อาการท้องแข็ง ใกล้คลอด แบบนี้ต้องไปพบแพทย์

สุขภาพช่วงตั้งครรภ์
JESSIE MUM

อาการท้องแข็งเป็นอาการที่มักเกิดกับคุณแม่ที่ใกล้จะคลอดลูกน้อยแล้ว โดยคุณแม่จะมีหน้าท้องแข็ง ร่วมกับมีอาการปวดท้องคล้ายปวดประจำเดือนหรือปวดหน่วง ๆ คล้ายปวดอุจจาระ ทั้งนี้ทั้งนั้น อาการดังกล่าวอาจเป็นแค่สัญญาณเตือน ซึ่งยังไม่ได้จะคลอดจริง แล้วอาการท้องแข็งใกล้คลอดเป็นอย่างไร วันนี้เรามาดูกันค่ะ

ท้องแข็งหลอก มีอาการอย่างไร?

ส่วนใหญ่แล้วอาการท้องแข็งหลอกมักจะเกิดขึ้นในอายุครรภ์ที่ 28 – 40 สัปดาห์ จนทำให้คุณแม่บางรายเข้าใจว่าอาการนี้คือ อาการท้องแข็งใกล้คลอด อาการท้องแข็งหลอกนี้มักจะเกิดขึ้นในขณะที่คุณแม่รู้สึกเหนื่อย เครียด หรือเดินเป็นระยะเวลานาน ๆ รวมถึงในขณะที่คุณแม่มีภาวะขาดน้ำ ซึ่งลักษณะของอาการท้องแข็งหลอก มีดังนี้

  • รู้สึกแน่นท้อง หรือมีอาการไม่สบายท้องเป็นระยะ ๆ
  • ส่วนมากมักไม่มีอาการปวดท้องร่วมด้วย หรือถ้ามีก็อาจเป็นอาการเล็ก ๆ น้อย ๆ ไม่ได้รุนแรงมากขึ้น
  • อาการท้องแข็งจะหายไปเมื่อปัสสาวะ เปลี่ยนท่าทางการนอน หรือเปลี่ยนท่านั่ง

วิธีบรรเทาอาการท้องแข็งหลอก

เนื่องจากอาการท้องแข็งหลอกส่วนใหญ่จะไม่มีอาการปวดท้องร่วมด้วย อาจจะมีก็แค่อาการไม่สบายท้อง ซึ่งหากคุณแม่รู้สึกอึดอัดสามารถทำตามนี้ได้ เพื่อเป็นการบรรเทาอาการนะคะ

  • ดื่มน้ำเปล่าสะอาด เพราะอาการท้องแข็งหลอก ส่วนหนึ่งเกิดจากภาวะที่ร่างกายคุณแม่ขาดน้ำ
  • ปรับเปลี่ยนอิริยาบถ เปลี่ยนท่าทางการนั่งหรือการนอน หรืออาจลูกขึ้นเดินช้า ๆ เพื่อเป็นการเคลื่อนไหวร่างกาย
  • ยืดเส้นยืดสาย ออกกำลังกายเบา ๆ เพื่อให้ร่างกายได้ผ่อนคลาย และมีสมาธิมากขึ้น

ท้องแข็ง vs ท้องอืด ต่างกันอย่างไร?

คุณแม่มือใหม่บางรายอาจเกิดความสับสนระหว่างอาการท้องแข็งกับอาการท้องอืด เพราะทั้งสองเป็นการที่ไม่สบายท้องเหมือนกัน อย่างไรก็ตามยังพอมีความแตกต่างให้คุณแม่ได้สังเกตกันได้ค่ะ ดังนี้

  • สัมผัสหน้าท้องแล้วไม่รู้สึกว่าหน้าท้องแข็ง
  • อาการท้องอืด มักทำให้มีอาการเสียดท้อง ส่วนท้องแข็งจะทำให้รู้สึกปวดท้องคล้ายกับช่วงที่มีประจำเดือน
  • อาการมักเกิดขึ้นแล้วหายไป โดยที่ไม่มีรูปแบบตายตัว
  • ถ้าได้ผายลมแล้วอาการจะดีขึ้น

ข้อมูลอ้างอิง pobpad.com

ท้องแข็ง ใกล้คลอด (ท้องแข็งจริง) มีอาการอย่างไร?

  • เมื่อจับที่บริเวณท้องจะรู้สึกแข็งไปทั่วทั้งท้อง ไม่มีส่วนใดเลยที่นิ่ม
  • มีอาการปวดเป็นระยะ ๆ เช่น ทุก ๆ 10 นาที และในการปวดแต่ละครั้งจะปวดนานถึง ½ – 1 นาที เป็นต้น
  • เมื่อเปลี่ยนอิริยาบถต่าง ๆ แล้วอาการท้องแข็งก็ยังคงอยู่
  • โดยมากมักพบว่าจะมีอาการปวดร่วมกับน้ำเดิน รวมถึงมีมูกเลือดปนออกมาด้วย
  • ท้องเคลื่อนต่ำลง หรือเรียกว่า “อาการท้องลด หรือ ท้องลง” นั่นแสดงว่าลูกน้อยเคลื่อนตัวลงมาที่อุ้งเชิงกรานแล้ว เพื่อเตรียมตัวคลอด ระยะนี้คุณแม่จะเริ่มหายใจได้สะดวกมากขึ้น เนื่องจากลูกน้อยไม่ได้ไปกดทับกระบังลมแล้ว
  • ปวดปัสสาวะบ่อย เนื่องจากลูกน้อยเคลื่อนตัวมาอยู่บริเวณกระเพาะปัสสาวะแทน
  • มีอาการท้องเสียหรือถ่ายเหลว เนื่องจากร่างกายมีการคลายฮอร์โมน “โพรสตาแกลนดิน (Prostaglandin)” เข้าสู่กระแสเลือด เพื่อเตรียมพร้อมในการคลอด ส่งผลให้มดลูกหดตัวและช่วยขยายปากมดลูกให้กว้างขึ้น ซึ่งก็เป็นการกระตุ้นการขับถ่ายด้วยเช่นกัน
  • ปวดหลัง ปวดอุ้งเชิงกราน ปวดก้นกบ แม่ท้องส่วนใหญ่จะพบอาการปวดนี้ได้จาก 1 ใน 3 ของแม่ท้องทั้งหมด เนื่องจากหลังของคุณแม่อยู่ในลักษณะโค้งมาเป็นระยะเวลานานหลายเดือน เพื่อรองรับลูกน้อยในครรภ์ และเมื่อลูกน้อยเคลื่อนต่ำลงมาก็จะเป็นส่วนของอุ้งเชิงกรานที่ต้องรับน้ำหนักเอาไว้ อาการนี้จะปวดมากขึ้นจนกว่าจะใกล้คลอด
  • หลับยาก บางรายอาจนอนไม่หลับ
  • อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย ๆ ขึ้น ๆ ลง ๆ

ท้องแข็ง ใกล้คลอดแบบไหนควรไปพบแพทย์ด่วน!

แล้วต้องรอให้ปวดท้องมากแค่ไหน แล้วท้องแข็งแบบไหนที่ควรไปดพบแพทย์ด่วน มีดังนี้ค่ะ

  • พบว่ามีมูกเลือดออกมาจากช่องคลอด แม้ว่าจะมีหรือไม่มีอาการท้องแข็งก็ตาม
  • มีเลือดสด ๆ ออกมาจากช่องคลอด เพราะอาการนี้ไม่ใช่อาการท้องแข็งธรรมดา แต่อาจมีรกเกาะต่ำหรือรกขวางทางคลอด
  • มีอาการปวดท้ออย่างรุนแรงในแบบอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ลักษณะของอาการเจ็บท้องคลอด
  • มีน้ำคร่ำใส ๆ ไหลออกจาช่องคลอด นี่แสดงว่าถุงน้ำคร่ำที่ใช้ห่อหุ้มตัวลูกน้อยนั้นรั่วหรือแตก และเมื่อไปถึงโรงพยาบาล ต้องทำการเตรียมคลอดภายใน 24 ชั่วโมง

สำหรับคุณแม่มือใหม่ที่เริ่มเข้าสู่ช่วงที่สามารถเกิดอาการท้องแข็งได้ โดยทั่วไปก็จะเริ่มตั้งแต่สัปดาห์ที่ 28 ของการตั้งครรภ์ ควรหมั่นสังเกตตัวเองว่ามีอะไรผิดปกติไปหรือไม่ หากเริ่มมีอาการท้องแข็งลองทำตามที่ได้กล่าวมาข้างต้น แต่ถ้าทำทุกทางแล้วอาการไม่ดีขึ้น ควรพบแพทย์ด่วนนะคะ

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP