พัฒนาการของทารกในครรภ์และร่างกายของคุณแม่แต่ละสัปดาห์มีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง สัปดาห์ที่ 11-20

พัฒนาการตั้งครรภ์

เรามาต่อกันเลยดีกว่าค่ะคุณแม่ กับพัฒนาการของทารกในครรภ์และการเปลี่ยนแปลงของร่างกายของคุณแม่ในสัปดาห์ที่ 11-20

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 11

เพราะลูกน้อยในครรภ์เริ่มมีพัฒนาการที่ดีขึ้นเรื่อย ๆ เติบโตขึ้นเรื่อย ๆ สัปดาห์นี้ลูกน้อยในครรภ์จะมีความยาวเพิ่มขึ้นโดยรวมแล้วประมาณ 2 นิ้ว โดยที่ส่วนใหญ่แล้วน้ำหนักและความยาวจะเป็นส่วนของศีรษะของลูกน้อย นอกจากนี้จะเริ่มมองเห็นโครงสร้างของใบหน้าที่เด่นชัดขึ้น สมบูรณ์ยิ่งขึ้น คุณแม่จะสามารถรับการเคลื่อนไหวของลูกน้อยได้จากอาการสะอึกผ่านการอัลตร้าซาวน์นะคะ

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 12

มาถึงสัปดาห์สุดท้ายของไตรมาสแรกกันแล้วค่ะ ช่วงนี้ลูกน้อยจะมีความยาวโดยรวมประมาณ 3 นิ้ว และจะเริ่มมีพัฒนาการในด้านอื่น ๆ เพิ่มมากขึ้น ได้แก่ ด้านการขับถ่ายของเสียจากไต เสียง รวมถึงต่อมรับรส ที่สำคัญลูกน้อยเริ่มมีการขยับนิ้วมือ กำมือ และแบมือได้แล้วค่ะ

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 13

สัปดาห์แรกของไตรมาสที่ 2 ช่วงนี้โอกาสที่คุณแม่จะเสี่ยงแท้งนั้นก็ลดน้อยลงแล้วล่ะค่ะ เหลือเพียง 1-5 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ทั้งนี้ทั้งนั้น คุณแม่ไม่ต้องเครียดหรือกังวลมากไปนะคะ ลูกน้อยในครรภ์ก็จะเริ่มได้ยินเสียงของคุณแม่แล้วค่ะ ส่วนคุณแม่เองมดลูกก็เริ่มขยายใหญ่ขึ้น อาจทำให้คุณแม่รู้สึกอึดอัด บางรายอาจเจ็บที่ชายโครงบ้างบางครั้ง

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 14

ลูกน้อยในครรภ์เริ่มควบคุมกล้ามเนื้อบนใบหน้าได้บ้างแล้ว เริ่มมีการแสดงออกทางสีหน้า ไม่ว่าจะเป็นการยิ้มหรือการขมวดคิ้ว รวมถึงการขยับ แขน ขา การดูดนิ้วมือ และการขยับเท้า ในขณะที่ผมก็เริ่มงอกออกมาให้เห็น คุณแม่เองก็จะเริ่มกินเก่งขึ้น อาการแพ้ท้องน้อยลง ช่วงนี้หากต้องการออกกำลังกายก็สามารถทำได้นะคะ แต่เบา ๆ อย่างโยคะหรือพิลาทิสนะคะ

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 15

ลูกน้อยสะอึกได้แล้วนะคะคุณแม่ ซึ่งอาการสะอึกนี้จะเกิดขึ้นในครรภ์ก่อนการที่ลูกจะหายใจได้เสียอีกค่ะ ร่างกายโดยรวมของลูกน้อยเริ่มชัดเจนและสมบูรณ์มากขึ้นอย่างต่อเนื่องค่ะ แต่คุณแม่อาจเป็นหวัดได้ง่าย เพราะภูมิคุ้มกันลดลง ต้องดูแลสุขภาพดี ๆ นะคะ

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 16

มาสัปดาห์นี้ลูกน้อยในครรภ์จะมีความยาวโดยรวมประมาณ 4-5 นิ้ว กระดูกในส่วนต่าง ๆ ของร่างกายยังคงมีพัฒนาการที่ดีขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะกระดูกชิ้นเล็กชิ้นน้อย เปลือกตาและดวงตาของลูกสามารถจับแสงได้แล้วค่ะ เพราะฉะนั้นหากคุณพ่อคุณแม่ต้องการกระตุ้นพัฒนาการด้านการมองเห็นของลูกน้อยสามารถใช้ไฟจากไฟฉาย ส่องผ่านแบบปิด-เปิด ผ่านผนังหน้าท้องคุณแม่ได้แล้วนะคะ

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 17

ความยาวของลูกน้อยในครรภ์เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ค่ะ โดยรวมประมาณ 5 นิ้วครึ่ง เยื่อไมอีลินที่มีลักษณะเหมือนเปลือกหุ้มเส้นใยประสาทจะถูกสร้างขึ้น เป็นส่วนสำคัญมากสำหรับระบบประสาทของทารก คุณแม่คนไหนที่ยังสวมส้นสูงอยู่ วางพักไว้ก่อนค่ะ เปลี่ยนมาใส่ส้นแบนแทนนะคะ

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 18

พัฒนาการทางด้านร่างกายของลูกน้อยยังคงมีเพิ่มขึ้นอย่างเรื่อย ๆ โดยเฉพาะหู ลูกน้อยจะได้ยินเสียงที่ชัดเจนมากขึ้น ดวงตาก็จะสามารถตรวจจับแสงได้ดียิ่งเช่นกัน คุณแม่ก็จะสามารถรับรู้ว่าลูกน้อยกำลังดิ้นก็ช่วงนี้แหละค่ะ นอกจากนี้ ความบวมก็เริ่มถามหา แต่ก็เป็นเรื่องปกตินะคะ

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 19

ไขทารกแรกเกิด (vernix caseosa) จะเริ่มมาปกคลุมร่างกาย เพื่อเป็นเกราะป้องกันรอยขีดข่วนให้กับทารก ที่สำคัญ พัฒนาการด้านการได้ยินของลูกน้อยจะยิ่งชัดมากขึ้นไปอีก ดังนั้น คุณพ่อคุณอย่าเผลอดุหรือเผลอสบถออกมานะคะ ลูกได้ยินนะจ๊ะ

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 20

ช่วงนี้ลูกน้อยเริ่มมีขี้เทา (mecomium) แล้วค่ะ โดยขี้เทานี้เกิดจากการกลืนน้ำคร่ำ ลงไปรวมกับน้ำย่อยและน้ำดี จึงเกิดเป็นก้อนเหนียวข้นสีดำ สัปดาห์นี้ทารกบางคนลืมตาได้แล้วนะคะ ส่วนคุณแม่ช่วงนี้จะเริ่มหลับไม่ค่อยสนิท เพราะยอดมดลูกเคลื่อนมาอยู่ที่ระดับเหนือสะดือจึงทำให้คุณแม่อึดอัดอยู่สักหน่อย

ผ่านไปครึ่งทางแล้วค่ะ เหลืออีกครึ่งทาง เรายังมีข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการของทารกในครรภ์ และการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายของคุณมาแชร์กันต่อค่ะ อย่าลืมติดตามกันในตอนต่อไปนะคะ กับพัฒนาการของทารกในครรภ์และร่างกายของคุณแม่แต่ละสัปดาห์มีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง สัปดาห์ที่ 21-30

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP