ท้องแข็ง เป็นอย่างไร? แบบไหนเบบี๋โก่งตัว แบบไหนอันตราย?

สุขภาพช่วงตั้งครรภ์

คุณแม่มือใหม่หลายท่านอาจจะยังไม่เคยได้ทราบกันว่าการตั้งครรภ์นั้นมี “อาการท้องแข็ง” เกิดขึ้นด้วยหรอ? แล้วมันคืออะไร? อาการเป็นอย่างไร? แบบไหนที่เรียกว่าอันตราย? สำหรับผู้เขียนเองมารู้ว่ามีอาการนี้ก็ตอนอยู่ในห้องฉุกเฉินแล้วค่ะ จะรอคลอดแล้ว
ปกติแล้วเวลาที่อายุครรภ์มากขึ้นเรื่อยๆ มดลูกก็จะโตมากขึ้นเรื่อยๆ เช่นกัน ปกติแล้วก็จะมีลักษณะนิ่มๆ มีเบบี๋ดิ้นอยู่ข้างใน แต่วันดีคืนดี อ้าว…ทำไมมันแข็งเป็นก้อน เช้าแข็งตรงนี้ บ่ายไปแข็งตรงโน้น อีกวันแข็งหมดทั้งท้อง ใช่สัญญาณการคลอดก่อนกำหนดหรือเปล่า?
อย่างที่บอกค่ะยิ่งท้องแก่ บางทีคุณแม่ลุกก็แข็ง นอนก็แข็ง ทำอะไรนิด อะไรหน่อยก็แข็ง ซึ่งอาการท้องแข็ง หรือ มดลูกบีบตัว จะเป็นต้องมีอาการถี่แค่ไหนถึงจะเรียกได้ว่าคลอดก่อนกำหนด วันนี้ผู้เขียนมีรายละเอียดมาฝากค่ะ

Youtube : ท้องแข็ง เป็นอย่างไร? แบบไหนเบบี๋โก่งตัว แบบไหนอันตราย?

อาการท้องแข็งมีกี่แบบ?

ท้องแข็งเพราะเบบี๋โก่งตัว

โดยปกติถ้าเป็นในทางการแพทย์ คำว่า “ท้องแข็ง” จะหมายถึงแค่ “อาการบีบตัวของมดลูก” แต่ในคนทั่วไป ท้องแข็งมีหลายอาการ…

แข็งบางที่ นิ่มบางที่” นั่นเป็นเพราะว่า ตัวเบบี๋โตแล้ว มีแขน ขา หลัง ก้น ศอก และไหล่ ดังนั้นเวลาที่เค้าอยู่ในท้องคุณแม่ที่นิ่มๆ ก็จะมีด้านนึงที่แข็ง ซึ่งก็คือเป็นหลังกับก้น ส่วนอีกด้านเมื่อคลำไปก็จะมีอาการดิ้นเบาๆ ซึ่งก็คือ มือและเท้านั่นเองค่ะ

แบบนี้เป็นธรรมชาติของเบบี๋ที่จะกลับตัวหรือโก่งตัวค่ะ ไม่มีอันตรายอะไร

ท้องแข็งเพราะเพิ่งทานข้าวเสร็จ

เวลาที่คุณแม่เริ่มท้องแก่ และพื้นที่ในท้องคุณแม่ก็มีจำกัด มดลูกก็โตเอาโตเอาจนไปเบียดกระเพาะปัสสาวะซะแบนแต้ดแต๋ เบียดกระเพาะอาหาร เบียดลำไส้จนร่นขึ้นไปอยู่ใต้กระบังลม ดังนั้น เวลาคุณแม่ทานอะไรนิด อะไรหน่อยก็จะบ่นว่าแน่นท้อง อาการแบบนี้ไม่ใช่อาการของมดลูกบีบตัวนะคะ แต่มดลูกถูกอวัยวะอื่นเบียดจนแข็ง แต่ถ้าคลำดูช่วงท้องเท่านั้นที่แข็งค่ะ ส่วนมดลูกยังนิ่มอยู่

เพราะฉะนั้นหากไม่ให้ทานอาหารแล้วแน่นเกินไป คุณแม่ควรกินครั้งละน้อย แต่บ่อยแทน เน้นอาหารที่ย่อยง่าย หลังทานแล้วควรรอให้เรอซะก่อน ที่สำคัญควรให้ถ่ายท้องทุกวัน เก่าไปใหม่มาร่างกายคุณแม่จะได้สบายขึ้น แล้วจะส่งผลให้อารมณ์ดีด้วยค่ะ

ท้องแข็งเพราะมดลูกบีบตัว

สำหรับอาการในข้อนี้ดูจะเริ่มอันตรายแล้ว เพราะเป็นมดลูกจะแข็งทั้งหมด ไม่ใช่แข็งบางจุด นิ่มบางจุดเหมือนก่อนหน้า
ปกติแล้วอาการท้องแข็งแบบของแท้ (มดลูกบีบตัวก่อนกำหนด) มักไม่ค่อยเกิดกับคุณแม่ที่ท้องอ่อนๆ อายุครรภ์ยังไม่ถึง 28 สัปดาห์ แต่จะพบบ่อยที่สุดคือ ช่วงอายุครรภ์ 32 สัปดาห์ เป็นช่วงที่เบบี๋ดิ้นมากที่สุด เพราะการที่เค้าดิ้นมากๆ อาจส่งผลให้มดลูกบีบตัวเร็วก็เป็นได้

ถ้าผ่านช่วง 32-34 สัปดาห์ได้แล้ว อาการท้องแข็งละน้อยลง จนบางคนเลยกำหนดคลอดแล้วแต่ก็ยังไม่ยอมออกจากท้องแม่ซะทีก็มีค่ะ

ท้องแข็งแบบนี้…อันตราย

เพราะมดลูกเป็นก้อนกล้ามเนื้อที่ใหญ่และแข็งแรงมาก บางทีเค้าก็คงอยากยืดเส้นยืดสายบ้าง ก็จะมีการค่อยๆ บีบตัวทีละนิดๆ จะแข็งตัว แล้วก็จะค่อยๆ คลายตัวทีละนิดๆ เช่นกัน จะเป็นแบบนี้วันละ 6-10 ครั้ง แบบนี้ถือว่าปกติค่ะ

แต่ถ้าหากคุณแม่มีอาการเจ็บท้องบ่อยเกินกว่า 10 ครั้งต่อวัน แถมบางทีแข็งก็แข็งนาน หรือแข็งจนเจ็บเกร็ง อย่างนี้ควรไปพบคุณหมอแล้วล่ะค่ะ เพื่อให้คุณหมอวินิจฉัยถึงสาเหตุว่าทำไมท้องถึงแข็งนาน หรือทำไมเบบี๋อยากออกมาเจอหน้าคุณพ่อคุณแม่แล้ว รวมไปถึงการให้คุณหมอวินิจฉัยค่ะว่าจะให้เบบี๋อยู่ในท้องไปก่อนรอโตอีกหน่อยหรือจะให้ออกมาเจอกับคุณพ่อคุณแม่ดี โดยคุณหมอจะคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นหลักค่ะ

ทำอย่างไรเพื่อป้องกันอาการท้องแข็ง (เจ็บครรภ์ก่อนกำหนด)

  1. ห้ามบิดขี้เกียจ เพราะเวลายืดตัวจะทำให้ช่องท้องเล็กลง ความดันในมดลูกจะสูงขึ้น ท้องจะแข็ง (เดินให้น้อยที่สุด) คุณแม่พยายามนอนพักหรือนั่งพักให้ได้มากที่สุดนะคะ ไม่อย่างนั้นมดลูกอาจบีบตัวได้ค่ะ
  2. เวลาจะนอนหรือจะลุก ให้ตะแคงร่างแทนการหงายตรง เพราะกล้ามเนื้อหน้าท้องจะทำงานน้อยลง
  3. อย่ากลั้นปัสสาวะ เพราะกระเพาะปัสสาวะที่โตจะไปเบียดมดลูกทำให้ท้องแข็ง
  4. ห้ามมีเพศสัมพันธ์โดยเฉพาะไตรมาสสุดท้าย เพราะจะทำให้หัวใจเต้นเร็วและมดลูกบีบตัว
  5. อย่าเพิ่งยุ่งกับหน้าอกหน้าใจ เพราะหากจุดติดเดี๋ยวจะยุ่ง

ทราบอย่างนี้แล้ว เพื่อความปลอดภัยและความชัวร์ คุณแม่ควรสังเกตุการเปลี่ยนแปลงของร่างกายในแต่ละวันด้วยนะคะ (แม้อายุครรภ์น้อยๆ ก็ตาม) เพื่อความแข็งแรงและปลอดภัยของทั้งคุณแม่และเบบี๋ค่ะ

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP