รับการตรวจดาวน์ซินโดรม (Down Syndrome) แม่ท้อง ฟรี! ไม่ต้องเจาะน้ำคร่ำที่โรงพยาบาล

สุขภาพช่วงตั้งครรภ์
JESSIE MUM

คุณแม่ที่ท้องเมื่ออายุเกิน 35 ปี คงกังวลว่าลูกในท้องจะสมบูรณ์ปกติดีหรือไม่ ครบ 32 หรือเปล่า หรือไม่ก็…ลูกเราจะเป็นดาวน์ซินโดรมมั้ย ซึ่งการตรวจดาวน์ซิมโดรมนี้ ถ้าเป็นเมื่อก่อนจะอาศัยการเจาะน้ำคร่ำอย่างเดียว ซึ่งต้องบอกว่าคุณแม่บางท่านก็ไม่กล้าเจาะ
แต่วันนี้…ภาครัฐมีแคมเปญดีๆ ออกมาให้คุณแม่ท้องได้เฮ โดยเฉพาะคุณแม่ที่มีอายุมากกว่า 35 ปี ซึ่งส่วนมากมักจะได้รับคำแนะนำให้ตรวจคัดกรองความผิดปกติของลูกน้อยในท้อง เพื่อให้ทราบได้ก่อนว่าลูกจะมีความเสี่ยงเป็นดาวน์ซินโดรมหรือไม่

สถิติของเด็กที่มีอาการดาวน์ซินโดรม

ปัจจุบันมีคุณแม่ท้องที่คลอดลูกราวๆ 700,000 คน/ปี พบว่ามีทารกที่อยู่ในกลุ่มอาการดาวน์ซินโดรมถึงปีละ 800-1,000 คน ทำให้ขณะนี้ประเทศไทยเรามีเด็กที่อยู่ในกลุ่มอาการนี้ราว 80,000 คน ทั่วประเทศ โดยทารกที่เกิดจากคุณแม่ที่มีอายุมากกว่า 35 ปี มีความเสี่ยงที่จะเป็นดาวน์ซินโดรมได้ประมาณ 1 ต่อ 800 คน ขณะที่คุณแม่ท้องที่มีอายุต่ำกว่า 35 ปี มีความเสี่ยงเพียง 1 ต่อ 1,000 คน เท่านั้น
ที่สำคัญ การดูแลเด็กที่มีอาการดาวน์ซินโดรมต้องมีค่าใช้จ่ายตลอดชีวิตเฉลี่ยคนละ 2.5 ล้านบาท นับว่าเป็นภาระค่อนข้างหนักทีเดียวสำหรับครอบครัว

ตรวจคัดกรอง ฟรี!

นายแพทย์ วัช สุนทราจารย์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า

“กระทรวงสาธารณสุขให้ความสำคัญกับการตรวจคัดกรองอาการดาวน์ซินโดรมในแม่ตั้งครรภ์มาตลอด โดยเฉพาะแม่ท้องกลุ่มเสี่ยง ซึ่งมีโอกาสที่จะคลอดทารกเป็นโรคนี้สูง 2 – 3 เท่าจากคนทั่วไป หากคุณแม่ไปฝากครรภ์ตามโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขก็จะได้รับการตรวจคัดกรองภาวะดาวน์อยู่แล้ว แต่แม่ส่วนใหญ่ค่อนข้างกังวลเรื่องความปลอดภัยและภาวะเสี่ยงจากการเจาะน้ำคร่ำ”

ในปีทางกระทรวงสาธารณสุขจึงเปิดบริการให้คุณแม่ท้องที่มีอายุตั้งแต่35 ปีขึ้นไป เข้ารับ การตรวจดาวน์ซินโดรม ฟรี! เพื่อที่จะได้ทราบถึงปัญหาได้อย่างรวดเร็ว และช่วยกันงานแผนครอบครัวต่อไป โดยเปลี่ยนจากการเจาะน้ำคร่ำมาใช้การเจาะเลือดแทน ซึ่งได้รับการยอมรับจากราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย

โดยก่อนหน้านี้ ได้เคยมีการนำร่องการตรวจคัดกรองด้วยวิธีเจาะเลือดไปแล้วใน 3 พื้นที่ จาก 3 มหาวิทยาลัย ได้แก่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งคณะทำงานได้ทำการคัดกรองอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2559-2561 รวมระยะเวลากว่า 3 ปีเต็ม พบว่าวิธีนี้คุ้มค่า จึงควรทำการขยายการบริการนี้ให้ทั่วประเทศ

การยื่นขอรับบริการ

คุณแม่ท้องที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป คนไหนมีความสนใจจะขอรับบริการสามารถทำได้โดย…

  • แจ้งความจำนงได้ที่โรงพยาบาลภายใต้สังกัดกระทรวงสาธารณสุขทั่วประเทศ
  • คุณแม่ต้องมีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป
  • คุณแม่ต้องมีสิทธิหลักประกันสุขภาพ จะได้ไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่าย เพราะสำนักงานหลักประกันสุขภาพจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด

ตรวจดาวน์ซินโดรมมีกี่แบบ

การตรวจดาวน์ซินโดรมมีทั้งหมด 4 แบบ ดังนี้ค่ะ

การเจาะน้ำคร่ำ

99% คือ ความแม่นยำของวิธีนี้ เพราะสามารถตรวจโครโมโซม 46 แท่ง 23 คู่ของลูกน้อยในท้องได้ทั้งหมด นอกจากความเสี่ยงเรื่องดาวน์ซินโดรมแล้ว ยังบอกเพศได้ และบอกความผิดปกติอื่นๆ ได้อย่างแม่นยำอีกด้วย แต่การเจาะน้ำคร่ำก็มีความเสี่ยงที่จะแท้งลูกได้ ทางที่ดีควรตรวจคัดกรองเบื้องต้นด้วยวิธีอื่นก่อน

อัลตร้าซาวน์และตรวจเลือด

วิธีนี้คัดกรองง่าย สะดวก และนิยมกันมาก แต่ไม่สามารถระบุได้แน่ชัดว่าลูกเป็นดาวน์ซินโดรมหรือไม่

เจาะเลือดคุณแม่

เป็นการเจาะเลือดเพื่อนำสารเคมี 4 ชนิดได้แก่ อัลฟ่าฟีโตโปรตีน (alpha feto-protein) เอสตริออล (estriol) เอชซีจี (hCG) อินฮิบิน เอ (Inhibin A) แพบเอ (PAPP-A) มาตรวจเพื่อคำนวนหาอัตราความเสี่ยงของทารกในครรภ์ โดยสามารถตรวจได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 16-14 สัปดาห์

ใช้เทคนิค NIPT

เป็นนวัตกรรมใหม่ที่สามารถวิเคราะห์ดีเอ็นเอได้ทั้งคุณแม่และลูกน้อย ด้วยการเจาะเลือด ไม่ต้องกระทบลูกน้อย และไม่เสี่ยงต่อการแท้ง แต่…ค่าใช้จ่ายสูงมาก

ทั้งนี้ คุณแม่ท้องจะเลือกตรวจวิธีไหนก็แล้วแต่สะดวกนะคะ เป็นกำลังใจให้แข็งแรงทั้งคุณแม่และลูกน้อยค่ะ

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP