ฝากครรภ์ครั้งแรกตรวจอะไรบ้าง เตรียมตัวอย่างไร

สุขภาพช่วงตั้งครรภ์
JESSIE MUM

ทันทีที่รู้ตัวว่าตั้งครรภ์ สำหรับคุณแม่มือใหม่อาจจะดีใจได้ 3 วินาที หลังจากนั้นก็จะเปลี่ยนเป็นความกังวลเล็ก ๆ ว่าเราจะเป็นคุณแม่ที่ดีได้ไหมนะ ลูกจะแข็งแรงไหมนะ จะไปฝากครรภ์ที่ไหนดี ฯลฯ แต่เหนือสิ่งอื่นใดคือ คุณแม่ควรไปฝากครรภ์ก่อน ซึ่งการฝากครรภ์ คุณหมอจะตรวจอะไรบ้างนะ คุณแม่ต้องเตรียมตัวอย่างไร ไปติดตามกันค่ะ

การเตรียมตัวไปฝากครรภ์

จะฝากครรภ์ที่ไหนดี? เรื่องนี้ไม่ได้มีกฎเกณฑ์กำหนดตายตัว แต่ก็มีแนวทางให้คุณแม่ได้นำปพิจารณา ดังนี้

เลือกสถานที่ใกล้บ้าน

ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉิน การเลือกโรงพยาบาลที่ใกล้บ้านจะทำให้เดินทางได้สะดวก ได้รับการดูแลอย่างทันท่วงที

เลือกคุณหมอที่คุณแม่ไว้ใจ

โดยพิจารณาจากประสบการณ์ และประวัติการทำงาน จะทำให้คุณแม่คลายกังวลได้เยอะทีเดียว

เลือกตามงบประมาณ

จะเป็นโรงพยาบาลรัฐหรือเอกชนก็ตามสะดวก ตามงบประมาณที่มีค่ะ

สิ่งที่ต้องเตรียมเมื่อไปฝากครรภ์ครั้งแรก

ในครั้งแรกที่คุณแม่ไปฝากครรภ์ ควรเตรียมเอกสารและข้อมูลต่าง ๆ ไปด้วย ดังนี้

  • บัตรประชาชนของทั้งคุณพ่อ และคุณแม่
  • ประวัติการเจ็บป่วย โรคประจำตัว ข้อมูลการแพ้ยา การคลอดลูก การแท้งบุตรในครรภ์ก่อนหน้า รวมถึงประวัติเสี่ยงต่อโรคทางพันธุกรรม
  • ข้อมูลของการมีรอบเดือนครั้งสุดท้าย โดยนับจากวันแรกของการมีรอบเดือนครั้งสุดท้าย

ฝากครรภ์ครั้งแรกตรวจอะไรบ้าง?

โดยทั่วไปคุณหมอจะทำการตรวจร่างกาย ดังนี้

ตรวจปัสสาวะ

เพื่อดูว่ามีน้ำตาลในปัสสาวะหรือไม่ เพื่อให้แน่ใจว่าคุณแม่ไม่ได้เป็นเบาหวานแทรกซ้อน รวมถึงดูว่ามีโปรตีนออกมาด้วยหรือไม่ เพื่อดูการทำงานของไต ซึ่งถ้าตรวจพบในช่วงหลังของการตั้งครรภ์ร่วมกับมีความดันโลหิตสูงร่วมด้วย แปลว่าคุณแม่มีโอกาสเสี่ยงสูงที่จะมีภาวะครรภ์เป็นพิษ

ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง

ซึ่งจะเป็นการบอกได้คร่าว ๆ ถึงเชิงกรานได้ ถ้าคุณแม่ตัวเล็ก อาจทำให้คลอดได้ยาก ถ้าเชิงกรานไม่ได้สัดส่วนกับขนาดของลูก

ตรวจเลือด

พยาบาลจะเจาะเลือดที่บริเวณข้อพับประมาณ 10 ซีซี เพื่อนำไปตรวจดูความเข้มข้นของเลือด ส่วนประกอบของเลือด กรุ๊ปเลือด โรคเลือดธาลัสซีเมีย รวมถึงตรวจหาเชื้อบางชนิด เช่น หัดเยอรมัน ซิฟิลิส ไวรัสตับอักเสบบี และเอดส์

วัดความดันโลหิต

หากวัดค่าออกมาได้เกิน 149/90 มิลลิเมตรปรอท ถือว่ามีความดันโลหิตสูง

อัลตร้าซาวด์

เพื่อเป็นการดูท่าของทารกว่ากำลังอยู่ในท่าใด ส่วนนำเป็นส่วนของศีรษะหรือไม่ และเป็นการประมาณขนาดและน้ำหนักของทารกในครรภ์ และที่สำคัญคือ เป็นการทำให้แน่ใจว่าท่าของทารกจะไม่เป็นอันตรายต่อทั้งทารกเองและคุณแม่

การติดตามสุขภาพครรภ์และพัฒนาการทารกในครรภ์

สามารถแบ่งออกได้เป็นไตรมาส ดังนี้

ไตรมาสที่ 1

นับตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ – 14 สัปดาห์ โดยคุณหมอจะนัดตรวจทกเดือน เดือนละ 1 ครั้ง โดยมีการตรวจ ดังนี้

  • ตรวจปัสสาวะหรือเลือด เพื่อยืนยันการตั้งครรภ์
  • ตรวจคัดกรองการติดเชื้อแบคทีเรียในช่องคลอด หรือกระเพราะปัสสาวะ
  • ตรวจเลือดสำหรับการตรวจครรภ์ครั้งที่ 1 เพื่อหาโรคเอดส์ กามโรค ตับอักเสบบี/ซี หมู่เลือด และโรคธาลัสซีเมีย
  • ตรวจเลือดคุณแม่เพื่อคัดกรองความผิดปกติทางพันธุกรรม หรือตรวจหาสารบางชี้ความเป็นดาวน์ซินโดรม
  • ตรวจอัลตร้าซาวด์ เพื่อกำหนดอายุครรภ์

ไตรมาสที่ 2

คุณหมอจะนัดตรวจทุกเดือน เดือนละ 1 ครั้ง ซึ่งมีการตรวจ ดังนี้

  • ตรวจเลือด เพื่อคัดกรองภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์
  • เจาะน้ำคร่ำ เพื่อตรวจโครโมโซมของทารกในครรภ์ (เฉพาะกรณีที่มีความเสี่ยง)
  • ตรวจอัลตร้าซาวด์ เพื่อดูเพศของทารกในครรภ์ และติดตามพัฒนาการของทารก

ไตรมาสที่ 3

คุณหมอจะนัดตรวจทุก 2 สัปดาห์ ซึ่งจะมีการตรวจ ดังนี้

  • สอนให้คุณแม่รู้จักการนับลูกดิ้น
  • ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ และบาดทะยัก
  • ตรวจเลือดสำหรับฝากครรภ์ครั้งที่ 1 (โรคเอดส์ กามโรค ตับอักเสบบี/ซี หมู่เลือด และโรคธาลัสซีเมีย)
  • ตรวจอัลตร้าซาวด์ เพื่อคำนวณน้ำหนักตัว และติดตามสุขภาพของทารกในครรภ์

สำหรับการฝากครรภ์ในครั้งแรก เมื่อเสร็จในเรื่องการตรวจปัสสาวะ และตรวจเลือดแล้ว คุณแม่จะได้รับสมุดฝากครรภ์ ซึ่งทุกครั้งที่คุณแม่ไปพบคุณหมอควรนำติดตัวไปด้วยทุกครั้งนะคะ เพราะเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้นมา และจำเป็นต้องเข้าที่โรงพยาบาลอื่น คุณหมอท่านอื่นจะได้มีข้อมูลของคุณแม่และลูกน้อยค่ะ

ข้อมูลอ้างอิง nakornthon.com , rakluke.com

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP