ยาที่คนท้องห้ามกิน แม่ท้องควรรู้ถ้าไม่อยากเสี่ยงแท้ง

สุขภาพช่วงตั้งครรภ์

ระหว่าง 9 เดือนที่คุณแม่ต้องอุ้มท้องลูกนั้น แน่นอนคงต้องมีซักวันที่คุณแม่จะไม่สบายบ้าง ปวดเมื่อยเนื้อตัวกันบ้าง ถ้าไม่ได้ท้อง “ยา” จะเป็นสิ่งแรกๆ ที่คุณแม่จะนึกถึงเพื่อช่วยบรรเทาอาการ แต่…หากแม่ท้อง ต้องศึกษาข้อมูลให้ดีๆ หรือทางที่ดีปรึกษาคุณหมอที่คุณแม่ฝากครรภ์ค่ะว่ายาอะไรที่คนท้องห้ามทาน

การใช้ยาในคนท้อง

หากคุณแม่เกิดมีอาการไม่สบาย การเลือกใช้ยานั้นมีผลมาก เพราะยาจะส่งผลต่อลูกในท้องโดยผ่านทางรก ยาบางชนิดมีผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของลูกในท้องได้ ทั้งนี้ รวมถึงผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีโอกาสตั้งท้องอาจจำเป็นต้องมีการประเมินเรื่องการใช้ยาร่วมด้วยค่ะ
ยาบางชนิดนอกจากจะมีผลกับลูกในท้องในระยะครรภ์3-4 เดือนแรกแล้ว อาจยังมีผลต่อลูกในระยะใกล้คลอด หรืออาจมีผลต่อการแข็งตัวของหลอดเลือดในระหว่างการคลอดอีกด้วยค่ะ

ผลของการทานยาต้องห้ามสำหรับคนท้อง

หาคุณแม่ท้องได้รับยาต้องห้ามเข้าไป ผลที่เกิดขึ้นกับลูกในท้องแต่ละระยะจะไม่เหมือนกัน โดยแบ่งได้เป็น 4 ระยะ ดังนี้

  • ระยะปฏิสนธิไม่ปฏิสนธิหรือแท้ง
  • ระยะ 1-2 สัปดาห์แรก(ระยะเอ็มบริโอก่อนฝังตัว) ส่งผลให้เซลล์ลดลงและแท้ง
  • ระยะ 2-8 สัปดาห์(ระยะสร้างอวัยวะต่างๆ) ลูกจะพิการตั้งแต่กำเนิด, เกิดมะเร็งในภายหลัง, ลูกในท้องเติบโตช้า
  • ระยะ 3-9 เดือน ลูกมีน้ำหนักตัวน้อย, การเจริญเติบโตของศีรษะและระบบประสาทผิดปกติ, อวัยวะเพศภายนอกมีความผิดปกติ

ปัจจัยในการเลือกใช้ยาสำหรับคนท้อง

การเลือกใช้ยาสำหรับคนท้องต้องพิจารณาจากหลายปัจจัยด้วยกัน

  • ช่วงอายุครรภ์ที่ได้รับยาหรือสารเคมี
    แบ่งเป็น 3 ไตรมาส ได้แก่

    • ไตรมาสที่ 1 คือ อายุครรภ์ตั้งแต่เดือนที่ 0-3
    • ไตรมาสที่ 2 คือ อายุครรภ์ตั้งแต่เดือนที่ 4-6
    • ไตรมาสที่ 3 คือ อายุครรภ์ตั้งแต่เดือนที่ 7-9

    เพราะยาบางชนิดอาจส่งผลต่อลูกในท้องตั้งแต่ไตรมาสแรก หรือบางชนิดก็มีผลในทุกไตรมาส ซึ่งทางที่ดีในไตรมาสแรกคุณแม่ควรเลี่ยงการใช้ยาก่อนนะคะ เพื่อป้องกันผลเสียที่เกิดขึ้นกับลูกในท้องค่ะ

  • ชนิดและปริมาณของยาหรือสารเคมีที่ได้รับ
    หากคุณแม่จำเป็นที่จะต้องใช้ยา ควรใช้ในขนาดที่ต่ำที่สุดในระยะเวลาที่สั้นที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ไม่ควรใช้ยาหลายชนิดพร้อมกันหรือการใช้ยาสูตรผสมในการรักษาโรคต่างๆ
  • ปัจจัยทางพันธุกรรม
  • ภาวะของตัวคุณแม่เอง
    เช่น อายุ ภาวะโภชนาการ หรือโรคประจำตัว
  • คุณแม่ท้องควรเลือกวิธีการรักษาโดย “ไม่ใช้ยา” เป็นอันดันแรก
    แต่หากไม่ได้ผล ค่อยใช้ยาในการรักษา แต่ก็ควรใช้ยาในขนาดที่ต่ำที่สุดและระยะเวลาสั้นที่สุด เพื่อไม่ให้ลูกในท้องได้รับอันตรายจากการใช้ยา
  • การจะใช้ใดๆ ก็ตามควรอยู่ภายใต้การดูแลของคุณหมอหรือเภสัชกรอย่างใกล้ชิด

การจัดกลุ่มยาตามความปลอดภัยของลูกน้อยในท้อง

องค์การอาหารและยา ประเทศสหรัฐอเมริกาได้จัดกลุ่มยาตามความปลอดภัยของทารกในครรภ์ออกเป็น 5 ประเภท ดังนี้

  • Pregnancy Category A จากการศึกษาในมนุษย์พบว่าไม่มีอันตรายต่อลูกในท้อง
  • Pregnancy Category B จากการศึกษาในสัตว์ทดลองพบว่า ยาที่อยู่ในประเภทนี้ไม่มีความเสี่ยงในการทำให้ตัวอ่อนในท้องผิดปกติ แต่ไม่มีการศึกษาในมนุษย์ ดังนั้น ยาในกลุ่มนี้สามารถใช้ได้กับคุณแม่ท้องได้อย่างปลอดภัย
  • Pregnancy Category C จากการศึกษาในสัตว์ทดลองพบว่า ยานี้มีความเสี่ยงที่จะให้ตัวอ่อนในครรภ์ผิดปกติ แต่ไม่มีการศึกษาในมนุษย์ ดังนั้น การใช้ยาในกลุ่มนี้ควรมี “การประเมิน” จากคุณหมอระหว่างประโยชน์ที่ได้รับยากับความเสี่ยงต่อความผิดปกติของลูกในท้อง โดยเน้นที่ได้ประโยชน์มากกว่าอันตราย
  • Pregnancy Category D ยาที่อยู่ในกลุ่มนี้ เป็นยาที่มีความเสี่ยงผิดปกติต่อลูกในท้อง ดังนั้น คุณหมอต้องพิจารณาแล้วว่าหากใช้ยานี้ต้องได้รับประโยชน์มากกว่าโทษ จะใช้ในกรณีที่ต้องช่วยชีวิตคุณแม่หรือใช้รักษาโรคที่ร้ายแรงซึ่งไม่สามารถใช้ยาที่ปลอดภัยมากกว่าได้หรือไม่ได้ผลตามที่คุณหมอต้องการ
  • Pregnancy Category X จากการศึกษาพบว่ายาในกลุ่มนี้มีผลทำให้ลูกในท้องมีความผิดปกติ และมีความเสี่ยงที่จะได้รับอันตรายมากกว่าประโยชน์ ดังนั้น ยาประเภทนี้ห้ามใช้ในคุณแม่ท้องหรือผู้หญิงที่มีความเสี่ยงที่จะท้อง

ยาที่คนท้องห้ามกิน (เพิ่มเติม) แบ่งตามอาการ

ยาแก้ปวด ลดไข้

ในช่วงที่คุณแม่ตั้งครรภ์อ่อน ๆ (โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสแรก) ยาลดไข้ที่คุณแม่ไม่ควรกิน คือ

  • แอสไพริน (Aspirin) และ
  • ไอบูโรเฟน (Ibuprophen)

เพราะยาเหล่านี้จะส่งให้เลือดแข็งตัว และเพิ่มความเสี่ยงในการแท้งลูกได้ 5 – 6 เท่า และถ้าหากคุณแม่กินยานี้ในขณะใกล้คลอด ก็อาจส่งผลกระทบต่อการทำงานของเกล็ดเลือดของทารก ทำให้เลือดไหลไม่หยุดได้

ยาแก้แพ้

อาทิ คลอเฟนิรามีน (Chlorpheniramine) ยานี้สามารถใช้ได้เพียงชั่วคราวหรือระยะเวลาสั้น ๆ ได้ค่ะ แต่ถ้าหากใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานอาจส่งผลให้เกล็ดเลือดต่ำได้ ทารกที่เกิดมาอาจมีเลือดไหลมากผิดปกติ

ยาปฏิชีวนะและยาแก้อักเสบ

ยาบางชนิดในกลุ่มนี้จะส่งผลลบต่อการสร้างกระดูกและฟันของทารกโดยตรง และมีพัฒนาการทางสมองที่ผิดปกติ ถ้าแม่ท้องกินยานี้ในช่วงอายุครรภ์ประมาณ 6 – 8 เดือน จะส่งผลให้กระดูกและฟันไม่สมบูรณ์ได้ นอกจากนี้ยานี้อาจส่งผลกระทบต่อตับของคุณแม่อีกด้วยค่ะ

หากคุณแม่กินยากลุ่มดังกล่าวนี้ในช่วงอายึครรภ์ 2 – 3 สัปดาห์ จะส่งผลให้ลูกน้อยหูตึง และส่งผลต่อระบบประสาทเกี่ยวกับการได้ยินในบางส่วน ได้แก่

  • สเตรปโตมัยซิน (Streptomycin)
  • กานามัยซิน (Kanamycin)
  • เจนตามัยซิน (Gentamycin)
  • ซัลโฟนาไมด์ (Sulfonamides)

ยานอนหลับ

ยาที่คุณแม่ท้องไม่ควรกิน ได้แก่

  • อัลปราโซแลม
  • ไดอาซีแพม

หากคุณแม่กินยานี้ในช่วงตั้งครรภ์ จะส่งผลให้ทารกในครรภ์ปากแหว่งเพดานโหว่ได้ ยากลุ่มนี้นอกจากไม่ควรกินขณะที่ตั้งครรภ์แล้ว ยังควรงดยานี้ก่อนการตั้งครรภ์อย่างน้อย 3 – 6 เดือน อีกด้วยนะคะ

ยารักษาผมร่วง

อาทิ ฟิแนสเทอไรด์ (Finasteride) เพราะอาจส่งผลให้อวัยวะเพศของทารกผิดปกติได้

ยาสเตียรอยด์ทุกประเภท (Steroid)

เพราะยาในกลุ่มนี้อาจเพิ่มโอกาสเสี่ยงในการแท้งลูกได้ นอกจากนี้จะส่งผลให้ทารกในครรภ์เจริญเติบโตได้ไม่สมบูรณ์ บางรายอาจมีความผิดปกติบางประการเกิดขึ้นอีกด้วยค่ะ เช่น ปากแหว่งเพดานโหว่ และในยาบางชนิดส่งผลให้อวัยวะเพศหญิงมีลักษณะของอวัยวะเพศชายค่ะ

ยารักษาสิว

ยารักษาสิวบางชนิดมีอนุพันธ์ของวิตามินเอซึ่งสามารถสะสมในร่างกาย หากคุณแม่มีแผนที่จะตั้งครรภ์ควรหยุดกินวิตามินเออย่างน้อย 3 เดือน – 1 ปี

ยาแก้อาเจียนหรือยาแก้แพ้ท้อง

ก่อนคุณแม่จะทานยาชนิดนี้ควรให้คุณหมอเป็นผู้สั่งยาให้เท่านั้นค่ะ ไม่ควรซื้อยามากินเอง เพราะจะส่งผลให้ทารกเกิดความพิการแต่กำเนิดได้

ยาลดกรดในกระเพาะอาหาร

ยาลดกรดชนิดที่มีส่วนผสมของแมกนีเซียมไฮดรอกไซด์ (Magnesium Hydroxide) ในปริมาณมาก ๆ และกินติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน อาจทำในให้คุณแม่เกิดอาการท้องเสีย เป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ และที่สำคัญ จะส่งผลให้ทารกแรกเกิดมีปริมาณแคลเซียมและแมกนีเซียมในเลือดสูงและมีอาการชักได้

มาถึงตรงนี้แล้ว คุณแม่หลาย ๆ ท่านก็พอจะทราบกันแล้วใช่ไหมคะว่ายาอะไรที่แม่ท้องไม่ควรกิน ส่วน “ยาที่คนท้องกินได้มีอะไรบ้าง” ไปติดตามกันค่ะ


ตอนนี้ท้องได้ 4 เดือนแต่แพ้อากาศหนักมากกจะกินแก้พชนิดไหนได้บ้าง? นอกจากยาแก้แพ้ที่คุณแม่จะได้ทราบจากบทความนี้แล้ว ยังมีกลุ่มยาอื่น ๆ อีกที่แม่ท้องกินได้และควรรู้ คลิกที่นี่ค่ะ


ขอบคุณภาพจาก : amarinbabyandkids

คนท้องกินยาแก้ไอได้ไหม?

เรื่องของสุขภาพและความเจ็บป่วย บางครั้งก็เป็นอะไรที่ป้องกันได้ยาก เพราะเมื่อไหรก็ตามที่คุณแม่ตั้งครรภ์พักผ่อนน้อย ภูมิคุ้มกันก็จะต่ำลง ส่งผลให้เชื้อโรคเป็นใหญ่ในร่างกายเรา ในกรณีที่คุณแม่ตั้งครรภ์เจ็บคอ เบื้องต้นให้เน้นจิบน้ำอุ่นหรือน้ำผึ้งผสมมะนาวอุ่น (แบบผลสด) ก็จะช่วยได้ แต่หากมีอาการมากๆ ล่ะ จะสามารถกินยาแก้ไอได้หรือไม่? ได้ค่ะ ไปดูกันเลย

เด็กซ์โตรเมทอร์โทรเฟน (Dextromethorphan)

ยาแก้ไอในกลุ่มนี้จะมีส่วนผสมของ เด็กซ์โตรเมทอร์โทรเฟน (Dextromethorphan) เหมาะกับคุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีอาการไอแห้งๆ หรือไอแบบไม่มีเสมหะ หากคุณแม่จะไปเลือกซื้อเองที่ร้านขายยา ควรสอบถามจากเภสัชกรหรือตรวจสอบด้วยว่า ยาแก้ไอนี้จะไม่มีส่วนผสมของยาชนิดอื่นร่วมด้วย แต่โดยมากแล้วเภสัชกรมักจะจ่ายยาชนิดเม็ดที่มีตัวยานี้ ในปริมาณ 15 กรัม ทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 3 ครั้ง หลังอาหาร

บรอมเฮ็กซีน (Bromhexine) และ อะเซทิลซิสเทอีน (Acetylcysteine)

กลุ่มนี้เป็นยาแก้ไอที่เหมาะกับคุณแม่ตั้งครรภ์ที่ไอแบบมีเสมหะ ซึ่งตัวยาที่ช่วยลดเสมหะและเป็นยาที่คุณแม่ตั้งครรภ์ทานได้ ก็จะมี 2 ตัวยานี้ มีคุณสมบัติช่วยทำให้เสมหะอ่อนตัวลง ทำให้ขับออกมาง่ายขึ้น มีทั้งชนิดเม็ดและชนิดน้ำ ทั้งนี้ เพื่อความรอบคอบอีกนิด คุณแม่ควรสังเกตฉลากข้างกล่องด้วยนะคะว่าต้อง “ปราศจากแอมโมเนีย และแอลกอฮอล์” ผสมอยู่ เนื่องจากจะส่งผลกระทบต่อลูกน้อยในครรภ์ได้

กลุ่มยาอม ยาพ่นคอต่าง ๆ

นอกเหนือจากตัวยาหลักที่คุณแม่ตั้งครรภ์ทานแล้ว ในระหว่างวันหากคุณแม่มีอาการคอแห้ง ระคายคอ สามารถใช้ยาอมหรือยาพ่นช่วยได้ ได้แก่ ยาอมมายบาซิน สเตร็ปซิล หรือยาพ่นอย่างคามิโลซาน เอ็ม เหล่านี้เป็นยาที่ออกฤทธิ์เฉพาะที่ ปลอดภัยต่อคุณแม่ตั้งครรภ์ ที่สำคัญ ยังช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอ และระคายคอได้อีกด้วย

คนท้องเป็นไข้กินยาอะไรได้บ้าง?

คุณแม่ตั้งครรภ์ไม่สบาย มีไข้ โดยเฉพาะในช่วงอายุครรภ์ไตรมาสแรก การใช้ยาควรมีความรอบคอบให้มากเป็นพิเศษ ซึ่งยาแก้ปวด ลดไข้ที่คุณแม่ตั้งครรภ์…

  • กินได้ ได้แก่ ยาพาราเซตามอล
  • ห้ามกิน ได้แก่ ยาในกลุ่มแอสไพริน (Aspirin) และไอบูโปรเฟน (Ibuprofen) รวมไปถึงยาแก้ปวดไมเกรนในกลุ่มเออร์โกตามีน (Ergotaine) และยาแก้อักเสบทุกชนิด เนื่องจากอาจเสี่ยงต่อภาวะแท้งคุกคามได้

ไม่ควรใช้ยาใดๆ ทั้งยากิน ยาทา ยาฉีด ในช่วงตั้งครรภ์ 3 เดือนแรก เพื่อป้องกันภาวะแท้งคุกคามที่เกิดจากความไม่ตั้งใจ และลดความเสี่ยงต่อความพิการของทารกในครรภ์ และหากไม่สบายเกินกว่าจะหายเองได้ ให้รีบพบแพทย์จะดีที่สุด ไม่ควรหาซื้อยามาทาเอง

อ้างอิงจาก: โรงพยาบาลเปาโล

ข้อมูลอ้างอิง
Medthai.com

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP