วิธีเล่นกับลูกในท้อง เพื่อพัฒนาการลูกที่ดี

พัฒนาการตั้งครรภ์

พัฒนาการที่ดีทั้งร่างกายและจิตใจ” คุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยส่งเสริมและกระตุ้นลูกได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ การเล่นกับลูกในครรภ์นอกจากจะเป็นการช่วยกระตุ้นพัฒนาการของลูกแล้ว ยังเป็นการสร้างสายใยรักระหว่างพ่อ แม่ และลูกอีกด้วยค่ะ ทารกที่ได้รับการกระตุ้นพัฒนาการอย่างถูกต้องและเหมาะสม หลังคลอด…ทารกจะเป็นเด็กที่มีความฉลาด อารมณ์ดี และเลี้ยงง่ายค่ะ

หลักการสำคัญในการเล่นกับลูกในท้อง

การสร้างสายสัมพันธ์ระหว่างแม่กับลูกนั้น สามารถสร้างได้ตั้งแต่ลูกอยู่ในท้องค่ะ ไม่จำเป็นต้องรอให้คลอดออกมาก่อน แต่หลังการสำคัญในการเล่นเพื่อให้ลูกฉลาดและมีพัฒนาการที่ดีจะต้องมีการกระตุ้นเซลล์ประสาทในส่วนต่าง ๆ ของลูกน้อยดังนี้ค่ะ

ประสาทด้านการรับเสียงหรือการได้ยิน

โดยปกติแล้ว ลูกน้อยจะสามารถได้ยินเสียงตั้งแต่อยู่ในท้องคุณเมื่ออายุได้ 8 สัปดาห์ ซึ่งเสียงแรกที่ทารกจะได้ยินคือ เสียงหัวใจเต้นของคุณแม่ และเสียงท้องร้อง และเมื่ออายุครรภ์เข้า 26 สัปดาห์ ประสาทด้านการรับเสียง และการได้ยินจะพัฒนาดีขึ้น ลูกเริ่มได้ยินเสียงจากภายนอกท้องของคุณแม่มากขึ้น

ประสาทด้านการมองเห็นหรือสายตา

ประสาทส่วนนี้ของทารกในครรภ์จะเริ่มทำงานได้เมื่ออายุครรภ์ 20 สัปดาห์ ลูกในท้องสามารถลืมตาได้แม้อยู่ในท้อง นอกจากนี้ลูกน้อยยังสามารถรับรู้ถึงแสงต่าง ๆ ที่อยู่ภายนอกท้องของคุณแม่ได้อีกด้วย

ประสาทด้านการรับรู้ถึงสัมผัสของคุณแม่

เมื่ออายุครรภ์ได้ 18 สัปดาห์ ลูกน้อยมักจะหลับในเวลาที่คุณแม่ตื่น เพราะการที่ร่างกายคุณแม่ขยับนั้นเปรียบเสมือนเปลที่กำลังไกว ทำให้ลูกในท้องรู้สึกง่วง ซึ่งในขณะที่ลูกตื่นลูกยังสามารถรับรู้ได้ถึงสัมผัสจากภายนอกท้องของคุณแม่ได้อีกด้วยค่ะ

พัฒนาการด้านการรับรู้ของลูกในท้อง

  • ไตรมาสแรก : เป็นช่วงที่เซลล์สมองแบ่งตัวอย่างรวดเร็ว ระบบประสาทของทารกจะถูกสร้างขึ้นเป็นล้านล้านเซลล์ ประสาทสัมผัสของทารกเริ่มพัฒนาขึ้นเช่นกัน
  • ไตรมาสที่สอง : เป็นช่วงที่เซลล์ประสาทจะได้รับการห่อหุ้มด้วยไมอีลิน(Myelin) ซึ่งเป็นฉนวนไฟฟ้าที่ช่วยให้ระบบประสาทผ่านไปได้เร็วขึ้น ทารกเริ่มกระพริบตาได้
  • ไตรมาสที่สาม : เซลล์ประสาทและการส่งสัญญาณในเส้นประสาทสมองของทารกมีพัฒนาการไปอย่างรวดเร็วเทียบเท่ากับ 10% ของน้ำหนักตัว มีการเคลื่อนไหวและมีการตอบสนองได้รวดเร็วมากขึ้น

วิธีเล่นกับลูกในท้อง

ชวนลูกคุยผ่านผนังหน้าท้อง

เมื่อลูกน้อยในครรภ์มีอายุได้ประมาณ 24-26 สัปดาห์ พัฒนาการด้านการได้ยินของลูกจะทำงานได้ดีขึ้น ลูกสามารถได้ยินเสียงแม้อยู่ในครรภ์ ลูกจะเริ่มได้ยินเสียงหัวใจของคุณแม่ จำเสียงของคุณพ่อคุณแม่ได้ เสียงคุณแม่ท้องร้องลูกก็ได้ยินนะคะ^^

ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ลองทักทาย ชวนลูกคุย เรียกชื่อเค้าบ่อยๆ และใช้พยายามใช้คำซ้ำ ๆ บ่อย ๆ ในชีวิตประจำวัน อาทิ พ่อกับแม่รักหนูนะ กินข้าวกัน หรืออาบน้ำกัน เป็นต้น คำเหล่านี้จะทำให้ลูกคุ้นเคย เมื่อคลอดแล้ว ลูกจะมีพัฒนาการทางด้านภาษาที่ดีเมื่อโตขึ้น

สื่อสารด้วยการสัมผัสผ่านการลูบท้อง

การลูบท้องเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยกระตุ้นระบบประสาทและสมองในส่วนของการรับรู้ รวมทั้งด้านความรู้สึกของลูกในครรภ์ เพราะเมื่อเวลาที่คุณพ่อคุณแม่ลูบหน้าท้องอย่างช้า ๆ นั้น ผิวของทารกบางส่วนที่สัมผัสกับผนังด้านในหน้าท้องคุณแม่จึงทำให้เค้ารับรู้ได้ ในบางครั้งลูกอาจมีปฏิกิริยาตอบสนองกลับตามมือคุณพ่อคุณแม่ที่กำลังลูบหน้าท้องอยู่ เหมือนกับว่าเค้ากำลังเล่นกับเราอยู่

วิธีการลูบท้องนั้น ให้คุณพ่อคุณแม่ค่อยๆ ลูบเป็นวงกลมจากบนลงล่างสลับกับล่างขึ้นบน ระหว่างลูบท้องนั้น คุณพ่อคุณแม่สามารถชวนลูกพูดคุยไปด้วยก็ได้นะคะ (จริง ๆ จะดีมากเลย)

แม่โน้ต

โน้ตจะคุยกับลูกบ่อยค่ะ เช่น เวลาจะไปกินข้างก็จะบอกลูกว่า “เดี๋ยวเราไปกินข้าวกันนะคะ” หรือเวลาจะทำอะไรก็จะชวนลูก จะบอกลูกเสมอ บางครั้งเค้าก็ดิ้นเพื่อบอกเราว่าเค้าฟังอยู่ก็มี

เปิดเพลงให้ลูกฟังเบาๆ

การเปิดเพลงหรือการฮัมเพลงเบา ๆ เป็นการกระตุ้นพัฒนาการด้านการได้ยินที่ดีอีกอย่างหนึ่ง คุณแม่สามารถเอาหูฟังแบบ Headphone มาใกล้ๆ กับผนังหน้าท้องโดยให้ห่างจากผนังท้อง 1 ฟุต หรือคุณแม่จะฟังเองแล้วฮัมตามก็ได้ค่ะ ทำสลับกันไป

เพลงที่เปิดไม่จำเป็นต้องถึงขึ้น Classic แบบ Mozart (ยกเว้นถ้าคุณแม่ชื่นชอบ) เน้นเป็นเพลงที่คุณแม่ชื่นชอบฟังสบายๆ บางครั้งคุณแม่ก็จะรับรู้ได้ว่าลูกดิ้นอีกด้วยนะคะ

แม่โน้ต

ข้อนี้คุณแม่ต้องเอาหูฟังไปแนบที่ท้องคุณแม่นะคะ ลูกในท้องถึงจะได้ยิน แต่ถ้าคุณแม่เอาใส่หูของคุณแม่เอง ลูกจะไม่ได้ยินเสียงเพลง แต่จะรับรู้ได้ถึงความสุขที่คุณแม่ได้ฟังเพลงแทนค่ะ

อ่านหนังสือนิทานให้ฟัง

การอ่านนิทานนอกจากจะเป็นการกระตุ้นเรื่องพัฒนาการของลูกน้อยในครรภ์แล้ว เมื่อเค้าคลอดออกมา การอ่านนิทานยังเป็นการช่วยเสริมสร้างจินตนาการของเค้าได้อย่างดีเยี่ยมทีเดียวค่ะ ในระหว่างที่คุณพ่อคุณแม่อ่านนั้น อาจทำท่าทาง ทำเสียงโดยผ่านผนังหน้าท้อง เพื่อให้เค้าได้รับรู้ถึงเรื่องราวของนิทานได้มากขึ้น

การทำเสียงพากย์ของตัวละครที่ต่างกันจะทำให้ลูกรู้สึกสนุกและตื่นเต้น ที่สำคัญ เป็นการช่วยกระตุ้นระบบประสาทการแยกเสียงของลูกน้อยอีกด้วยค่ะ

แม่โน้ต

ถ้าคุณแม่พากย์เสียงตามตัวละครต่าง ๆ ได้จะเยี่ยมมากเลยค่ะ เพราะลูกน้อยจะชอบฟังเสียงสูง ๆ ต่ำ ๆ แอบกระซิบ…เดี๋ยวนี้เค้ามีหนังสือนิทานเสียงที่ต้องใช้คู่กับปากกา MIS แบบนี้ก็เพิ่มอรรถรสในการเล่าได้ดีทีเดียวนะคะ เพราะมีทั้งเสียงเอฟเฟกต์และเสียงอ่าน เลือกได้หลายแบบเลย

ปิด-เปิดไฟฉายส่องลูกน้อยผ่านผนังท้อง

เมื่อถึงอายุครรภ์ที่ลูกเริ่มดิ้น การเล่นปิด-เปิดไฟฉายใส่ท้อง จะช่วยกระตุ้นพัฒนาการลูกด้านการมองเห็น ไฟฉายที่คุณแม่ใช้ไม่จำเป็นต้องมีกำลังไฟสูงนะคะ เอาเพียงแค่ส่องให้ลูกได้เห็นถึงความแตกต่างได้ก็พอ

โดยการส่องนั้น คุณแม่เปิดไฟแล้วค่อยๆ เคลื่อนไปจุดอื่น ๆ รอบ ๆ ท้อง หากลูกมีการแตะ หรือดิ้น แสดงว่าลูกรับรู้ว่ามีแสงส่องผ่าน

พัฒนาการที่ดีของลูก คุณพ่อคุณแม่สามารถสร้างให้ลูกได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ เพียงแต่อาจจะต้องดูว่าช่วงไหนควรกระตุ้นอย่างไร เท่านี้ก็จะทำให้เด็กมีความฉลาดทั้งปัญญาและอารมณ์แล้วล่ะค่ะ

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP