ฮอร์โมนคนท้อง อารมณ์จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร?

สุขภาพช่วงตั้งครรภ์
JESSIE MUM

อารมณ์แปรปรวนขณะตั้งครรภ์” คุณแม่ทุกท่านเคยผ่านประสบการณ์นี้มาแล้ว เหตุเพราะฮอร์โมนในร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว บางเวลาคุณแม่ก็อารมณ์ดี แจ่มใส ผ่านมาอีก 5 นาทีนั่งร้องไห้ ซักพักก็น้อยใจ ซักพักเปลี่ยนไปเป็นหงุดหงิดซะงั้น จนเรียกได้ว่าคนใกล้ชิดรู้สึกหรือสัมผัสได้ถึงพลังงานบางอย่างกันเลยทีเดียว เพราะฉะนั้นวันนี้แม่โน้ตอยากชวนคุณพ่อคุณแม่มาทำความเข้าใจในเรื่องอารมณ์ขณะตั้งครรภ์กันสักหน่อย เพื่อการรับมืออย่างเข้าใจ

สาเหตุที่ทำให้อารมณ์เปลี่ยนแปลง

มีสาเหตุหลัก ๆ ที่ทำให้อารมณ์คุณแม่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วก็คือ “ฮอร์โมนเอสโตรเจน” นั่นเองค่ะ เจ้าฮอร์โมนตัวนี้จะสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยใน 1 วัน คุณแม่จะสามารถผลิตฮอร์โมนตัวนี้ออกมาได้มากพอ ๆ กับปริมาณของฮอร์โมนที่ร่างกายคนปกติผลิตออกมาถึง 3 ปีเลยทีเดียว แบบนี้จะไม่ทำให้อารมณ์ของคุณแม่ตั้งครรภ์แปรปรวนได้อย่างไรเนอะ

แม่โน้ต

การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนนี้มีการเปลี่ยนแปลงไปตั้งแต่เริ่มมีการตั้งครรภ์ พ่อเหมี่ยวเห็นว่าแม่โน้ตมีอารมณ์หงุดหงิดง่าย เลยไปซื้อชุดทดสอบการตั้งครรภ์มา 3 ชุด สรุปขึ้น 2 ขีดค่ะ เห็นได้ถึงการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ที่ชัดเจนเลยทีเดียว

อารมณ์เปลี่ยนแปลงในแต่ละไตรมาส

อารมณ์เปลี่ยนแปลง ไตรมาสที่ 1

  • มีอารมณ์ที่แปรปรวนอย่างมาก ขึ้น ๆ ลง ๆ
  • หงุดหงิดง่าย ใครทำอะไรช้าไม่ทันใจก็จะหงุดหงิด
  • ขี้รำคาญ ไม่ชอบให้ใครมาเกาะแกะ แต่ถ้าตัวเองไปอ้อนสามีแบบนี้ได้
  • ขี้น้อยใจ
  • ร้องไห้ง่ายกับเรื่องเล็กน้อย บางทีก็เป็นเรื่องที่ไม่เหตุผล
  • เอาแต่ใจตัวเอง อยากได้อะไรก็ต้องได้ (แบบทันทีด้วยสิ)
  • เกิดความกังวลเรื่องการตั้งครรภ์ ห่วงว่าลูกจะแข็งแรงดีไหม จนนอนไม่หลับ
  • ความต้องการทางเพศลดลง
แม่โน้ต

ข้อนี้เกิดจากหลายสาเหตุค่ะ เพราะความกังวลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ อาการแพ้ท้อง อาเจียนจนทำให้อ่อนเพลีย จึงทำให้อยากที่จะนอนพักอย่างเดียว

อารมณ์เปลี่ยนแปลง ไตรมาสที่ 2

  • คุณแม่ที่มีอาการแพ้ท้อง ช่วงนี้จะเบาลง เริ่มมีความสุขมากขึ้น ผ่อนคลายมากขึ้น
  • ปรับตัวและรับมือกับการเปลี่ยนแปลงได้ดีขึ้น
  • เริ่มรู้สึกถึงอีกหนึ่งชีวิตน้อย ๆ ในท้อง ในทุกครั้งที่ลูกดิ้น
  • เริ่มมีการสื่อสาร ชวนลูกพูดคุยได้มากขึ้น
  • คุณแม่บางท่านต้องออกจากงาน อาจมีบ้างที่ยังรู้สึกเหงา ๆ คิดถึงงานที่เคยทำ และต้องห่างจากเพื่อนร่วมงานที่เคยเจอหน้ากันทุกวัน อาจมีอาการซึมเศร้าบ้างเล็กน้อย
  • เริ่มมีอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย เช่น บริเวณหลัง และขา เป็นต้น

อารมณ์เปลี่ยนแปลง ไตรมาสที่ 3

  • ใกล้เวลาที่จะได้เจอลูกน้อย คุณแม่จะมีความตื่นเต้น เครียด และกังวลในเวลาเดียวกัน ไม่ว่าจะเครียดในเรื่องลูกจะแข็งแรงดีไหม จะคลอดอย่างไรดี อยากคลอดธรรมชาติแต่ไม่รู้ว่าจะทำได้ไหม ต้องเตรียมของอะไรให้ลูกบ้าง แล้วของตัวเองล่ะเตรียมของไปคลอดต้องมีอะไร และอีกจิปาฐะ

ผลกระทบจากอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลง

อย่างที่คุณแม่หลาย ๆ ท่านคงเคยรู้กันมาว่าเรื่องของ “อารมณ์” จะส่งผลต่อลูกน้อยในครรภ์ จะมีอะไรบ้าง ไปติดตามกันค่ะ

  • ความเครียดหรือความหงุดหงิดอันเกิดจากอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลง ความเครียดที่เกิดแบบฉับพลัน เกิดขึ้นบ่อย ๆ และเรื้อรัง จะส่งผลให้คุณแม่ร่างกายไม่แข็งแรง ป่วยบ่อย คลื่นไส้ ปวดศีรษะ อาเจียน กินไม่ได้ นอนไม่หลับ ซึ่งเหล่านี้จะทำให้คุณแม่อ่อนแรง ไม่มีอาหารส่งไปเลี้ยงลูกน้อยในครรภ์
  • ความเครียดอาจส่งผลให้คุณแม่คลอดก่อนกำหนด หัวใจเต้นเร็ว หลอดเลือดหดตัว ความดันโลหิตสูง ทั้ง ๆ ที่ก่อนตั้งครรภ์คุณแม่มีร่างกายที่แข็งแรงดี
  • หากคุณแม่เครียด ลูกน้อยในครรภ์ก็สามารถรับรู้ได้ จากสารเคมีในร่างกายของคุณแม่ที่หลั่งออกมาในกระแสเลือด นั่นก็คือ สารอะดรีนาลีน ซึ่งสารนี้จะทำให้ลูกน้อยในครรภ์เกิดความเครียดไปด้วย ส่งผลต่อพัฒนาการของลูกที่ล่าช้าทั้งขณะที่อยู่ในครรภ์และหลังคลอด
  • หากคุณแม่อารมณ์ดี ร่างกายจะหลั่งสารเอ็นโดรฟินออกมา ทำให้ลูกเติบโตดี มีพัฒนาการที่ดี เป็นเด็กที่มีอารมณ์แจ่มใส และเลี้ยงง่าย
  • คุณแม่เครียดก็จะส่งผลต่อน้ำหนักตัวของลูกน้อยในครรภ์ ทำให้มีน้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์เมื่อแรกคลอด อาจเป็นเด็กที่คลอดก่อนกำหนด ส่งผลให้เมื่อหลังคลอด พัฒนาการด้านการเรียนรู้ของลูกจะช้ากว่าเด็กทั่วไป
  • ลูกที่คลอดก่อนกำหนด หรือลูกที่เกิดจากคุณแม่ที่มีอารมณ์เครียดเรื้อรังขณะตั้งครรภ์ จะเป็นเด็กเลี้ยงยาก งอแง ขี้โมโห ร้องไห้เก่ง จนทำให้มีปัญหาอื่น ๆ ตามมา

อารมณ์ของคุณแม่ขณะตั้งครรภ์มีผลมากต่อลูกน้อยนะคะ แต่อารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงของคุณแม่ หากได้รับการตอบสนองในเชิงบวก ตอบสนองจากความเข้าใจของคุณพ่อและคนรอบข้างก็จะเป็นเรื่องดีที่สุด เพราะจะทำให้คุณแม่อารมณ์ดี ส่งผลดีต่อลูกน้อยในอนาคต คุณพ่อก็คิดเสียว่าคุณแม่ไม่ได้เป็นแบบนี้ตลอดไป ขอแค่ 9 เดือนเองนะคะคุณพ่อ

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP