ๆจนครบทุกมื้อ

หากลูกยังไม่พร้อมกับการดูดขวดมากนัก

ให้เอาลูกเข้าเต้าสลับกับการดูดขวดไปก่อน ค่อยๆ ฝึกให้เค้าคุ้นชินอีกหน่อย โดยทำสลับไปอย่างนี้ประมาณ 1 อาทิตย์ แล้วค่อยเพิ่มการทานนมจากขวดอีก 1 มื้อ แทนการเข้าเต้า

ลูกยังได้กลิ่นตัวและกลิ่นน้ำนมจากคุณแม่

สิ่งนี้อาจทำให้ลูกหย่านมได้ยาก และจะเรียกร้องหาแต่คุณแม่ ดังนั้น ในเวลาทานนมจากขวด ควรให้คนอื่นๆ เช่น คุณพ่อ คุณย่า คุณยาย หรือพี่เลี้ยง เป็นคนให้นมแทน ส่วนคุณแม่ควรหลบไม่ให้ลูกเห็น เพราะเมื่อเค้าไม่เห็นคุณแม่ (ซึ่งเค้าอาจจะร้องงอแงนิดหน่อย) เค้าจะเริ่มรู้แล้วว่าไม่ได้เข้าเต้าแน่ เค้าจะยอมทานจากขวดค่ะ

หย่านมแบบเข้าเต้าในมื้อดึก

เพราะความเคยชินที่เมื่อถึงเวลากลางดึก ลูกต้องตื่นมาเข้าเต้าคุณแม่ แต่หากต้องการหย่านมแบบเข้าเต้าในมื้อดึก ลูกอาจตื่นมาร้องไห้ ให้คุณพ่อหรือคนที่ลูกคุ้นเคยช่วยปลอบหรือกอดเค้าไว้จนเค้าหลับ เพราะอย่างน้อยเค้าก็จะรู้สึกอบอุ่นและปลอดภัย

หากลูกต่อต้าน

คุณแม่ไม่ควรดุลูกหรือบังคับให้เค้าทานจากขวดนะคะ เพราะยิ่งจะทำให้เค้าต่อต้าน และพาลไม่ทานนมจากขวดไปเลย คุณแม่ควรหยุดการให้จากขวดสักพักประมาณ 1 อาทิตย์ แล้วค่อยมาฝึกกันใหม่

เติมเต็มความรัก ความอบอุ่น

การแสดงความรัก การกอดลูกบ่อยๆ การเล่น กับลูกจะทำให้ลูกไม่รู้สึกว่าเค้าขาดความรักคุณแม่ ซึ่งเหล่านี้สามารถทดแทนความรู้สึกลูกได้ค่ะ

การหย่านมแบบเข้าเต้าต้องใช้เวลาและความอดทนอยู่พอสมควร เป็นกำลังใจให้คุณแม่ทุกคนนะคะ

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP