ฝากครรภ์ คืออะไร? ทำไมต้องฝากครรภ์

สุขภาพช่วงตั้งครรภ์
JESSIE MUM

ด้วยระยะเวลาการตั้งครรภ์โดยปกติแล้วจะอยู่ที่ 9 เดือน ซึ่งระยะเวลาที่ยาวนานขนาดนี้ในช่วงที่คุณแม่ต้องอุ้มท้องเราไม่สามารถรู้ได้เลยว่าอะไรจะเกิดขึ้นกับคุณแม่และลูกน้อยบ้าง การที่คุณแม่ตั้งครรภ์แล้วได้อยู่ใกล้ชิดกับคุณหมอนับเป็นสิ่งจำเป็นค่ะ ทำไมถึงจำเป็น? ทำไมต้องฝากครรภ์? วันนี้เราจะมาไขข้อข้องใจกันค่ะ

ฝากครรภ์ คืออะไร?

การฝากครรภ์ คือ การที่คุณหมอจะดูแลการตั้งครรภ์ของคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์ ทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ และสังคม รวมถึงการเฝ้าระวัง ติดตามความผิดปกตอิอันอาจจะเกิดขึ้นได้ในขณะที่ตั้งครรภ์ นอกจากนี้ยังมีในเรื่องของการให้คำแนะนำและความรู้เกี่ยวกับข้อปฏิบัติตนต่าง ๆ ในขณะตั้งครรภ์ ซึ่งคุณหมอจะมีการนัดตรวจสุขภาพตลอดระยะเวลาการตั้งครรภ์

ทำไมต้องฝากครรภ์

จุดประสงค์ของการฝากครรภ์นั้น ก็เพื่อให้คุณหมอแน่ใจและมั่นใจได้ว่าคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์นั้นมีความแข็งแรงตลอดระยะเวลาการตั้งครรภ์ ซึ่งระหว่างนี้หากมีความผิดปกติเกิดขึ้น คุณแม่จะได้สามารถเข้าปรึกษาคุณหมอ และได้รับการดูแลรักษาได้อย่างทันท่วงที
เพราะคุณแม่ตั้งครรภ์มีหลายสิ่งหลายอย่างที่ควรรู้ไม่ว่าจะเป็นด้านโภชนาการ การใช้ยา การมีเพศสัมพันธ์ การเตรียมตัวก่อนคลอด รวมไปถึงการให้นมลูก นอกจากนี้ยังมีในเรื่องของการวางแผนครอบครัวหลังจากการคลอดแล้ว เบื้องต้นคุณแม่ควรรู้จักสังเกตตัวเองว่ามีอาการผิดปกติอะไรหรือไม่ มีการเจ็บครรภ์ ลูกดิ้นเยอะ ดิ้นน้อย หรือไม่ดิ้นเลย เพื่อเข้ารับการดูแลรักษาได้อย่างถูกต้องต่อไป
คุณแม่มือใหม่บางคนอาจจะกังวลว่า “ฝากครรภ์ครั้งแรกตรวจอะไรบ้าง เตรียมตัวอย่างไร” โดยทั่วไปก็จะมีการตรวจปัสสาวะ ตรวจเลือด วัดความดัน การซักประวัติ ฯลฯ เพื่อเป็นฐานข้อมูลในการดูแลและรักษาคุณแม่ในอนาคตค่ะ


ฝากครรภ์ครั้งแรกต้องทำอย่างไร? เตรียมอะไรไปบ้าง? ข้อมูลครบจบในที่เดียว จะฝากครรภ์ต้องทำอะไรบ้าง เอกสารที่ใช้มีอะไร คลิกที่นี่

หลังรับฝากครรภ์ทำอะไรอีกบ้าง?

ตรวจสุขภาพคุณแม่และทารกในครรภ์

เมื่อคุณแม่ที่ตั้งครรภ์เข้าพบคุณหมอ คุณหมอจะทำการซักประวัติ เรื่องของประจำเดือนขาด โรคประจำตัวต่าง ๆ การตั้งครรภ์ และการคลอดในท้องที่ผ่านมา ตลอดจนทำการตรวจสภาวะของทารกในครรภ์ก่อน ๆ หลังจากนั้นก็จะทำการตรวจร่างกาย และการตรวจทางห้องปฏิบัติการในส่วนที่จำเป็น ทั้งนี้ก็เพื่อการวินิจฉัยว่ามีการตั้งครรภ์และค้นหาสภาวะที่ต้องระวังสำหรับการตั้งครรภ์ในครั้งนี้

การตรวจทางห้องปฏิบัติการ

  • ตรวจปัสสาวะ : เพื่อยืนยันการตั้งครรภ์ และตรวจหาความผิดปกติของภาวะไตหรือภาวะครรภ์เป็นพิษ (Pre-eclampsia)
  • ตรวจความเข้มข้นของเลือด : เพื่อดูภูมิคุ้มกันและโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ที่อาจส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์ได้
  • ตรวจอัลตร้าซาวน์ : เพื่อตรวจดูอายุครรภ์ และดูความผิดปกติของทารกในครรภ์ เช่น ความพิการในส่วนต่าง ๆ อัตราการเต้นของหัวใจ เพื่อเป็นการประเมินดูว่าทารกนั้นยังมีชีวิตอยู่หรือไม่

การติดตามพัฒนาการของทารกในครรภ์อย่างใกล้ชิด

ในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ มดลูกจะอยู่ในตำแหน่งของอุ้งเชิงกราน เมื่ออายุครบ 5 เดือน ยอดมดลูกจะอยู่ที่ระดับสะดือ และเมื่อครบกำหนดคลอดมดลูกจะอยู่เกือบถึงลิ้นปี่

ในส่วนน้ำหนักของคุณแม่ในช่วง 3 เดือนแรก น้ำหนักยังคงขึ้นน้อยอยู่ เนื่องจากคุณแม่ส่วนใหญ่จะมีอาการแพ้ท้อง คลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ กินอาหารได้น้อย โดยเฉลี่ยแล้วน้ำหนักจะเพิ่มขึ้นประมาณ 1 – 1.5 กิโลกรัมเท่านั้น ซึ่งตลอดการตั้งครรภ์น้ำหนักของคุณแม่จะเพิ่มขึ้นประมาณ 10 – 12 กิโลกรัม ซึ่งในจำนวนนี้จะเป็นส่วนของทารก รก และน้ำคร่ำประมาณ 5 กิโลกรัม เป็นส่วนของมดลูกและส่วนอื่น ๆ ของคุณแม่อีก 7 กิโลกรัมค่ะ

ข้อมูลอ้างอิง chularat3.com

สิ่งที่คุณแม่ตั้งครรภ์พึงระวัง

  • ความเครียด และความวิตกกังวล เพราะจะทำให้เกิดความหดหู่ได้ ซึ่งจะส่งผลต่อลูกน้อยในครรภ์ อาจเกิดอาการแท้งได้ หากไม่สามารถปล่อยวางได้ ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อหาทางแก้ไข
  • การใช้ยา ไม่ควรใช้ยาโดยปราศจากการปรึกษาคุณหมอก่อน เพราะจะส่งผลให้แท้งได้เช่นกัน
  • ควรกินอาหารที่สุกแล้วเท่านั้น หลีกเลี่ยงอาหารดิบ หรือสุก ๆ ดิบ ๆ เพราะอาหารเหล่านี้ยังคงมีเชื้อแบคทีเรียปนเปื้อนอยู่ คุณแม่อาจท้องเสียได้
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ เพราะจะอันตรายต่อคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์โดยตรง ส่งผลให้ลูกน้อยมีน้ำหนักน้อย ไม่ได้ตามเกณฑ์ หรือหากติดบุหรี่มาก ๆ อาจแท้งลูกได้
  • ห้ามลดน้ำหนัก เพราะคุณแม่ท้องต้องการสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมาก ควรกินอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ ลดปริมาณแป้งและน้ำตาลลง เพื่อป้องกันการเกิดโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ เน้นอาหารประเภทผักและผลไม้ โฟเลต แคลเซียม และธาตุเหล็ก
  • ห้ามมีเพศสัมพันธ์ โดยเฉพาะในช่วงการตั้งครรภ์อ่อน ๆ เนื่องจากคุณแม่บางคนเคยมีประวัติการแท้งลูกมาก่อน เพื่อเป็นการลดปัจจัยเสี่ยง ควรรอจนกว่าทารกจะแข็งแรงพอ
  • ไม่ควรสวนล้างช่องคลอด เนื่องจากภายในช่องคลอดจะมีแบคทีเรียที่คอยปกป้องเชื้อโรคอยู่แล้ว มีฤทธิ์เป็นกรดอ่อน ๆ หากใช้น้ำยาสวนล้างก็เท่ากับเปิดทางให้เชื้อโรคเข้าได้ง่ายขึ้น

ข้อมูลอ้างอิง sanook.com

หลังจากที่คุณแม่ทำการตรวจด้วยชุดตรวจการตั้งครรภ์แล้ว และแน่ใจว่าตนเองกำลังตั้งครรภ์ ควรฝากครรภ์กับคุณหมอทันที เพื่อความปลอดภัยและความแข็งแรงของทั้งคุณแม่และลูกน้อยนะคะ

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP