Baby Blue ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด…เลี้ยงลูกน่าจะสุข แต่ทำไมเราทุกข์อยู่คนเดียว

โรค
JESSIE MUM

อาการ “ซึมเศร้าหลังคลอด” สามารถเกิดขึ้นได้กับคุณแม่ที่เพิ่งคลอดลูก โดยพบว่า 90% ของคุณแม่มีอาการดังกล่าว และมักจะมีอาการในช่วง 4-5 วันแรกหลังคลอด ส่วนใหญ่จะเกิดกับคุณแม่ที่ต้องดูแลลูกคนเดียว เดิมทีก็อยู่กันแค่ 2 คนสามภรรยา พอมีลูกก็ไม่มีคุณตาคุณยายหรือญาติมาช่วยเลี้ยง แถมคุณแม่ยังต้องกังวลกับเรื่องการงาน ยิ่งถ้าเป็นคุณแม่มือใหม่ก็จะกังวลว่าจะเลี้ยงลูกได้ถูกวิธีมั้ย จะเลี้ยงได้ดีหรือเปล่า เหล่านี้เป็นเรื่องของจิตใจ แต่คุณแม่ยังต้องรับมือกับอาการคัดเต้า ฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง ร่างกายเหนื่อยล้าจากการเลี้ยงลูก และอีกสารพัดเรื่องราวที่จะเข้ามา ยิ่งทำให้คุณแม่ซึมเศร้าหนักกันไปอีก ที่สำคัญ หากสามีไม่เข้าใจ ก็อาจทำให้อาการซึมเศร้าทวีความรุนแรงได้

แต่อาการซึมเศร้าหลังคลอด (Baby Blue) บางท่านอาจสับสนว่าทำไมบางทีเรียก “ภาวะ” ทำไมบางครั้งเรียก “อาการ” วันนี้เราจะมาไขข้อข้องใจ พร้อมแนะนำทางออกให้คุณแม่ มีอะไร อย่างไร ไปดูกันค่ะ

Youtube : Baby Blue ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด…เลี้ยงลูกน่าจะสุข แต่ทำไมเราทุกข์อยู่คนเดียว

อาการซึมเศร้าหลังคลอด แบ่งได้เป็น 3 ชนิด

อาการซึมเศร้าหลังคลอดเกิดจากปัจจัยหลายอย่าง แบ่งออกได้เป็น 3 ชนิด ตามลำดับความรุนแรงจากน้อยไปมาก ดังนี้

  • ภาวะอารมณ์เศร้าหลังคลอด (Postpartum Blues : PPB)
  • โรคซึมเศร้าหลังคลอด (Postpartum Depression : PPD)
  • โรคจิตหลังคลอด (Postpartum Psychosis : PPP)

ภาวะอารมณ์เศร้าหลังคลอด (Postpartum Blues, Maternity Blues หรือ Baby Blues)

ภาวะอารมณ์เศร้าหลังคลอด

กลุ่มนี้จะพบได้บ่อยที่สุดประมาณ 50-80% ของคุณแม่หลังคลอด จะเกิดขึ้นเองภายในระยะเวลา 2 สัปดาห์
สาเหตุ : ยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริง แต่โดยมากจะมาจากสาเหตุเสริมมากกว่า เช่น…

การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน

  • มีการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกายอย่างรวดเร็วหลังคลอด
  • ความเครียดอันเกิดจากความเจ็บปวดของร่างกายหลังคลอด หรือ
  • ความเครียดทางจิตใจที่เกิดจากการต้องปรับตัวในหลายๆ ด้าน

กลุ่มเสี่ยง

กลุ่มเสี่ยง

กลุ่มที่เสี่ยงจะมีภาวะนี้มากที่สุด ได้แก่…

  • กลุ่มคนที่เวลาจะทำอะไรต้องสมบูรณ์ไปซะทุกอย่าง (Perfectionist)
  • กลุ่มคนที่มีความวิตกกังวลสูง ปรับตัวยาก
  • กลุ่มคนที่มีวุฒิภาวะไม่สมบูรณ์ เช่น หญิงที่ท้องเมื่ออายุยังน้อย
  • หญิงที่มีปัญหาในชีวิตสมรส

โดยมากคุณแม่มักมีอาการหลังคลอดลูกแล้วประมาณ 4-5 วันหลังคลอด โดยมีอาการหงุดหงิดง่าย ขี้รำคาญ อยู่ดีๆ ก็รู้สึกเศร้า บางครั้งก็ร้องไห้ออกมา โดยไม่ทราบสาเหตุ กังวลในทุกเรื่อง กินไม่ได้ นอนไม่หลับ จนรู้สึกอ่อนเพลีย

กลุ่มนี้ไม่จำเป็นต้องให้ยารักษา เพียงแต่คนรอบข้างพยายามพูดคุยและให้กำลังใจคุณเสมอๆ อาการเหล่านี้ก็จะค่อยๆ ทุเลาลงไปภายใน 2 สัปดาห์โดยประมาณ แต่บางรายอาจพัฒนาไปเป็นโรคซึมเศร้าหลังคลอดได้ (Postpartum Depression : PPD)

แนวทางป้องกันและรับมือกับภาวะซึมเศร้าหลังคลอด

อย่าเก็บอัดอั้นไว้คนเดียว

หากต้องเผชิญกับปัญหา อย่าเก็บอัดอั้นไว้คนเดียว ควรระบายให้คนอื่นได้รับฟัง เช่น สามี คุณพ่อ คุณแม่ หรือญาติพี่น้อง หรือถ้าไม่มีใครรับฟังจริงๆ การเขียนไดอารี่ส่วนตัวไว้ระบายอารมณ์ แบบนี้ก็ช่วยให้คุณแม่โดยเฉพาะมือใหม่ได้ระบายออกมาได้ค่ะ

อย่ารับภาระทุกอย่างคนเดียว

พยายามอย่าคาดหวัง หรืออย่ารับภาระทุกอย่างคนเดียวมากเกินไป หรือพยายามอย่าคาดหวังว่าทุกอย่างต้องออกมาสมบูรณ์แบบทุกอย่าง อะไรหรือเมื่อไหร่ก็ตามที่รู้สึกว่าสิ่งนั้นไม่ได้สมบูรณ์ ให้ทำใจยอมรับ และเรียนรู้เพื่อทำให้ดีขึ้นในวันต่อไป หรือสอบถามจากผู้ที่มีประสบการณ์ก็ในการเลี้ยงหรือดูแลลูกก็ได้ค่ะ เช่น คุณแม่ พี่น้อง พยาบาลหรือคุณหมอ

ไม่ควรคิดว่าตนเองเก่งทุกเรื่อง

ไม่ควรคิดว่าตนเองเก่งทุกเรื่อง ถ้าคิดว่าไม่สามารถเลี้ยงดูลูกได้คนเดียว อย่ารอที่จะเอ่ยปากขอความช่วยเหลือจากบุคคลใกล้ชิด เพื่อที่คุณแม่จะได้มีเวลาไปทำสิ่งอื่น พักผ่อน หรือเตรียมข้าวของเครื่องใช้ลูกและสามีในแต่ละวัน

คนใกล้ชิด

คนใกล้ชิด ควรทำความเข้าใจคุณแม่เหลังคลอดที่ต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกายหรือจิตใจ คุณแม่ต้องรับผิดชอบหลายอย่างมากขึ้น โดยเฉพาะคุณแม่มือใหม่ที่ไม่เคยมีประสบการณ์การเลี้ยงลูกมาก่อน เช่น ลูกร้องไห้งอแงไม่หยุด หรือปัญหาของน้ำนมแม่ กลัวน้ำนมไม่พอ และไม่รู้ว่าต้องทำอย่างไร คนใกล้ชิดจะมีส่วนสำคัญในการให้กำลังใจ ปลอบใจ และช่วยผลัดกันเลี้ยงลูก เหล่านี้จะทำให้คุณแม่ห่างจากภาวะซึมเศร้าได้มากค่ะ

โรคซึมเศร้าหลังคลอด (Postpartum Depression : PPD)

โรคซึมเศร้าหลังคลอด

กลุ่มนี้พบบ่อยรองลงมา โดยอยู่ที่ประมาณ 10-15% บางรายอาจพบตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ แต่ส่วนใหญ่พบมากในระยะ 2-3 เดือนหลังคลอด อาการมักอยู่เกินกว่า 2 สัปดาห์

อาการที่พบ คือ ซึมเศร้า เบื่อหน่าย ไม่สนใจดูแลลูก รู้สึกผิดที่มีลูก รู้สึกว่าตัวเองไร้ค่า ท้อแท้ ไม่มีสมาธิ บางครั้งมีความคิดอยากฆ่าตัวตาย
สาเหตุ : ยังไม่ทราบแน่ชัด
การรักษา : คุณหมอจะให้ยาในกลุ่มที่รักษาอาการซึมเศร้า เช่น ฟลูออกซิติน (Fluoxitine) หรืออะมิทริบทิลีน (Amitriptyline) ยาสองตัวนี้โดยมากมักใช้กับคุณแม่ในระยะให้นมบุตร

โรคจิตหลังคลอด (Postpartum Psychosis : PPP)

โรคจิตหลังคลอด

กลุ่มนี้พบน้อยที่สุด ประมาณ 0.1-0.2% แต่มีอาการรุนแรงที่สุด ส่วนใหญ่พบหลังจากคลอดแล้ว 48-72 ชั่วโมง

อาการ : เริ่มกระสับกระส่าย ผุดลุก ผุดนั่ง หงุดหงิด รำคาญ ท้อแท้ บางทีก็อารมณ์ดีผิดปกติ คุ้มดี คุ้มร้าย กลุ่มนี้จะคิดว่าไม่ใช่ลูกของตัวเอง หรือลูกกำลังจะตาย ประสาทหลอน หูแว่ว
การรักษา : กลุ่มนี้จำเป็นต้องรักษาตัวที่โรงพยาบาล โดยใช้ยารักษาโรคจิตเภท เช่น ฮาร์โลเพอริโดล (Haloperidol) หรือ ลิเที่ยม (Lithium Carbonate)  คุณแม่จะไม่สามารถให้นมบุตรได้ค่ะ

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP