วิธีเพิ่มน้ำนมแม่ ด้วยเทคนิค 4 ดูด และความเข้าใจผิดว่าน้ำนมน้อย

นมแม่

หนึ่งในหลาย ๆ อย่างเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกที่ทำให้คุณแม่กังวลไม่น้อยเลยก็คือ เรื่องของ “น้ำนม” คุณแม่หลายคนกังวลว่าน้ำนมจะไม่พอ หรือบางครั้งก็เข้าใจไปเองว่าน้ำนมไม่พอซึ่งวันนี้เราจะมาดูกันค่ะว่า “น้ำนมน้อย” นั้น แท้จริงแล้วเป็นอย่างไร พร้อมกับ “เทคนิค 4 ดูด” จาก นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย กันค่ะ

น้ำนมแม่น้อย จริงหรือ?

คุณแม่บางคนเข้าใจว่าตัวเองมีน้ำนมน้อย ไม่พอเลี้ยงลูก จนส่งผลให้เกิดความเครียด คราวนี้ล่ะน้ำนมน้อยจริงเลย แต่ความจริงแล้วคือ…

เพราะเต้านมไม่คัด ไม่เจ็บ จึงเข้าใจว่าไม่มีน้ำนมหรือน้ำนมน้อย

ร่างกายของมนุษย์แม่มีความมหัศจรรย์ค่ะ เพราะร่างกายจะมีการปรับตัวทางด้านการผลิตน้ำนมตามความต้องการของลูกน้อยค่ะ เรียกได้ว่าถ้าเต้านมมีการกระตุ้นไม่ว่าจะเป็นการดูดหรือการปั๊มบ่อยและมาก น้ำนมก็จะผลิตออกมามาก กลับกันค่ะ ถ้าเต้านมถูกกระตุ้นน้อย น้ำนมก็จะผลิตออกมาน้อย

ลูกหลับคาเต้า ทั้งที่ยังไม่อิ่ม เมื่อตื่น จึงร้องเพราะหิว

เรียกได้ว่าเด็กส่วนใหญ่มักจะหลับคาเต้า แม้ยังกินไม่อิ่ม ซึ่งวิธีสังเกตว่าลูกกินอิ่มหรือยัง ให้ดูว่าลูกหลับและคายเต้าออกมาไหม ถ้าคายออกมาแสดงว่าอิ่มแล้ว แต่ถ้าลูกหลับแต่ยังไม่คายเต้า หรือเพียงแต่อมหัวนมค้างไว้ แสดงว่าลูกยังกินไม่อิ่มค่ะ ให้คุณแม่กระตุ้นลูกน้อยด้วยวิธีนี้ค่ะ

  • ใช้นิ้วชี้เขี่ยริมฝีปากล่างของลูกเบา ๆ เพื่อกระตุ้นให้ลูกดูดต่อ หรือ
  • ใช้นิ้วเขี่ยแก้มเบา ๆ พร้อมเรียกชื่อลูกไปด้วย
  • แต่ถ้าลูกหลับและไม่ยอมปล่อยเต้า ให้เอาลูกออกจากเต้าก่อน ปลุกให้ตื่น หลังจากตื่นแล้วค่อยเอาเข้าเต้าอีกครั้ง

สาเหตุที่ทำให้น้ำนมแม่น้อย

คราวนี้เรามาดูกันค่ะว่าสาเหตุที่แท้จริงที่ทำให้น้ำนมแม่น้อย มีอะไรบ้าง

  • ให้ลูกเข้าเต้าเพื่อดูดการผลิตน้ำนมช้าเกินไป
  • ลูกเข้าเต้าผิดวิธี โดยที่ลูกงับแค่หัวนม งับไม่ถึงลานนม
แม่โน้ต

ถ้าเป็นแบบนี้ในระยะยาว จะส่งผลให้หัวนมคุณแม่แตกและเจ็บได้ค่ะ

  • ให้ลูกเข้าเต้าน้อยเกินไป โดยต่ำกว่าวันละ 8 ครั้ง โดยมากมักเกิดกับเด็กที่กินนมผสมด้วย ซึ่งการให้ลูกดื่มน้ำหลัง กินนมจะทำให้ลูกอิ่มเร็ว หรือเด็กที่มีอายุครบ 6 เดือน คุณแม่ต้องให้อาหารเสริม ทำให้ลูกเข้าเต้าน้อยลง น้ำนมก็ผลิตได้น้อยตามไปด้วย
  • คุณแม่ที่ต้องทำงานนอกบ้าน เมื่อกลับมาบ้านการปั๊มนมก็น้อยลงไป หรือปั๊มออกน้อยเกินไป หรือทิ้งระยะการปั๊มนมนานเกินกว่า 3 – 4 ชั่วโมง
  • เกิดจากความเหนื่อย ความเครียด และความกังวล รวมถึงกินอาหารน้อยเกินไป
  • คุณแม่กินยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดที่เป็นฮอร์โมนรวม ในระยะ 6 เดือนแรกหลังคลอด

เทคนิค 4 ดูด เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่

ดูดเร็ว

ลูกที่เมื่อคลอดออกมาใหม่ๆ แนะนำให้ดื่มน้ำนมแม่ให้เร็วเท่าไหร่ยิ่งดี (เอาว่าเมื่อคุณแม่พร้อมด้วยนะคะ) เพราะน้ำนมแรก หรือ ที่เราเรียกกันทั่วไปว่า “น้ำนมเหลือง หรือ โคลอสตูม (Colostrum)” นั้น มีประโยชน์มาก ๆ (มากล้านตัว^^) ลูกยิ่งรับส่วนนี้ไปมากเท่าไหร่ ยิ่งเป็นผลดีต่อลูกมากเท่านั้น เพราะเป็นส่วนที่เสริมสร้างร่างกายให้เติบโตแข็งแรงและสร้างภูมิต้านทานโรคได้อย่างดีเยี่ยมทีเดียว

ดูดบ่อย

ปกติแล้วทารกจะมีกระเพาะที่เล็กมากอยู่แล้ว ดังนั้น เค้าจะหิวบ่อยประมาณทุก 2-3 ชม. หรืออย่างน้อยวันละ 9 ครั้ง ดังนั้น จึงเป็นโอกาสให้คุณแม่ขยันเอาลูกเข้าเต้าบ่อย ๆ หรือลูกหิวเมื่อไหร่ก็ให้เอาเข้าเต้าทันทีแรกๆ น้ำนมอาจไม่ค่อยเยอะ ไม่เป็นไรค่ะ ให้ลูกช่วยดูดกระตุ้นบ่อย ๆ น้ำนมก็จะเริ่มผลิตขึ้นมาได้เยอะเอง หรือ…หากก่อนที่จะเอาลูกเข้าเต้าให้คุณแม่นำผ้าชุบน้ำอุ่น ประคบรอบเต้าคลึงเบาๆ เพื่อเป็นการกระตุ้นให้น้ำนมไหลเวียนดี ลูกก็จะดูดได้ง่ายขึ้นค่ะ

ดูดถูกวิธี

ขณะที่ลูกอ้าปากจะเข้าเต้าคุณแม่นั้น ให้คุณแม่จัดการดูดให้ถูกต้อง โดยให้ลูกงับเข้าไปถึงลานนม ซึ่งเหงือกจะอยู่ในตำแหน่งที่สามารถกดรีดตรงกระเปาะน้ำนมใต้ลานนมได้ ลิ้นอยู่ที่ใต้ลานนม ริมฝีปากลูกไม่เม้มเข้า ซึ่งขณะที่ดูดเหงือกจะขยับเข้าหากันกดลงบนลานนมเป็นจังหวะ น้ำนมจะไหลเข้าปาก คุณแม่จะได้ยินเสียงกลืนน้ำนมเบา ๆ

“ถ้าหากลูกไม่งับเข้าไปถึงลานนมจะเกิดอะไรขึ้น?”

หากลูกงับไปไม่ถึงลานนมแล้วดูดนมแม่ จะทำให้ลูกดูดนมได้น้อยเหนื่อย หงุดหงิด สุดท้ายลูกจะร้องไห้ เพราะไม่อิ่ม ส่วนคุณแม่…นาน ๆ ไปอาจทำให้หัวนมแตกได้ เพราะเหงือกลูกจะขบกับหัวนม จะเจ็บมากทำให้ไม่สามารถให้นมลูกได้ค่ะ

ดูดเกลี้ยงเต้า

โดยทั่วไปคุณแม่ควรให้ลูกได้ดูดนมเข้าเต้า 8-12 ครั้งต่อวัน และข้างละประมาณ 10-20 นาที โดยให้ดูดทีละข้าง ให้ลูกดูดจนกว่าเต้าจะนิ่ม หากลูกไม่อิ่มค่อยเปลี่ยนมาให้อีกข้างหนึ่ง
แต่หากลูกอิ่มได้ในเต้าเดียว แต่คุณแม่รู้สึกว่านมยังมีนมอยู่ ในมื้อต่อไปให้ลูกเริ่มดูดจากเต้าที่ค้างไว้ก่อน เพื่อให้ลูกได้รับคุณค่าของนมแม่อย่างครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นส่วนหัว ส่วนกลาง และส่วนท้ายของนม

วิธีสังเกตว่าลูกอิ่มหรือไม่

คุณแม่มือใหม่อาจจะยังไม่แน่ใจหรือไม่รู้ว่าลูกที่ทานนมแม่ไปนั้นอิ่มดีหรือเปล่า ให้สังเกตดังนี้ค่ะ

ถ้าลูกอิ่ม

  • เต้านมแม่จากเดิมที่คัดตึง หลังลูกดูดนมแล้วเต้าจะนิ่มลง
  • หลังกินนม ลูกจะนอนหลับสนิท หลับสบาย
  • ไม่ตื่นมาร้องหิวระหว่างมื้อ
  • ลูกจะปัสสาวะ 6 ครั้งขึ้นไป และอุจจาระ 4-8 ครั้ง ภายใน 24 ชม.
  • ลูกที่ได้กินนมแม่จะมีน้ำหนักขึ้นโดยเฉลี่ย 18-30 กรัมต่อวัน หรือ 125-210 กรัมต่อสัปดาห์

จากทั้งหมดที่กล่าวมา วิธีในการเพิ่มน้ำนมนอกจากจะให้ลูกดูดกระตุ้นแล้วยังมีวิธีอื่น ๆ อีกนะคะ เช่น การทานอาหารที่มีประโยชน์ เน้นอาหารที่ช่วยกระตุ้นการผลิตน้ำนมได้ดี อย่าง หัวปลี กับ “8 เมนูหัวปลี สำหรับคุณแม่ พร้อมวิธีทำ” ใบกะเพรา หรือฟักทอง เป็นต้น ที่สำคัญคุณแม่ควรดื่มน้ำให้เพียงพอ และไม่เครียดนะคะ


มีหัวปลีแต่ไม่รู้จะทำเมนูอะไรดี อยากเพิ่มน้ำนมให้ลูก? แวะทางนี้เลยค่ะกับ 8 เมนูหัวปลี สำหรับคุณแม่ พร้อมวิธีทำที่แสนง่าย คลิกที่นี่

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP