ทำงานหนักขณะตั้งครรภ์ ทำงานเข้ากะได้ไหม

สุขภาพช่วงตั้งครรภ์
JESSIE MUM

หลายครอบครัวที่มีคุณแม่ทำงานนอกบ้านเข้างานเป็นกะ คุณแม่หลายคนรู้ตัวดีว่าเมื่อตั้งครรภ์ร่างกายต้องได้รับการดูแลอย่างดี ใส่ใจและฟูมฟักลูกน้อยในท้องอย่างเต็มที่ แต่บางครั้งด้วยสถานการณ์ต่าง ๆ ทำให้คุณแม่ตั้งครรภ์เลี่ยงไม่ได้แม้งานที่ต้องเข้ากะ วันนี้เราจะมาดูกันค่ะว่าการทำงานหนักขณะตั้งครรภ์ งานเข้ากะนั้นจะส่งผลกระทบต่อคุณแม่และลูกน้อยได้อย่างไรบ้าง

การใช้แรงงานหญิงตั้งครรภ์ ในด้านกฎหมาย กระทรวงแรงงาน

กระทรวงแรงงานได้มีกฎหมายรองรับสำหรับการใช้แรงงานหญิงตั้งครรภ์ไว้ดังนี้

  • ห้ามนายจ้างให้ลูกจ้างหญิง ที่มีครรภ์ทำงานในระหว่างเวลา 22:00 น. – 06:00 น. ทำงานล่วงเวลา ทำงานในวันหยุด หรือทำงานอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
    • งานเหมืองแร่ หรืองานก่อสร้างที่ต้องทำใต้ดิน ใต้น้ำ ในถ้ำ ในอุโมงค์ หรือปล่องในภูเขาเว้นแต่ลักษณะของงาน ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือ ร่างกายของลูกจ้างหญิงนั้น
    • งานเกี่ยวกับเครื่องจักรหรือเครื่องยนต์ที่มีความสั่นสะเทือน
    • งานขับเคลื่อนหรือติดไปกับยานพาหนะ
    • งานยก แบก หาม หาบ ทูน ลาก หรือเข็นของหนักเกิน 15 กิโลกรัม
    • งานที่ทำในเรือ
    • งานอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

    พนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งให้นายจ้างเปลี่ยนเวลาทำงานหรือชั่วโมงทำงาน ของลูกจ้างหญิงที่ทำงานในระหว่างเวลา 24:00 น.- 06:00 น. ได้ตามที่เห็นสมควร ถ้าพนักงานตรวจแรงงานเห็นว่างานนั้นอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ และความปลอดภัยของลูกจ้างหญิงนั้น

  • ลูกจ้างหญิงมีครรภ์มีสิทธิที่จะขอให้นายจ้างเปลี่ยนงานในหน้าที่เดิมเป็นการชั่วคราวก่อนหรือหลังคลอดได้ กรณีที่มีใบรับรองแพทย์ แผนปัจจุบันชั้นหนึ่ง มาแสดงว่าไม่อาจทำงานในหน้าที่เดิมต่อไปได้
  • ห้ามนายจ้างเลิกจ้างหญิง เนื่องจากมีครรภ์
    หากพบปัญหาสามารถร้องเรียน โดยกรอกเอกสาร คร. 7 ของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เพื่อให้พนักงานตรวจแรงงานได้ดำเนินการให้นายจ้างปฏิบัติตาม พรบ.คุ้มครองแรงงานได้

ทำงานหนักขณะตั้งครรภ์ ทำงานเข้ากะได้ไหม

จาก เพจหมอเต้ ได้ออกมาให้ข้อมูลไว้ดังนี้ค่ะ

แม่ตั้งครรภ์ทำงานเป็นกะ เสี่ยงการคลอดก่อนกำหนด มีงานวิจัยรองรับ

จากการรวบรวมงานวิจัย 62 ชิ้นงาน หญิงตั้งครรภ์ที่เข้าร่วมทำการศึกษา 196,989 คน โดยเปรียบเทียบ 2 กลุ่ม คือ

  • คนที่ทำงานกะเช้าบ้างกลางคืนบ้าง หรือเฉพาะกลางคืน ในช่วงเวลา 23:00 น. – 11:00 น. หรือที่ต้องทำงานมากกว่า 40 ชม. ต่อสัปดาห์
  • คนที่ทำงานเฉพาะช่วงกลางวัน เวลา 08:00 น. – 06:00 น. หรือทำงานไม่เกิน 40 ชม. ต่อสัปดาห์

จากด้านบนนี้จะเห็นได้ว่าไม่ว่าจะทำงานกลางคืนอย่างเดียว ทำงานสลับไปมา หรือทำงานมากกว่า 40 ชม. ต่อสัปดาห์ในระหว่างการตั้งครรภ์ ล้วนแล้วแต่เป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการคลอดก่อนกำหนดทั้งสิ้น

**แม่ท้องที่ทำงานมากกว่า 55.5 ชม. ต่อสัปดาห์ เท่ากับเป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการคลอดก่อนกำหนดได้ 10%

แม่ตั้งครรภ์ไม่ได้นอน ทำให้ฮอร์โมนความเครียดหลั่ง

  • ฮอร์โมนความเครียดหรือ คอร์ตอซอล (Cortisol) จะหลั่งมากขึ้น
  • ลดการสร้างเมลาโทนิน
  • การสร้างฮอร์โมนจากรกเปลี่ยนไป มีการสร้างสารอักเสบมากขึ้น กระตุ้นให้รกเสื่อมเร็ว กระตุ้นให้มดลูกบีบตัว

วิธีดูแลตัวเองของคุณแม่ตั้งครรภ์ที่ต้องทำงานนอกบ้าน

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขได้ให้คำแนะนำไว้ ดังนี้

  • งานที่แม่ตั้งครรภ์ทำ ไม่ควรเป็นงานหนัก หรืองานต้องยกของหนัก แต่หากมีความจำเป็นให้ใช้วิธีงอเข่า หลังเหยียดตรง ปล่อยน้ำหนักไปที่ต้นขา ท่านี้ก็จะช่วยลดอาการปวดหลังของคุณแม่ตั้งครรภ์ได้
  • ไม่ควรเดินบ่อย นั่ง หรือยืนนาน ๆ ควรหาเวลาพักระหว่างการทำงาน เน้นเปลี่ยนอิริยาบถบ่อย ๆ
  • เก้าอี้นั่งทำงานควรมีพนักพิงที่เอียงประมาณ 110 – 120 องศา อาจมีการเสริมเบาะสำหรับพิง และนั่งให้ก้นชิดพนักพิง
  • เสื้อผ้าควรสวมใส่ชุดคลุมท้องที่สบายตัว อากาศถ่ายเทได้ดี
  • สวมรองเท้าเพื่อสุขภาพ งดการใส่ส้นสูง เพื่อป้องกันการลื่นล้ม
  • ออกกำลังกายพอประมาณ หรือปรึกษาคุณหมอก่อน
  • เลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ คาเฟอีน และงดสูบบุหรี่
  • กินวิตามินหรือยาบำรุงตามที่คุณหมอสั่งอย่างเคร่งครัด
  • ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ อาจเน้นโปรตีน ธาตุเหล็ก และแคลเซียม เป็นพิเศษ
  • ดื่มน้ำเปล่าสะอาดมาก ๆ

คุณแม่ตั้งครรภ์ต้องการการพักผ่อนให้เพียงพอ หากเลี่ยงการทำงานเป็นกะได้ควรเลี่ยง ควรหาเวลาพักระหว่างวันด้วยนะคะ เพราะถ้าคุณแม่แข็งแรง ลูกน้อยก็จะแข็งแรงไปด้วยค่ะ
ข้อมูลอ้างอิง mol.go.th , komchadluek.net

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP