รู้จักโรคสมาธิสั้นกันเถอะ

โรค
JESSIE MUM

สมาธิสั้น เป็นอีกหนึ่งโรคยอดฮิตในปัจจุบัน ที่พ่อแม่มักมีความกังวลว่าจะเกิดขึ้นกับลูกหรือไม่ และพ่อแม่หลายท่าน ก็ไม่ทราบว่าลูกขอตัวเองกำลังประสบกับภาวะนี้อยู่ด้วยซ้ำไป ฉะนั้น การทำความรู้จักกับโรคนี้อย่างละเอียดมากขึ้น เป็นวิธีที่ดีที่พ่อแม่จะได้ขจัดความเข้าใจผิดต่างๆ และสังเกตพฤติกรรมลูกรักได้ว่า เข้าข่ายเด็กสมาธิสั้นหรือไม่

โรคสมาธิสั้นคืออะไร

โรคสมาธิสั้น (Attention deficit hyperactivity disorder หรือ ADHD) คือกลุ่มอาการที่เกิดขึ้นตั้งแต่วัยเด็ก ซึ่งจะมีผลกระทบต่อพฤติกรรม การเรียน การเข้าสังคมของเด็ก กลุ่มอาการนี้ได้แก่ การขาดสมาธิ การขาดความสามารถในการควบคุมตัวเอง อาการซน โรคนี้มักวินิจฉัยในเด็ก แต่อาการของโรคยังสามารถคงอยู่ได้จนเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ได้ การรักษาที่เหมาะสม จึงจะทำให้เด็กที่เป็นโรคนี้สามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติ

อาการของเด็กสมาธิสั้น

โดยปกติเด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้น จะไม่สามารถทนทำอะไรจนเสร็จได้ แม้จะเป็นเรื่องง่ายๆ อย่างนั่งฟังนิทานจนจบ หรือวาดรูปจนเสร็จ พวกเขาจะไม่มีสมาธิ หุนหันพลันแล่น และอาจมีพฤติกรรมก้าวร้าวร่วมด้วย เด็กสมาธิสั้นมักจะพูดมาก และพูดซ้ำๆ เรื่องเดิม แต่ไม่ได้หมายความว่า เด็กที่ชอบมีคำถามว่า “ทำไม” จะเป็นเด็กสมาธิสั้น อาจเป็นเพียงความอยากรู้อยากเห็นตามประสาเด็ก

สังเกตพฤติกรรมเบื้องต้นของเด็กที่มีแนวโน้มสมาธิสั้น

  • ไม่มีสมาธิ วอกแวกง่าย
  • ไม่ฟังเวลาคนอื่นพูดด้วย ไม่ค่อยเข้าใจคำสั่ง
  • เบื่อง่าย ทำอะไรไม่ได้นาน มักเปลี่ยนกิจกรรมทำบ่อยๆ
  • อยู่ไม่นิ่ง กระสับกระส่าย เคลื่อนไหวตลอดเวลา
  • พูดมาก พูดไม่หยุด พูดซ้ำไปซ้ำมา
  • ไม่สามารถอดทนรออะไรได้นาน
  • ขี้ลืมบ่อยๆ
  • หยิบจับหรือเล่นทุกสิ่งทุกอย่างที่ขวางหน้า

ไม่ว่าลูกของคุณจะมีอาการชัดเจนแค่ไหน ก็ไม่ควรที่จะวินัจฉัยโรคด้วยตัวเอง มีเด็กอายุต่ำกว่า 7 ขวบหลายคนถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคสมาธิสั้นโดยที่พวกเขาไม่ได้เป็น การวินิจฉัยโรคนี้ต้องอาศัยเวลาสังเกตพฤติกรรมต่อเนื่อง ซึ่งหากสงสัยว่าโรคมีพฤติกรรมเข้าข่าย คุณพ่อคุณแม่ควรจดบันทึกพฤติกรรมของลูกอย่างละเอียด เพื่อปรึกษาแพทย์และให้แพทย์เป็นผู้วินิจฉัยต่อไป

สมาธิสั้นเกิดจากสาเหตุอะไร

สาเหตุของการเกิดโรคสมาธิสั้นยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด ว่าเกิดขึ้นเพราะอะไรกันแน่ ดังนั้นพ่อแม่ทั้งหลายที่พบว่าลูกเป็นโรคสมาธิสั้น ไม่ควรโทษแต่การเลี้ยงดูของตัวเอง เพราะสาเหตุจากการเลี้ยงดูเป็นเพียงส่วนน้อยมากที่ทำให้เกิดโรคนี้ หลักฐานจากการวิจัยพบว่า เป็นไปได้หลายปัจจัย ดังนี้

1.ความผิดปกติทางพันธุกรรม

ผู้ป่วยโรคสมาธิสั้นส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของยีนส์ เด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้นมักมีญาติพี่น้องที่เกี่ยวข้องกันทางสายเลือดป่วยเป็นโรคมากกว่าคนปกติ ดังนั้น จึงมีแนวโน้มที่โรคสมาธิสั้นจะส่งต่อกันผ่านทางพันธุกรรม

2.สมองทำงานผิดปกติ

ความผิดปกติทางสมองอาจเป็นสาเหตุหนึ่งของโรคสมาธิสั้น เป็นไปได้ทั้งโครงสร้างสมองตั้งแต่กำเนิด หรือเกิดจากอุบัติเหตุระหว่างตั้งครรภ์ทำให้สมองเกิดการกระทบกระเทือน จากการสแกนสมองผู้ป่วยโรคสมาธิสั้น พบว่าพื้นที่บางส่วนของสมองผู้ป่วยมีขนาดเล็กกว่า และบางส่วนก็มีขนาดใหญ่กว่าคนปกติ รวมทั้งการขาดความสมดุลของระดับสารสื่อประสาทในสมอง ซึ่งอาจส่งผลให้เป็นโรคสมาธิสั้นได้

3.การตั้งครรภ์และการคลอด

อาจเกิดจากการดูแลไม่ดีระหว่างตั้งครรภ์ เช่น ผู้เป็นแม่สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ หรือใช้สารเสพติดในขณะตั้งครรภ์ หรืออาจอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีมลภาวะเป็นพิษ จึงรับเอาสารพิษเข้าสู่ร่างกายจนมีผลกระทบต่อทารกในครรภ์ รวมไปถึงการคลอดก่อนกำหนด และการมีน้ำหนักตัวแรกเกิดต่ำ

4.การรับประทานอาหาร

มีการวิจัยว่าสารเจือปนในอาหารบางอย่างอาจมีผลต่อความรุนแรงของอาการสมาธิสั้น ทำให้อาการของโรครุนแรงขึ้น นักวิจัยบางคนเชื่อว่าการขาดกรดไขมันโอเมก้า3 เป็นปัจจัยหนึ่งที่ก่อให้เกิดโรคนี้ เนื่องจากกรดไขมันดังกล่าวสำคัญต่อพัฒนาการทางสมองและระบบประสาทของเด็ก

เมื่อลูกสมาธิสั้นควรทำอย่างไร

เมื่อสงสัยว่าลูกเป็นโรคสมาธิสั้น ก่อนอื่นพ่อแม่ควรทำความเข้าใจ และเปิดใจให้กว้าง สร้างทัศนคติที่ดีกับเรื่องนี้และใจเย็นกับพฤติกรรมของลูก จากนั้นควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อหาวิธีการบำบัดรักษาต่อไป ในทางการแพทย์จะมีการใช้ยาบำบัด และการบำบัดทางจิต แต่การรักษาโรคสมาธิสั้นในเด็กได้ดีที่สุด เริ่มได้จากที่บ้าน ผู้ปกครองต้องเข้าใจว่า เด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้นต้องการความเป็นระบบระเบียบ ความสม่ำเสมอ และการสื่อสารที่ชัดเจน พ่อแม่มีส่วนสำคัญอย่างมากที่จะต้องช่วยเหลือและให้กำลังใจลูก ฝึกฝนและเลี้ยงดูอย่างเข้าใจและใส่ใจมากขึ้นควบคู่ไปกับการรักษาทางการแพทย์ที่ถูกต้อง

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP