เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์นอกมดลูก จะทำอย่างไร

พัฒนาการตั้งครรภ์
JESSIE MUM

คุณแม่มือใหม่กำลังดีใจที่กำลังมีลูกตัวน้อยอยู่ในครรภ์ ทั้งที่เฝ้ารอจะได้เห็นลูกที่แข็งแรง แต่ก็พบว่า ตั้งครรภ์นอกมดลูก หรือท้องนอกมดลูก คำถามมากมายเกิดขึ้นไปหมด ท้องนอกมดลูกเกิดจากอะไร คุณแม่จะได้รับผลกระทบอะไรกับการท้องนอกมดลูก ซึ่งในบางครั้งคุณแม่อาจจะทราบ หรือไม่ทราบเกี่ยวกับปัญหาการตั้งครรภ์นอกมดลูก แล้วคุณแม่ควรจะมีวิธีรับมือกับเหตุการณ์นี้อย่างไร

การตั้งครรภ์นอกมดลูก คือการที่ไข่ไม่ได้ฝังตัวบริเวณมดลูก ส่วนใหญ่จะเกิดที่ท่อนำไข่ ซึ่งเป็นท่อที่เล็กเพื่อไข่ที่ผสมแล้วจะเดินทางไปยังมดลูก แต่เพราะการเดินทางเร็วไป หรือสุขภาพ จึงไม่สามารถไปยังที่เหมาะสมอย่างมดลูก เมื่อตัวอ่อนเติบโตขึ้น อาจจะทำให้ท่อนำไข่ขยายจนแตกออกได้ และด้วยการตั้งครรภ์นอกมดลูกจะไม่สามารถอยู่ครบกำหนด จึงต้องนำตัวอ่อนออก เพื่อรักษาตัวคุณแม่ไว้ มิเช่นนั้นจะตกเลือดภายในได้

อะไรคือสาเหตุ ที่ทำให้ท้องนอกมดลูก

ทำถามที่น่าสงสัยลับดับแรก หลังทราบจากสูตินารีแพทย์ ถ้าเช่นนั้นลองทบทวนดูว่าคุณแม่เคยมีอาการ หรือเคยทำกิจกรรมอะไรมาก่อนไหม

  1. เคยมีอาการติดเชื้อ ที่ท่อนำไข่และอุ้งเชิงกราน ซึ่งมีโอกาสที่ท่อนำไข่อุดตันได้
  2. เคยสูบบุหรี่ คนที่สูบนั้นมีโอกาสท้องนอกมดลูกมากกว่าคนปกติกว่า 5 เท่า
  3. ทานยา เช่น ยากระตุ้นการตกไข่ หรือการใช้ยาคุมกำเนิดแบบฉุกเฉิน
  4. เคยผ่าตัดท่อนำไข่ เพื่อแก้ไขการอุดตันของท่อนำไข่ ในการช่วยให้มีลูก หรือการผ่าตัดทำหมัน และบังเอิญต่อติดเช่นเดิมตามธรรมชาติ
  5. ผลกระทบจากแผลเป็นการผ่าตัด หรือเคยเกิดการอักเสบในอุ้งเชิงกราน ทำให้ตัวอ่อนเดินทางไม่สะดวก
  6. เคยมีประวัติท้องนอกมดลูกมาก่อน
  7. เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  8. การรักษาภาวะมีบุตรยาก เช่น การทำเด็กหลอดแก้ว

ลักษณะอาการ

อาการของคนท้องอาจเริ่มตั้งแต่ประจำเดือนยังไม่ขาด หรือขาดแล้ว ซึ่งจะมีอาการ คลื่นไส้ เวียนศีรษะ เจ็บหน้าอก หรือมักจะมีเลือดออกจากช่องคลอด เป็นสีน้ำตาลคล้ำคล้ายช็อกโกแลตเหลวไม่มาก โดยเข้าใจผิดว่าเป็นประจำเดือน ด้วยอาการนี้ทำให้ไม่คาดคิดว่าตั้งครรภ์นอกมดลูก แต่หากปล่อยทิ้งไว้นาน จนตัวอ่อนเติบโตเกินกว่าบริเวณที่เกาะติดนั้นแตกออก โดยไม่มีการพบแพทย์ จะมีอาการดังนี้

  1. ปวดท้องน้อยหนักมาก
  2. ปวดร้าวตามร่างกายขึ้นที่ไหล่และหลัง ปวดอุ้งเชิงกราน
  3. หน้ามืด หรือเป็นลม จากการเสียเลือด
  4. หัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ ความดันต่ำ และอาจช็อก อาการเหล่าเป็นภาวะฉุกเฉิน ถึงขั้นเสียชีวิต จึงควรนำส่งโรงพยาบาลอย่างด่วน

ฉะนั้นคุณแม่ที่มีความเสี่ยงสูง ควรรีบไปพบแพทย์ เมื่อรู้ว่าเริ่มตั้งครรภ์ หรือตรวจพบว่าท้อง 7 – 8 วัน คือ หลังจากไข่ผสมกับอสุจิเป็นเวลาที่ตัวอ่อนเริ่มฝังตัว ถึงอย่างนั้นการพบแพทย์ได้ไว แต่ตัวอ่อนก็ไม่สามารถจะเจริญเติบโตต่อได้ หากแต่ลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตก่อนที่ท่อนำไข่จะแตกได้ ทั้งยังสามารถรักษาโดยพยายามเก็บท่อนำไข่หรือรังไข่ไว้เพื่อการตั้งท้องในครั้งใหม่ได้

การตรวจและรักษา

  1. การตรวจภายนอก เช่น ตรวจหน้าท้อง อาจพบว่ามีท้องโป่ง กดและปล่อยเจ็บ ตรวจร่างกายในสภาพที่ส่วนเกาะติดของไข่แตก โดยการเสียเลือด ซีด หรือช็อก
  2. การตรวจภายใน เช่น พบเลือดสีคล้ำในช่องคลอด โยกปากมดลูกจะรู้สึกเจ็บ อาจคลำพบก้อนผิดปกติที่ปีกมดลูกด้านใดด้านหนึ่ง
  3. รักษาโดยการใช้ยา การรักษาโดยการทำให้ไข่ฝ่อ และยังพอช่วยในการตั้งครรภ์ครั้งหน้าได้
  4. รักษาโดยการผ่าตัด วิธีนี้สำหรับครรภ์นอกมดลูกที่มีขนาดใหญ่ จึงใช้วิธีผ่าตัด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพความเสียหายที่ไข่ไปเกาะ หรือการแตกของท่อนำไข่ ถ้าเสียหายมากก็ต้องตัดท่อนำไข่ออกไปพร้อมตัวอ่อน หากท่อนำไข่ยังดีอยู่ ก็สามารถนำตัวอ่อนออกมา และเก็บท่อนำไข่ไว้เพื่อการตั้งครรภ์ครั้งต่อไปได้

การป้องกันการตั้งครรภ์นอกมดลูก

การท้องนอกมดลูกเป็นปัญหาสุขภาพที่ไม่สามารถป้องกันได้ แต่จะช่วยลดความเสี่ยงที่อาจสร้างความเสียหายต่ออวัยวะในช่องท้อง และระบบสืบพันธุ์ คุณแม่ควรเริ่มต้นดูแลตัวเอง เช่น

  • การมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอกภัย การสวมถุงยางอนามัย ไม่เปลี่ยนคู่นอนบ่อยๆ
  • รักษาสุขภาพ เลิกสูบบุหรี่
  • ถ้าอักเสบในท่อนำไข่ หรืออุ้งเชิงกราน ควรรักษาให้หายสนิทก่อนจะตั้งครรภ์
  • หมั่นสังเกตอาการที่เป็นความเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์นอกมดลูก
  • ปรึกษาสูตินารีแพทย์ ภายใต้การดูแลและคำแนะนำ เมื่อวางแผนในดูแลครรภ์ในช่วงแรกๆ

สภาวะการตั้งครรภ์นอกมดลูกมีความเสี่ยงทั้งตัวอ่อนในครรภ์ และในตัวคุณแม่สูงมาก การปล่อยให้เติบโตก็ไม่อาจรักษาชีวิตตัวอ่อนได้ รวมถึงตัวคุณแม่เองก็ไม่อาจรับมือไหวได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่ปัจจัยหลายๆ อย่างที่ตัวคุณแม่นั้นเคยได้รับมาดั่งเช่นปัญหาสุขภาพ และหลังจากได้ทำความเข้าใจในปัญหาการท้องนอกมดลูกแล้ว คุณแม่ก็ไม่ควรลืมที่จะดูแล รักษาตัวเอง เพื่อที่จะได้มีบุตรที่สมบูรณ์แข็งแรงดั่งที่ตั้งใจไว้

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP